ภาษาอังกฤษแบบกรุบกริบ

หลักสูตรภาษาอังกฤษแบบกรุบกริบของอิฉัน ได้ผ่านไปแล้ว 1 รุ่น เป็นรุ่นของกลุ่มอายุเยาวเรศ ความเป็นมาของหลักสูตรนี้เป็นมาอย่างยาวนาน พวกเราหลายคนผ่านผู้สอนมาหลายคนทั้งอาจารย์ชาวต่างชาติ (หลายเชื้อชาติมาก) อาจารย์ไทย กระทั่งสอนกันเอง ผลการประเมินจากแบบสอบถามคือ ดี ผลการประเมินในเชิงประจักษ์ ไม่แน่ใจ ค่อนข้างหนักไปทางเหมือนเดิม จนเป็นเหตุให้อิฉันต้องทำวิจัยน้อยๆ ถามคนเรียนว่าแบบไหนจึงจะดีที่สุด เนื่องจากพวกเราพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ความหลากหลายหนักไปทางมีน้อยมากๆๆ มากกว่าร้อยละ 90 อิฉันได้นำผลงานนี้ไปนำเสนอในการสัมมนาวิชาการของ PILINET ปีก่อนโน้น มีผู้บริหารหลายท่าน (สถาบันอื่น) บอกว่าขอให้ทำต่อไปเถิดจะเกิดผล ทำแล้วขอตำรามาบ้าง
ผลคือตำรายังไม่ยอมเสร็จแต่หลายๆ ห้องสมุดจะได้ไฟล์ไปพัฒนาต่อ เหตุที่ยังไม่สำเร็จสักทีเนื่องจากคนทำองค์เยอะเรื่องมากโดยเฉพาะการพิสูจน์เพื่อนำไปใช้จริง
ถึงตำรายังไม่ลุล่วง แต่ได้น้องแอนมาทำงานด้วย ตำแหน่งของน้องแอนเปิดรับมาด้วยเหตุผลว่าต้องการคนทำงานที่มีความสามารถทั้งอ่าน พูดและเขียน แต่การที่จะให้น้องมาทำต่อก็มีข้อจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเริ่มต้น   😛
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนทำงาน ต่างจากการเรียนสอนในห้องเรียนแบบฟ้ากับเหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้พื้นฐานของผู้เรียน การประเมินผลการเรียนไม่ใช่แรงจูงใจซ้ำกับเป็นเรื่องบั่นทอน รูปประโยคแบบให้ท่องอาจช่วยได้บ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ทุกอย่างขึ้นกับสถานการณ์และบริบท ณ ขณะนั้น และอื่นๆ อีกมากมาย
พอยุคของอาเซียนเฟื่องฟูมากขึ้น ภาษาอังกฤษจึงยิ่งปฏิเสธไม่ได้ กระทั่งได้รับมอบหมายให้พัฒนาหลักสูตรให้กับบุคลากรของสำนักหอสมุดกลาง แต่เรื่องหลักสูตรไม่ได้ยากเพราะทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว แค่นำมาปรับ
สิ่งที่ยากที่สุดคือการหา “ครู” ที่สอนแบบที่เราประสงค์ ครูต้องมีความยืดหยุ่นสูงยิ่ง พร้อมปรับเข้าหาคนเรียน ต้องเป็นครูไทยที่เข้าใจภาษาอังกฤษ ต้องเข้าใจถึงว่าพวกเราไม่ใช่ผู้เก่งกล้าสามารถ ครูต้องไม่เครียด ครูต้องมีเรื่องเล่าสนุก ต้องไม่มีบทบาทสมมุติให้พูดโน่น นี่ นั่น เพราะในสถานการณ์จริงไม่มีใครสักคนพูดแบบที่ตำราเป๊ะๆ  และอื่นๆ อีกมากมาย
“ครู” ที่เป็นเป้าหมายแรก มีอันต้องบ้ายบายกันเนื่องจากย้ายนิวาศสถาน จึงต้องแสวงหา “ครู” คนใหม่ เป็นคนที่ดิฉันใช้เวลาค่อนข้างมากในการมอง มูลเหตุคือครูเขียนบล๊อกเรื่องการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง service mind การพัฒนาตนเอง ธรรมะ และการดูลายมือ ดิฉันเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่างานเขียนจะสะท้อนความเป็นตัวตนของคนนั้นๆ โดยเฉพาะงานเขียนที่เกิดจาก “องค์ความรู้”  ที่มีอยู่ในตัวเอง
ดิฉันขออนุญาต “ครู” นำงานเขียนที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเข้ามาในส่วนหนึ่งของตำรา ซึ่งครูยินดี และในตอนนั้นคิดว่าจะให้ “ครู” คนอื่นสอน เพราะ “ครู” ยังอยู่ชิคาโก ส่วนดิฉันมึนเพราะใครหวาจะมาเป็นครูให้ และเวลาก็ใกล้เข้ามาๆ
นอกจากเรื่องการสอนภาษาอังกฤษที่ประสงค์ให้ “รัก” แล้ว ดิฉันยังมีเรื่อง Intercultural communication เรื่องนี้กำหนดขึ้นเพราะอยากให้พวกเราได้รู้จักกับ change and open ซึ่งดิฉันชอบพูดจนขี้เกียจจะฟังกัน
ความบังเอิญที่เกิดจากความที่เป็นคนชอบสนทนา  เนื่องจากอาจารย์ท่านไปขอให้ซื้อหนังสือเพื่อเตรียมการสอนในเทอมหน้า ดิฉันจึงทำหน้าที่ในการจัดหาคือหนังสือเรื่องนี้ดีอย่างไร ใช้ประกอบวิชาอะไร สนทนากันไปมา อาจารย์เล่าว่าไปสอนวิชา Intercultural communication ที่อีกสถาบันหนึ่ง ดิฉันฟังแล้วกรี๊ดกร๊าด ร้องเสียงหลงว่าอาจารย์ขาขอเรียนเชิญค่ะ เพราะช่างพอดิบดีกันเหลือเกิน
สุขใดไหนจะปานยิ่งได้รับจดหมายน้อยจากเป้าหมายว่าจะกลับเมืองไทยเป็นการถาวร เพราะครูจะเชย์กู๊ดบายชิคาโกหลังที่ไปอยู่เกือบ 25 ปี เรียนศาสตร์ต่างๆ จนเบื่อขอเลิกเรียนดีกว่า และกลับมาเมืองไทยอย่างเป็นการถาวร
ครูพร้อม หลักสูตรพร้อม คราวนี้เหลือผู้เรียนที่ออกจะรู้สึกพรั่นพรึงเพราะภาษาอังกฤษคือยาขม ตอนทำหลักสูตรใหม่ๆ เรียนกับผู้บริหารไปว่าคนที่อายุตำกว่า 45 ปี กับบรรณารักษ์น่าจะเป็นสิ่งที่ “ต้อง” เพราะพวกเขายังต้องเติบโตต่อไปและภาษาอังกฤษรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม เพราะ “ครู” แต่ละคน จะมีเทคนิคและวิธีการต่างกัน
ส่วนดิฉัน ก็ก้มหน้าก้มตารื้อ edit ทำต้นฉบับต่อไป มีพี่พัชกับน้องอ้อเข้ามาโฉบใหญ่และโฉบเล็ก เพราะทั้งสองคนติดภารกิจประกันคุณภาพ พร้อมกับคอยบอกน้องๆ ว่า อย่ากลัว ไม่ยาก …แล้วเราก็หันหน้าชนกันบอกว่า มีใครจะเชื่อเรามั้ย… พี่พัชทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งคอยบอกพี่ๆ น้องๆว่ามาเถอะ … ส่วนดิฉันประเภทบู้ล้างผลาญบอกว่ามาเลยๆ หนูใส่ชื่อแล้วนะ
พวกเราตกลงเหมือนกับทุกครั้งที่มีการอบรมว่า เราจะไม่มีเอกสาร ทุกอย่างในชั้นเรียนต้องเกิดจากองค์ความรู้ที่นำออกมาแบ่งปัน
และต้องเริ่มเรียนรู้ด้วยความรัก ความเข้าใจ สร้างฐานให้แข็งแรง เริ่มจาก A-Z จึงเป็นทางเลือก และเป็นทางเลือกที่หาอ่านไม่ได้ในหนังสือจึงเป็นข้อตกลงระหว่างกัน
ขอบคุณพี่แมวที่มานั่งเรียนด้วย แบบตั้งอกตั้งใจ ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีมากๆ น้องๆ ควรถือเป็นเยี่ยงอย่าง
ดิฉันไม่ทราบหรอกว่าคนเรียนจริงๆ แล้วรู้สึกกันอย่างไร รู้แต่ว่ามีผู้แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น รู้แต่ว่าน้องๆหัวเราะและมีการโต้ตอบกับ “ครู” รู้แต่ว่า “ครู” ทั้งสองท่าน สนุกกับพวกเรา และยินดีช่วยเหลือพวกเรา
ฝากชื่อ “ครู”ไว้ ณ ที่นี้คือ อาจารย์ชนินทร์ อมรบุตร และรองศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์
I have my day just because they gave me! On behaft of our staff, I would like to take this opportunity to express oue deepest gratitude and appriciation to Kru Toom and Arjan Likhit for the knowledge given. Thank you.
 

3 thoughts on “ภาษาอังกฤษแบบกรุบกริบ

  • ขอบอกได้คำเดียวว่า very good ขอบคุณผู้จัดทุกท่านค่ะ

  • เห็นนักเรียนทั้งหลายยิ้มแย้ม พยายามเม้มปาก พ่นเสียงไรฟัน ลิ้นดันปุ่มเหงือก แบบไม่ได้ถูกกดดันแล้ว ทั้งครูและผู้จัดก็รู้สึกปลื้มใจ เป็นนิมิตหมายอันดี ขอบคุณน้อง ๆ นักเรียนทุกคนที่เป็นอย่างที่เป็นอยู่ especially our boss, Pee Maew, you’re superboss.We’ll try to be a good learner like you.Very thank to Kru Toom. You’re very special.

  • thank you for the word “super boss”. I am very happy for learning this class. Kru toom made me or our class appreciate. Kru Likit taught by English language.
    I understood about 90% (not โม้ really นะ)
    ขอบอกพี่แมว ป้าแมว น้าแมวเรียนตลอด 5 วันไม่ได้ขาด เก็บรายละเอียดทุกเม็ด แถมมีข้าว กลางวัน มีของว่างด้วย save money for 5 days

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร