คำย่อของฝรั่งที่คนไทยใช้จนเคยชิน

      ภาษาอังกฤษหรือที่คนไทยเราใช้อีกคำหนึ่งว่า“ภาษาฝรั่ง”ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านเราใช้กันมานมนานแล้วนั้นถือเป็นภาษาสากลที่คนทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ภาษาอังกฤษนั้นเริ่มมีความสำคัญมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16-17 เป็นต้นมาในยุคสมัยที่จักรวรรดิอังกฤษสามารถแผ่ขยายอิทธิพลไปยังดินแดนต่างๆทั่วโลก จนเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมในห้วงเวลานั้นทำให้อังกฤษได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน มีประเทศต่างๆในเครือจักรภพมากมายแม้แต่ประเทศในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้การใช้ภาษาราชการของประเทศอาณานิคมเหล่านั้นจึงใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารนอกเหนือจากภาษาพื้นถิ่นของตนเอง ทำให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษากลางของโลกไปโดยปริยาย แม้แต่ในประเทศไทยของเราที่แม้ว่าเราจะมิได้เป็นประเทศในอาณานิคมหรือเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษก็ตาม แต่คนไทยเราก็รับอิทธิพลของภาษาเข้ามาใช้ในชีวิตเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติเข้าติดต่อในเรื่องการทำมาค้าขายตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อเนื่องมาถึงยุครัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ การรับเอาภาษาอังกฤษหรือคำฝรั่งมาพูดและใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นคำคุ้นชินไปแล้วนั้น (แม้จะยังมิได้เข้าสู่ AEC ก็เหอะ) เป็นคำย่อแทบทั้งสิ้นและติดปากคนไทยในทุกระดับซึ่งใช้ทั้งพูดและเขียนจนเป็นเรื่องปกติแต่เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่เคยรู้เลยว่าแต่ละคำนั้น มีคำเต็มๆว่าอย่างไร ขอยกตัวอย่างเช่น
     VIP (วีไอพี)  = Very Important Person >บุคคลสำคัญมาก,บุคคลพิเศษ  ;   O.K.(โอเค) = Oll Korrect/All Correct =All Right > ถูกต้องแล้ว, ตกลง ;   ICU(ไอซียู) = Intensive Care Unit > หออภิบาลผู้ป่วยหนัก  ;   CCU(ซีซียู) = Coronary Care Unit > หออภิบาลผู้ป่วยหนักเฉพาะโรคหัวใจ  ;  IQ(ไอคิว) = Intelligence Quotient > ระดับความฉลาด ;   CD(ซีดี) = Compact Disc > แผ่นเก็บข้อมูลดิจิตอล, แผ่นซีดี  ;   CD-ROM (ซีดี-รอม) = Compact Disc Read-Only Memory > แผ่นเก็บข้อมูลที่มีหน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว ;   DJ(ดีเจ) = Disc Jockey > นักจัดรายการเพลงทางวิทยุ ;   VJ(วีเจ) = Video Jockey > นักจัดรายการเพลงทางทีวี  ;   DNA(ดีเอ็นเอ) = Deoxyribonucleic Acid > เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ;   GMOs(จีเอ็มโอ) = Genetically Modified Organisms > สิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงหรือตัดต่อทางพันธุกรรม ;   EMS(อีเอ็มเอส) = Express Mail Service  > บริการไปรษณีย์ด่วน  ฯลฯ     
       นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของคำฝรั่งที่พอจะนึกออกค่ะ นอกจากนี้ยังมีคำย่อในแวดวงวิชาชีพเฉพาะอีกมากมายที่ใช้กันเพื่อให้จดจำได้ง่ายและรู้ความหมายกันเองว่าใช้กับสิ่งใด ขอยกตัวอย่างวิชาชีพใกล้ตัวก็แล้วกันค่ะ ก็คือคำว่า WebOPAC นี่ละค่ะ นานมาแล้วดิฉันเคยถูกผู้ใช้บริการนี่แหละมาถามว่าย่อมาจากอะไร ทำเอาดิฉันอึ้งไปเลย นึกคำเต็มไม่ออก ณ เวลานั้นต้องขอเวลามาหาคำเต็มที่เคยจดไว้นานมากแล้ว (ก็มันจำไม่ได้เลยต้องจดเอาไว้) คุ้ยและค้นจนเจอ(รอดตัวไป) คำว่า OPAC = Online Public Access Catalog  คือฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุด ทั้งที่ยืมได้และยืมไม่ได้ สืบค้นข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ เปรียบเสมือนดั่งตู้บัตรรายการหนังสือและสิ่งพิมพ์ในยุคก่อนที่จะมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้นั่นเอง
 

2 thoughts on “คำย่อของฝรั่งที่คนไทยใช้จนเคยชิน

  • WebOPAC คำเต็มก็อย่างที่หนูบอกนั่นแหละ แต่เมื่อมีคำว่า Web มาเติมหน้า แสดงว่า สืบค้นบนเว็บไซต์ เมื่อแรกที่เรามี เรียก OPAC คำเดียว ไม่มี Web ผู้ใช้บริการต้องเดินไปสืบค้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในหอสมุดเท่านั้น ปัจจุบันทุกหอสมุดสืบค้นผ่านเว็บทั้งนั้นจะค้นที่ไหนก็ได้ทั่วโลก

  • ขอบคุณค่ะที่พี่แมวเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะดิฉันมิได้ให้ความหมายของคำว่า Web ไว้ด้วย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร