สงกรานต์ (มอญ) @ ดอนกระเบื้อง
ควันหลง สงกรานต์ เมือช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ที่วัดดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ชุมชนที่นี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทย-รามัญ (มอญ) ที่นี้จะจัดในวันอาทิตย์แรกหลังจากวันสงกรานต์ของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา มีการแห่นางสงกรานต์ของทุกหมู่บ้านซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่ มีการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน มีประเพณีสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ ประเพณีสงกรานต์ชองชาวไทย-รามัญ (มอญ) เป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแสดงให้เห็นภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตในด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน แสดงถึงความรักความอบอุ่นในครอบครัว ความสามัคคีในชุมชน ชาวไทย-รามัญ (มอญ) ให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์มากเพราะถือว่านอกจากจะเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องมาพบปะสังสรรค์กัน นับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี
ตามความเชื่อแต่โบราณว่า “การสรงน้ำพระ” ในวันสงกรานต์จะทำให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง และ “น้ำ” จากดอกไม้มงคล 5 ชนิด ที่ได้จากธรรมชาติ เชื่อว่าเป็นสายน้ำที่สื่อถึงความร่มเย็น และเป็นมงคลในด้านต่างๆได้แก่
- สีแดง จากดอกกุหลาบ หมายถึง ชีวิตที่ราบรื่น ไร้อุปสรรค
- สีเขียว จากใบเตย หมายถึง ความร่มเย็น ไม่มีเรื่องเดือดร้อนใจ
- สีเหลือง จากดอกดาวเรือง หมายถึง ความรุ่งเรือง ร่ำรวย
- สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน หมายถึงความหนักแน่น ผ่านอุปสรรคต่างๆ
- สีขาวใส จากน้ำลอยดอกมะลิ หมายถึง ชีวิตที่สดชื่นสดใส
2 thoughts on “สงกรานต์ (มอญ) @ ดอนกระเบื้อง”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
เดี๋ยววันสงกรานต์หน้าจะให้ห้องสมุดใส่ดอกไม้เหมือนชาวดอนกระเบี้ยงบ้างความหมายดี
ดีจังเลย ก็ที่หอสมุดสรงน้ำพระ จำได้หรือไม่ว่าเราใช้ดอกอะไรบ้าง