โรคเกลียดวันจันทร์ (2)
ทีนี้เมื่อเรารู้สาเหตุแล้วเราดูวิธีขจัดโรคเกลียดวันจันทร์กันดีกว่า
7 วิธีรับมือโรคเกลียดวันจันทร์
1. อย่าเครียด เพราะ การทำงานทั้งวันในแต่ละวันนั้น สร้างภาวะความเครียดให้คุณได้มากมาย เมื่อเริ่มเครียดหรือหรือเหนื่อยล้าขึ้นมา ให้หยุดทำงานนั้นสัก 10 นาที ออกไปเดินสูดอากาศนอกห้องให้สมองปลอดโปร่งเพื่อเพิ่มพลังให้กับตัวเองในระหว่างชั่วโมงของการทำงาน อาจจะไปเดินเล่นในสวนช่วงหลังอาหารกลางวัน พักสายตาด้วยสีเขียวของต้นไม้ มองออกไปนอกหน้าต่างบนฟ้ากว้าง หรือมองแบบปล่อยสายตาไปไม่ต้องเพ่งอะไรเป็นพิเศษ จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาลงได้ หรือระหว่างการทำงาน ผละออกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง ลองเดินไปติดต่องานในแผนกต่างๆ แทนการใช้โทรศัพท์ สำรวจสถานที่และผู้คนในออฟฟิศของคุณ เป็นการยืดเส้นยืดสายและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไปในตัว เสร็จธุระแล้วก็กลับไปทำงานต่อได้อย่างสบายใจ หรือแวะเติมความสดชื่นกับเครื่องดื่มแก้วโปรดสักแก้ว ค่อยกลับมาลุยงานต่อ หรือใช้ช่วงเวลาพักเที่ยงเลือกทำกิจกรรมที่เราชอบ เช่น อ่านหนังสือที่ถูกใจ หรือ ฟังเพลงสุดโปรด ก็ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ไม่ยาก 😡
2. มีสติตลอดเวลา ในการเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่นั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องมีงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาในความรับผิดชอบของคุณได้เสมอๆ ทางที่ดีควรตั้งสติและพร้อมเผชิญหน้ากับงานที่จะเข้ามาใหม่ รวมทั้งจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสมจะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง เพราะงานทุกงานที่ได้รับมอบหมาย คือสิ่งที่คุณต้องทำให้สำเร็จ 🙄
3. เคลียร์งานให้เสร็จสิ้น วันศุกร์แสนสุขของคนทำงานส่วนใหญ่ ทุกคนอยากรีบกลับบ้านไปนอนเล่นพักผ่อนให้เต็มที่ แต่เมื่อกลับมาทำงานวันจันทร์หลายคนจะพบงานเก่าที่คั่งค้างต่อเนื่องมาจาก วันศุกร์ที่แล้ว แถมด้วยงานใหม่อีกกองพะเนิน ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณสละเวลาสักเล็กน้อยเคลียร์งานให้เสร็จสิ้นก่อนส่วน หนึ่งตั้งแต่วันศุกร์ โดยใช้เวลาหลังเลิกงานสัก 10 นาที จัดทำรายการงานต่างๆที่ยังคั่งค้าง เพื่อที่จะมาสะสางต่อได้ในวันจันทร์ ในเมื่อเรารู้ว่าเช้าวันจันทร์จะเป็นเวลาที่สุดแสนวุ่นวาย การแบ่งเบาภาระของงานในเช้าวันจันทร์ไปไว้ในช่วงเย็นอันแสนสุขของวันศุกร์ จะทำให้คุณสานต่องานในสัปดาห์ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและง่ายดายมากขึ้น 😀
4. จัดลำดับงาน งานแต่ละชิ้นมีความสำคัญและความเร่งด่วนแตกต่างกัน การจัดลำดับความสำคัญของงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้เงื่อนไขเวลาเป็นตัวกำหนดว่างานไหนส่งก่อนส่งหลัง แล้วจัดการเขียนลำดับงานที่มีความสำคัญมากน้อยตามลำดับออกมาเป็นข้อๆ นอกจากจะช่วยเตือนให้คุณไม่หลงลืมทำงานต่างๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ยังสามารถลดความกังวลและความเครียดให้กับจิตใจด้วย ที่สำคัญการจัดลำดับงานเช่นนี้จะช่วยให้คุณเหลือเวลาและพลังงานสมองไว้ใช้ทำ งานเพิ่มอีกด้วย 😮
5. เข้างานเช้ากว่าปกติ โดย เฉพาะในวันจันทร์ลองเข้างานเช้ากว่าปกติสักนิด เพื่อจัดสรรระเบียบให้กับการทำงานในวันจันทร์ และทำงานที่เหลืออยู่ให้เสร็จสิ้นลง เพื่อให้การทำงานตลอดสัปดาห์ที่เหลือเป็นเรื่องง่ายขึ้น ใครที่เคยมาทำงานสายๆ ลองมาทำงานเช้าดูสักวัน แล้วคุณจะพบว่าในยามที่ยังไม่มีเพื่อนร่วมงานมาทำงานนั้น เป็นเวลาที่คุณมีสมาธิมากทีเดียว 🙂
6. หยุดคิดเล็กคิดน้อย อย่านำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้ว คุณควรปล่อยให้ผ่านไป หลายคนมัวแต่ใส่ใจเรื่องดังกล่าว จนไม่มีเวลาพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น พยายามปรับความคิดใหม่ๆ เวลาทำงานในแต่ละวันก็มุ่งไปที่เป้าหมายของคุณ ทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ความคิดเหล่านี้จะช่วยให้กระตือรือร้นและสนุกกับงานมากขึ้น 😉
7. เติมเต็มกำลังใจ ลอง หาเพื่อนสนิทในที่ทำงานไว้ปรึกษาหารือ หรือแบ่งเบาทุกข์สุข ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยคุณต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นให้ได้ และลองหยิบยื่นน้ำใจให้กับคนอื่นก่อน โดยเรียนรู้ถึงพื้นฐานจิตใจของเพื่อน เพราะแต่ละคนมีความต้องการและความปรารถนาไม่เหมือนกัน นอกจากน้ำใจแล้ว น้ำคำ หรือคำพูดก็สำคัญ คำพูดง่ายๆ แต่จริงใจเช่น ขอบคุณ และ ขอโทษ ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนกระชับแน่นแฟ้นขึ้น 🙂
Charge Up เติมพลังให้สดชื่นก่อนไปทำงาน 😯
เลิกปาร์ตี้ี้ (โดยเฉพาะคืนวันอาทิตย์) แล้วหันมาพักผ่อนให้เต็มที่ พร้อมหากิจกรรมดีๆ มาช่วยให้คุณผ่อนคลายในวันหยุดอย่างอ่านหนังสือ เล่นโยคะ เล่นกีฬาที่ตัวเองโปรดปราน ก่อนนอนก็สวดมนต์ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบขึ้นและนอนหลับสบาย เตรียมพร้อมทั้งกายใจเพื่อต้อนรับการทำงานวันแรกของสัปดาห์อย่างสดชื่น
ออกกำลังกาย ง่ายๆ วันละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ นอกจากจะทำให้ร่างกายมีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว คุณยังได้สุขภาพที่ดีตามมาอีกต่างหาก
เปิดเพลง หลังตื่นนอนใหม่ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หายงัวเงีย ช่วยทำให้คุณกระปรี้กระเปร่าในเช้าวันใหม่ขอ งคุณ
เข้านอนเร็วขึ้นและตื่นเช้าขึ้น จะช่วยให้ร่างกายคุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แถมตื่นขึ้นก็สดชื่นจิตใจแจ่มใส ไม่งัวเงีย หรือไปนั่งหลับในที่ทำงาน
กินอาหารเช้ารองท้อง จะทำให้ท้องคุณสงบลงและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น หากได้ดื่มน้ำผลไม้ด้วยยิ่งดี นอกจากมีประโยชน์แล้วยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นและไม่อ้วนอีกต่างหาก
หากใครลองสำรวจตัวเองดูแล้ว ปรากฎว่ามีอาการเป็นโรคเกลียดวันจันทร์ ก็ลองทำตามวิธีนี้ดูนะค่ะเผื่อจะดีขึ้น ส่วนตัวเองเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่รู้จักโรคนี้ หากตัวเองมีอาการแบบนี้ ก็จะลาพักผ่อนอยู่กับบ้านบ้าง ไปท่องเที่ยวบ้าง หากหนักๆ มากเข้าก็จะลายาวๆ นานๆ
ข้อมูลจาก : วารสาร She’s Smart โดย น.พ.ทวีสิน พิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต
และ http://www.jobroads.net/Article/ViewArticle.asp?ID=256
One thought on “โรคเกลียดวันจันทร์ (2)”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
พี่ไม่เกลี่ยดวันวัน แต่เกลียดวันที่กลับจากลาพักร้อนหรือวันหยุดยาวหรือวันที่ไปราชการหลายๆวัน แล้วมาทำงานใหม่ เพราะหยุดไปหยุดมาแล้วชัดติดใจไม่อยากกลับมาทำงาน พอต้องกลับมาใันนั้นจะเซ็งมาก แต่จะใช้วิธี built ตัวเอง ด้วยการหาเื่รื่องที่ต้งค้นคว้าต่อ ไม่นานอาการก็จะหายไป