บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ – วีรบุรุษสงครามทางรถไฟสายมรณะ

ช่วงก่อนปีใหม่ น้องรหัสที่แสนจะน่ารักเอา DVD เรื่อง บุญผ่อง มาให้ วันนี้ได้ฤกษ์ Catalog เพื่อออกให้บริการซะที ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสดูเรื่องนี้ทาง Thai PBS เช่นกัน
bp-1DVD เรื่องนี้มี 8 แผ่น เนื้อหาของเรื่องอยู่ในแผ่นที่ 1-7 ส่วนแผ่นสุดท้ายเป็นสารคดี “ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ” ซึ่งได้บอกเล่าถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่ก่อให้เกิดวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชื่อว่า บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ คหบดีในจังหวัดกาญจนบุรี ที่เสี่ยงชีวิตลักลอบส่งยา อาหาร และสิ่งของจำเป็นให้กับหมอเวียรี่ ดันล็อป แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย และเชลยสัมพันธมิตรในค่ายเชลยที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทางรถไฟสายมรณะ เพราะเห็นแก่คุณค่าของทุกชีวิต ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องเดิมพันด้วยชีวิตของตนเอง แต่ยังรวมไปถึงภรรยาและลูกสาวที่ต้องเสี่ยงภัยไปด้วย
คุณบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2449 ที่ตลาดเมืองกาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นบุตรของขุนสิริเวชชะพันธ์ (เขียน) และนางลำเจียก ศึกษาเล่าเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี แล้วไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2469 หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการที่กรมรถไฟเป็นเวลา 8 ปี จึงลาออกมาประกอบอาชีพค้าขายกับบิดาและน้องๆ ที่บ้านกาญจนบุรี และได้สมรสกับ คุณสุรัตน์ ชอุ่มพฤษ์ มีธิดา 1 คน คือ คุณผณี ศุภวัฒน์ (สิริเวชชะพันธ์)
bp-2คุณบุญผ่อง มีบ้านอยู่ที่ตึกแถวถนนเลียบริมน้ำ มีชื่อร้านว่า “Boonpong and Brothers” (บุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์) ขณะเกิดสงครามคุณบุญผ่องดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี และได้ติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นโดยตรง โดยญี่ปุ่นจะนำหัวหน้าค่ายเชลยมารับสินค้าที่สั่งไว้ทุกวัน บางครั้งคุณบุญผ่องก็บริการส่งถึงค่าย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำและทางบก คุณบุญผ่องทำการค้าผูกขาดกับญี่ปุ่นก็จริง แต่เขารู้สึกสงสารพวกเชลยมากที่ต้องลำบาก ทนทุกข์ทรมานในการถูกบังคับให้มาสร้างทางรถไฟ และจากการที่ได้พูดคุยกับเชลยบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความสนิทสนมกัน และรับรู้ถึงความทุกข์ยากของเชลย จึงได้แอบให้ความช่วยเหลือเชลยศึก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงตายมากๆ
นอกจากนี้ยังได้จัดหาเวชภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถ่านไฟฉาย ยาสีฟัน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ส่วนประกอบเครื่องวิทยุสื่อสาร รวมทั้งมีการแอบรับ-ส่งจดหมายให้กับเชลยศึกโดยซุกซ่อนไว้ในหีบห่อ เข่งพืชผักผลไม้ เครื่องใช้ต่างๆ ที่ญี่ปุ่นมารับไปทุกวัน ซึ่งในครั้งหลัง ๆ คุณบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน การลักลอบช่วยเหลือเชลยศึกนี้ทำให้เชลยซาบซึ้งในบุญคุณอย่างมาก

bp-4

bp5พ.ศ. 2490 หลังจากกลับประเทศไปแล้ว หมอเวียรี่ ดันล็อป ได้จัดตั้งกองทุน Weary Dunlop-Boon Pong Exchange Fellowship เพื่อมอบทุนการศึกษาให้แพทย์ไทย ได้มีโอกาสศึกษาการแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ที่โรงพยาบาลแพทย์ในออสเตรเลีย เพื่อเป็นเครื่องระลึกความดีและความซื่อตรงของคุณบุญผ่อง และในปีพ.ศ. 2515 คุณบุญผ่อง ได้รับการเชิดชูเกียรติจากการได้รับพระราชทานยศพันโทแห่งกองทัพอังกฤษ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 รัฐบาลออสเตรเลีย และได้รับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษสงครามทางรถไฟสายมรณะ คุณบุญผ่อง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2525
 
เรียบเรียงข้อมูลจาก :
DVD เรื่องบุญผ่อง และสารคดี “ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ”
http://event.thaipbs.or.th/event/?q=node/659

บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ “ หนี้ที่ใช้คืนไม่หมด”


ภาพจาก :
DVD เรื่องบุญผ่อง และสารคดี “ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ”

3 thoughts on “บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ – วีรบุรุษสงครามทางรถไฟสายมรณะ

  • นึกว่าน้องอ้อเขียน เพราะรายนั้นเค้าอิน มีคลิปในยูทูปอันนึงเกี่ยวกับเรื่องนี้ พี่แชร์ในเฟสไว้ให้นานแหร่ว

  • ติดตามเรื่องลูกสาวคุณบุญผ่องมานำเสนอด้วยนะคะ ชีวิตของท่านต่อมาหลังสิ้นสุดสงครามเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หากยังคงอยู่ ก็อายุมากแล้ว ฝากหามานำเสนอแบ่งปันด้วยนะ

  • ปัจจุบันคุณผณี อายุ 85 ย่าง 86 ปีแล้วค่ะ…ละครเรื่องบุญผ่องก็สร้างขึ้นจากคำบอกเล่าของคุณผณีเช่นกันค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร