มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Web Site Standard)

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสได้ศึกษามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Web Site Standard) ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐนําไปพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ
ในส่วนของหอสมุดฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน ก็อาจนำเอามาตรฐานหลักๆ มาใช้เพื่อพัฒนากับเว็บไซต์ของหอสมุดฯ ได้ ซึ่งมีรายละเอียดของมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ มีข้อมูลพอสรุปได้ว่า…..
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ หรือ Government Web Site Standard เป็นมาตรฐานสำหรับเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เว็บไซต์ภาครัฐของประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกันและเป็นมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานเว็บไซต์จะกล่าวถึงเนื้อหาเว็บไซต์รัฐ (Government Website Contents) การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Government Data Exchange) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) คุณลักษณะที่ควรมี (Recommended Features) และระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์ภาครัฐ (Phrases of development)
1) เนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Contents)
เนื้อหาของเว็บไซต์ควรมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภาครัฐ เพื่อให้บริการกับประชาชน ธุรกิจเอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนบริการของหน่วยงาน  การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ  และการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ (e-Service)
2) การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Government Data Exchange)
เพื่อนําไปสู่การสร้างระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสที่สามารถให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน (One-stop-service) ประกอบด้วย  การมีแอพพลิเคชั่นที่เรียกใช้บริการจากแอพพลิเคชั่นของหน่วยงานอื่นๆ  มีแอพพลิเคชั่นให้บริการกับแอพพลิเคชั่นภายในหน่วยงาน  มีแอพพลิเคชั่นให้บริการกับแอพพลิเคชั่นของหน่วยงานอื่นๆ  และการใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ควรมีความสามารถในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ โดยใช้ Username, Password เพียงครั้งเดียว (Single sign-on)
3)  การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security)
การให้บริการผ่านเว็บไซต์ภาครัฐนั้น จําเป็นจะต้องมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เพื่อป้องกันมิให้เว็บไซต์ถูกคุกคามจากผู้ไม่หวังดี หรือผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ตลอดจนการสร้างเว็บไซต์ให้เปนที่น่าเชื่อถือ และมีความมั่นคงปลอดภัยในการเข้ามาใช้งาน เช่น มีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4) คุณลักษณะที่ควรมี (Recommended Features)
คุณลักษณะที่ควรมี เช่น

  • การแสดงผล อย่างน้อย 2 ภาษา
  • การตั้งชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่ ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมาย สั้นกระชับ เพื่อให้ Search engine ให้ค่าความสำคัญของเว็บไซต์สูงสุดหากพบว่าชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่โดยตรง
  • ส่วนล่างของเว็บไซต์ (Page Footer) ซึ่งทุกๆ หน้าควรจะแสดงข้อมูลต่างๆ ในส่วนล่างของเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลติดต่อหน่วยงาน คำสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright) การประกาศนโยบายเว็บไซต์ เป็นต้น
  • เส้นเชื่อม (Link) ต้องมีความพร้อมใช้เสมอ
  • ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ซึ่งเว็บไซต์ควรสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การมาตรฐาน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web Consortium: W3C) คณะริเริ่มดำเนินการทำให้เว็บเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Web Accessibility Initiative: WAI) ตามข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ รุ่น 2.0 (Web Content Accessibility Guidelines 2.0 : WCAG 2.0) ในเกณฑ์ความสำเร็จ ระดับ เอ (A)

5) ระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์ภาครัฐ (Phrases of development)
การกําหนดมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ได้กําหนดระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์ภาครัฐ ไว้ 4 ระดับ ซึ่งสอดคล้องกับระดับการให้บริการออนไลน์ (Online Service) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แก่

  • Emerging Information Services เป็นระดับของเว็บไซต์ที่ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ในรูปแบบออนไลน์ โดยที่ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นต้องมีความถูกต้อง มีคุณค่าต่อการใช้งาน และทันสมัย
  • Enhance Information Services เป็นระดับของเว็บไซต์ที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาชน โดยจะเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทางแบบง่ายๆ ระหว่างภาครัฐกับประชาชน
  • Transaction Information Services เป็นระดับของเว็บไซต์ที่สามารถดําเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเอง
  • Connected Information Services เปนระดับของเว็บไซต์ที่มีการบูรณาการแนวราบของงานบริการ (Collaboration) ระหว่างเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบให้มีหน้าต่างเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Window)

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการประกาศนโยบายเว็บไซต์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ แนวทางการพัฒนาเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้ และการการตรวจประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้มาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร