เวลาในอาเซียน
สาเหตุที่เวลาของแต่ละประเทศแตกต่างกันเนื่องจากการกำหนดเวลามาตรฐานโลก เพื่อไม่ให้สบสนเหมือนการจับเวลาตามแสงอาทิตย์ในอดีต การประชุมนานาชาติ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 1 พย. 2427 ที่ประชุมมีข้อตกลงให้แบ่งโลกตามแนวเส้นลองจิจูด (แนวตั้ง) ออกเป็น 24 ส่วนเท่า ๆ กันแต่ละส่วนมีค่า 15 องศา โดยมีเส้นไพรม์เมอริเดียน (Prime Meridian) หรือเส้น 0 องศาอยู่ที่เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ให้พื้นที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเส้นนี้มีเวลาเร็วกว่าเส้นนี้ 1 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นนี้เวลาช้ากว่าเส้นนี้ 1 ชั่วโมง
ดังนั้น ประเทศไทยซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเส้นไพรม์เมอริเดียน จึงมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานโลกที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระราชโองการกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เป็น 7 ชั่วโมง ก่อนเวลาเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2463 เป็นต้นไป ดังนั้น หากเมืองกรีนิชเป็นเวลาแปดโมงเช้าประเทศไทยจะเป็นเวลาบ่ายสามโมง
เวลาที่ตรงกับประเทศไทย คือกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ส่วนเวลาที่เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมงคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน และประเทศที่ช้ากว่าไทยเรา 30 นาที คือเมียนมาร์ ประเทศเมียนมาร์
ส่วนประเทศที่มีเวลาแตกต่างกันถึง 3 เวลา คือ อินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีความยาวมากกว่า 6,000 กิโลเมตร ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกติดประเทศปาปัวนิวกินี ทอดยาวมาถึงฝั่งตะวันตกติดประเทศมาเลเซียทำให้อินโดนีเซียมี 3 เวลา ในกรุงจาการ์ตาซั่งเป็นเมืองหลวง จะมีเวลาตรงกับประเทศไทย บนเกาะกาลิมันตัน มีเวลาเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง และบริเวณที่ติดประเทศปาปัวนิวกินีมีเวลาเร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง
อ่านจากหนังสือเรื่อง ทีมงานสายรุ้ง. มหัศจรรย์อาเซียน.