ตลาดนัดทับแก้ว …. ตลาดน้ำทับแก้ว

ประวัติของตลาดนัดในวิกิพีเดียบอกว่า ตลาดนัด คือตลาดที่มีการกำหนดวันเปิดซื้อขายเป็นบางวันหรือบางเวลา ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นตลาดสดซึ่ง ขายอาหารสดเป็นหลัก ในวันที่มีตลาดนัดจะมีผู้คนคึกคักทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สินค้าอาจวางขายกับพื้นหรือวางบนโต๊ะหรือแผงที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ นอกจากนี้ยังอาจมีรถกระบะวางขายสินค้าเบ็ดเตล็ดจำพวกของใช้ในครัวมาวางขาย ด้วย มักมีการขายอาหารปรุงเสร็จและขนมสำหรับผู้จับจ่ายซื้อขายในตลาดนัดด้วย ตลาดนัดอาจจัดในสถานที่ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนสถานที่ก็ได้ ความแตกต่างของตลาดนัดและตลาดสดก็คือ ตลาดสดนั้นเป็นตลาดที่มีสินค้าวางขายทุกวัน (อาจเว้นบางวันตามกำหนด) แต่ตลาดนัดมีกำหนดซื้อขายเพียงไม่กี่วันต่อสัปดาห์ หากเปิดขายเป็นประจำทุกวันก็จะไม่เรียกว่าตลาดนัด นอกจากนี้ตลาดนัดยังอาจขายสินค้าที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องขายอาหารสดเพียงอย่างเดียว เช่น เสื้อผ้า แผงหนังสือ เป็นต้น ปัจจุบันมีการเปิดตลาดนัดกว้างขวางขึ้น และมีการใช้คำว่าตลาดนัดสำหรับสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารสด เช่น ตลาดนัดรถยนต์ ตลาดนัดบ้านมือสอง ฯลฯ
ส่วนตลาดนัดของมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น ไม่อยากจะบอกว่าตัวเราเองเป็นกรรมการในยุคแรกๆ จำได้ว่าจะเน้นหนักไปที่ผักปลอดสารพิษและผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นจุดขาย คุยกันไปกันมาสักครั้งสองครั้งก็ต่างสลายตัวกันไป แต่ที่ไม่สลายคือตัวตลาดนัดที่นับวันเจริญมีขนาดใหญ่ขึ้นๆ และเป็นที่ติดตลาด ส่วน concept เดิมก็ยังมีร้านค้าแบบนั้นแทรกอยู่มากมาย ทั้งร้านผักปลอดสารพิษ อาหารที่เป็น OTOP
คนในนครปฐมมักพูดกันปากต่อปากว่าวันพุธต้องมาตลาดนัดทับแ้ก้ว อย่างวันนี้ไปสอนหนังสือนอกสถานที่ เจ้าหน้าที่ที่นั่นยังบอกเลยว่าวันนี้เด็กไม่ค่อยมีเพราะไปเดินเที่ยวที่ตลาดนัดทับแก้วกันหมด
พี่หน่อยก็เคยอยู่ในทีมวิจัยเกี่ยวกับตลาดในจังหวัดนครปฐม และอาจารย์วรพจน์ยังทำแผนที่ตลาดและตลาดนัดเอาไว้ให้่งานศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก ตามไปดูได้ที่  http://project6.gis.su.ac.th/map/market.htm
เนื่องเป็นคนชอบเดินตลาด แต่ไม่ค่อยจะมีเวลา จะไปต่อเมื่อต้องซื้อหาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เช้าๆ เวลามาทำงานชอบมองเส้นทางตั้งแต่แยกตึก 50 ปี จนถึงหอสมุดฯ อย่างขำๆ แม้บางวันจะขำไม่ออกหากมาสาย
วันนั้นจะเกิดปรากฏการณ์ว่าทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัยในวันพุธจะมีคนมาจับจองกันโหม้ด ทั้งที่เป็นพื้นที่ของตลาด สำหรับแม่ค้าที่มาและควรต้องมาแต่เช้า ลูกค้า คนทำงาน และหน่วยงานต่างๆ วันพุธเราจึงเป็นโอกาสที่เราจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ ที่เข้ามาเดินอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งที่ต้องมาทำมาขาขาย จับจ่ายใช้สอย ทำหน้าที่พิเศษต่างๆ
คนมาเช้าจึงไม่ค่อยเดือดร้อน แต่คนที่เดือดคือคนที่มาช่วงเกือบๆแปดโมง เพราะต้องวนเวียนและเวียนวนกันหาที่จอดรถจนเหงื่อตกเพราะใกล้ถึงเวลาแปดโมงครึ่ง ส่วนเราต้องมีภารกิจออกนอกพื้นที่ตั้งแต่เวลาเกือบแปดโมงครึ่งถึงเที่ยงครึ่ง รถก็จะเริ่มติดตั้งแต่หน้าหอสมุดฯ และหากกลับมาเราก็จะไม่มีที่จอดรถ จึงต้องทำตามแบบที่เขาทำกันตามตลาดและริมฟุตบาทคือจับจองด้วยการยกเก้าอี้มาตั้งไว้ เพราะเวลากลับจะได้จอดรถได้สะดวกสมปอง (เพราะโยธินไม่เกี่ยว) แบบเห็นแก่ตัวเล็กน้อย ทั้งนี้ได้ความอนุเคราะห์จากใครไม่บอก แต่ดูไปแล้วเราคงได้เสียงสรรเสริญมากมายแต่ขอน้อมรับโดยดี
แรกๆ จอดซ้อนคันด้วยการปลดเบรคมือออก พักหลังๆ มีคนเจริญรอยตามมากขึ้น แต่กลับดึงเบรคมือ จนคนหอสมุดฯ ที่ปรกติเป้นคนใจดีแต่บัดนั้นกลับหน้าแดงแก่ก่ำ เพราะถึงเวลา 17.00 น. ที่จะต้องออกไปรับลูก (หลา่น) น้อยกลอยใจ เมื่อไปไม่ได้ก็ต้องอาศัยแฟนคลับไปรับ ส่วนเจ้าของรถที่ว่ามาโน่นนนนน…. สามทุ่ม  แหมเวลาเราทำแบบนั้นน่ะเราเล็งเอาไว้ก่อนนะว่าจะปิดท้ายรถท่านใดดี และท่านั้นน่ะเรารู้จักทั้งนั้น
เรื่องความใจดีนี่ต้องยกให้คนห้องสมุด ที่พวกเรามิเคยสนเลยว่าใครจะมาจอดเวลาไหน ตอนไหน สนอย่างเดียวทางเข้าออกห้ามจอดเด็ดขาด ใครมาจอดตรงนั้นมักจะมีถ้อยคำที่สุภาพๆ ไปติดหน้ารถแนะนำให้ information กับท่านั้น เช่น
เครื่องหมายขาวแดง แปลว่า เป็นกฏจราจรแปลว่าห้ามจอดค่ะ หรือ ป้ายห้ามจอดรถ ในภาษาไทยหมายถึง ตรงนี้จอดรถไม่ได้ เนื่องจากมีรถเข้าออกค่ะ
พุธที่แล้ว พี่ติ๋วเจ้าคารมคมคายประจำฝ่ายบริการบอกว่า พื้นที่บนบกใช้ไปหมดแล้ว ต่อไปน่าจะมีตลาดน้ำกันนะ อืมมม… น่าจะเป็นจุดขายที่ดีทีเดียว วันนี้ดูตลาดนัดอืมม..ผู้คนมากมายทีเดียว แต่ดูที่สระแก้ว ยังมีพื้นที่อีกแยะ น่าสน น่าสนทีเดียว อิอิ… ตลาดน้ำแถวๆ นี้ระวัง… อาจจะมีคู่แข่งที่น่ากลัวก็ได้นะ

One thought on “ตลาดนัดทับแก้ว …. ตลาดน้ำทับแก้ว

  • ้จากคนที่ความเดือดร้อนจากการมีตลาดนัด
    อันดับแรกการที่บุคลากรไม่มีที่จอดรถหากมาเกิน 8.00 น. เป็นต้นไป ข้อสองคือ จากเจ้าของรถจะเป็นด้วยมาเที่ยวตลาด หรือมาห้องสมุด หรือมาติดต่อธุระกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยไม่มีที่แล้วเลยมาจอดที่ห้องสมุดหรือๆๆๆอีกมากมาย บางคนจอดรถปิดท้ายแบบที่พี่ปองว่า ดึงเบรคมือ พอตอนเย็นรถที่ถูกปิดท้ายจะออกไปรับลูก หรือกลับบ้านก็กลับไม่ได้ ต้องโทรไปบอกคุณครูของลูกว่า จะให้เพื่อนไปรับลูก หรือต้องฝากลูกไว้กับครู ข้อที่สามอันนี้โดนมากับตัวเองเลยคือ เลิกงานลงไปจะกลับบ้านปรากฎว่าไฟท้ายรถแตกเป็นรูเบ้อเร่อ หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้แล้ว ไม่ทราบว่าใครถอยมาชน เนื่องจากหลังจากเลิกงาน ตลาดก็วายผู้คนที่มาเที่ยวชมก็กลับกันหมด สรุปต้องเสียค่าเปลี่ยนไฟท้ายไปตามระเบียบ เมื่อเช้าก็สดๆร้อนๆ เนื่องจากมีรถจอดทั้งซ้ายทั้งขวา เวลาขับก็ต้องอลุ่มอล่วยกันหน่อย พลัดกันไปพลัดกันจอด รถคันหนึ่งเห็นที่ว่างเลี้ยวเข้าไปจอดกระทันหันคันตามท้ายหักหัวหลบ เฉี่ยวกระจกรถเราไปเสียงดังกึก ดีที่ไปแตก อดทนไปก็แล้วกันเพื่อนๆ ปีหนึ่งมีแค่ 52 พุธ หยุดบ้างก็เหลือซัก 40-45 พุธ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร