Reference & Bibliography

วันนี้กำลังเขียนคู่มือเล็ก ๆ เรื่องการอ้างอิงอยู่ พอเมื่อต้องการกล่าวถึง การเขียนรายการเอกสารท้ายรายงาน และต้องพูดถึงรูปแบบของระบบตัวเลข กับระบบผู้แต่ง ซึ่งมีการใช้ในความหมายที่ต่างกัน แต่มีบางส่วนที่ใช้กันไปตามแต่ชอบ ซึ่งไม่อยากให้เป็นแบบนั้นเลย..เลยหันมาพิมพ์ blog เพื่อ share ให้เพื่อน ๆ เห้นความหมายที่ควรจะเป็นกันดีกว่า
ถ้าจะแปลตรงตัว Reference (list)  แปลว่า (รายการ) อ้างอิง  ส่วน bibliography แปลว่า บรรณานุกรม   พิจารณาตรงนี้ตามความหมายของภาษาไทยก็ต่างกันแล้ว
เราผู้ซึ่งเป็นบรรณารักษ์หรือเพื่อน ๆ ที่ทำงานในห้องสมุด อาจคุ้นเคยกับ คำว่า bibliography มากกว่า เพราะว่า คำนี้มักใช้ในการเขียนในท้ายบทความ ท้ายรายงานของผู้เขียนในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Reference จะหมายถึง รายการเอกสารต่าง ๆ ที่ผู้เขียนงานวิจัยได้ใช้อ้างถึงอยู่ในเนื้อหาของรายงานการวิจัย  มักจะใช้ในการเขียนในสาขาวิทยาศาสตร์ฯ และมักใช้เป็นระบบตัวเลข  เมื่ออ้างถึงในเนื้อหาแล้ว ก็จะไปเขียนรายละเอียด (ทางบรรณานุกรม) ไว้ท้ายเอกสาร เรียงตามหมายเลขที่ปรากฏในเนื้อหา  (ถึงแม้ว่า ผู้เขียนอาจมีการอ่านเอกสารอื่นใด แต่ไม่ได้นำเนื้อหา หรือผลงานวิจัยเรื่องอื่นมากล่าวถึงในงานของตนเอง ก็จะไม่นำมาเขียนไว้ท้ายรายงาน)
Bibliography หมายถึง รายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนรายงาน หรืองานวิจัย ได้อ่าน ได้ใช้อ้างในการเขียน มักใช้ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น เมื่อเราอ่านบทความในลักษณะนี้ เราอาจพบว่ามีรายการเอกสารอยู่ท้ายเล่มมากกว่าที่ใช้อ้างในเนื้อหา ซึ่งก็ไม่ได้ถือว่าผิด (เพียงแต่อ่านจริงหรือเปล่า เท่านั้น)
* ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ รายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักเป็น รายงานผลจากการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเกตการเปลี่ยนแปลง และเป็นการเขียนรายงานที่ต้องการความกระชับ ชัดเจน ตรงไปตรงมา การอ้างอิงเอกสารจึงอ้างเท่าที่จำเป็น เท่านั้น ในขณะที่ รายงานการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นการพรรณนา การวิเคราะห์เชิงสังคมวิทยา มีเรื่องนามธรรมที่ต้องบรรยาย ทำให้ การอ้างในเนื้อหานั้น ส่วนใหญ่จะต้องเป็นการอ้างแบบ quoting  คือยกข้อความมาแล้วอ้างถึงเจ้าของข้อความนั้น  แล้วบรรยายในสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นตาม  ทำให้ต้องมีเชิงอรรถบรรยายความอยู่เสมอ  และรายการเอกสารท้ายรายงานวิจัยจำเป็นต้องมีมากและมีนอกเหนือจากที่ปรากฏในเนื้อหา เพราะนักเขียนทางสังคมศาสตร์มักต้องอ่านเยอะ และค่อยสังเคราะห์ความรู้ต่าง ๆ ออกมาจากสมองและหัวใจ…
ในทางปฏิบัติ…เมื่ออยู่ในฐานะที่ต้องให้บริการและให้คำแนะนำกับผู้ใช้บริการ คงต้องตั้งสตินิดหน่อย เพราะในคู่มือของการเขียนอ้างอิงของ บัณฑิตวิทยาลัย มศก. ปี 2554 ระบุให้ใช้คำว่า ‘reference’ ในทุกคณะวิชา (ยกเว้นแต่ อาจารย์ผู้คุมวิทยานิพนธ์จะระบุว่า รับรองการเขียนอ้างอิงด้วยตนเอง) ก็ต้องบอกกับผู้ใช้บริการได้ หากต้องใช้ตามของบัณฑิตฯ ก็ต้องทำตามนั้น แต่พวกเราในฐานะที่เป็นกูรูในศาสตร์นี้ ก็ควรเข้าใจ และสามารถยืดอกอธิบายให้ผู้ใช้บริการทราบได้
ที่จริงรูปแบบการเขียนอ้างอิง มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล (international) มีมากมาย และเมื่อข้อกำหนดของการจบการศึกษาในระดับดุษฏีบัณฑิต กำหนดให้ต้องมีการตีพิมพ์ไม่ว่าจะในประเทศ หรือออกสู่นานาชาติก็ตาม หากผู้ทำงานวิจัยใช้รูปแบบตามมาตรฐานสากลแล้ว ไม่ว่าจะส่งผลงานไปที่ใด ใครๆ ก็จะเข้าใจ (ยิ่งถ้าหากมี EndNote ช่วยด้วยแล้วนะ ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยอีก..) ไม่ต้องจำรูปแบบให้มึน..

One thought on “Reference & Bibliography

  • ทุกคนที่เกี่ยวข้องเเฉพาะอย่างยิ่ง บรรณารักษ์ อีกทั้งเจ้าหน้ที่บริหารงานทั่วไปที่ได้เรียนรู้การอ้างอิงแล้ว ต้องทำความเข้าใจไว้ด้วย หากสงัยให้สอบถาม

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร