เรื่องของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM

ก่อนจะไปรู้จักระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM มารู้จักกันก่อนว่าระบบห้องสมุดอัตโมมัติคืออะไร…
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือ Automated Library System หรือ Library Automation System หรือ Library Integrated System เป็นระบบการทำงานของ ห้องสมุด ที่มีการนำเอาอุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มาใช้เพื่อการจัดการงานของห้องสมุดในลักษณะ ที่มีการทำงานร่วมกัน หรือเชื่อมโยงกันระหว่างระบบงานต่างๆ เช่น งานการทำรายการ งานบริการยืม-คืน งานสืบค้นข้อมูล งานวารสาร เป็นต้น
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM (Union Library Management) เป็นระบบห้องสมุดที่พัฒนาขึ้นสำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็กให้ได้มาตรฐานสากล ในการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ และสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบห้องสมุดอื่นได้ในอนาคต
ulibระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM พัฒนาโดย นายสมพงษ์ เจริญศิริ และ นายสันติภาพ เปลี่ยนโชติ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นโปรแกรมฟรี แต่ไม่ใช่ Open Source โดยจะอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องการนำไปใช้ได้ฟรี แต่ต้องผ่านการอบรมการใช้งานโปรแกรมก่อน เป็นระบบที่รองรับมาตรฐาน ISO2709 ทำให้โปรแกรมสามารถที่จะ Import ข้อมูล MARC Record (เช่น xxx.marc, xxx.out เป็นต้น) จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นได้ เช่น INNOPAC, VTLS, หรือ HORIZON เป็นต้น
ที่มาบอกถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัตินี้…ก็ไม่ได้จะโฆษณาอะไรให้เจ้าของโปรแกรมนะ…
เพียงแต่ว่าเราๆ ท่านๆ อาจจะยังไม่รู้ว่าบ้านเรา (หอสมุดฯ) ได้นำระบบนี้มาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ อยู่หลายฐานข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน ISO2709 จะได้นำเข้า/ถ่ายโอนข้อมูลได้ง่าย
ฐานข้อมูลบ้านเราที่ใช้ระบบห้องสมุดนี้จัดการ ได้แก่
1) ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารภาษาไทย (นำมาจัดเก็บข้อมูลดรรชนีวารสารภาษาไทยแทนโปรแกรม ISIS For Windows) แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปจัดเก็บรวมไว้กับข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC แล้ว
ulib-1
2) ฐานข้อมูลภาคตะวันตก สำหรับจัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ โสตทัศนวัสดุ ที่เกี่ยวข้องกับ 8 จังหวัดในภาคตะวันตก
ulib-2
3) ฐานข้อมูลกฤตภาคภาคตะวันตก เพื่อให้บริการข่าวสาร (กฤตภาค) และบทความในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 8 จังหวัดในภาคตะวันตก
ulib-3
4) ฐานข้อมูล SU eBook ซึ่งรวบรวม e-Book จากฐานข้อมูลต่างๆ ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรบอกรับ เช่น ฐานข้อมูล ebrary, Cambridge Book Online, Gale Virtual Reference, Thai Academic eBooks (2ebook) เพื่อให้สามารถเข้าใช้งาน e-Book จากฐานข้อมูลต่างๆ ได้ภายในการสืบค้นเพียงครั้งเดียว
ulib-5
นอกจากการจัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรมแล้ว โปรแกรม ULibM ยังมีโปรแกรมอีกส่วนหนึ่งที่ชื่อว่า UMedia ใช้สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพ เพลง เสียง และ VDO ไฟล์ต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งทางบ้านเราก็กำลังจะนำมาจัดเก็บในส่วนของฐานข้อมูลเสียง รวมถึงฐานข้อมูลปฏิทินตั้งโต๊ะ และอื่นๆ
นับได้ว่าเป็นโปรแกรมระบบห้องสมุดที่น่าสนใจระบบหนึ่ง ซึ่งใช้งานได้ไม่ยากเย็นนัก ที่สำคัญคือ ฟรี…นี่แหละ…ของชอบ
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.ulibm.net

One thought on “เรื่องของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM

  • บรรณารักษ์ทุกคน ระดับใดก็ตาม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปทั้งชำนาญการ / ชำนาญการพิเศษนักบริหารงานทั่วไป จะมี ดร.ติดตัวหรือไม่ก็ตาม ต้องอ่านและทำความเข้าใจไว้ติดตัว เผื่อมีคนหลงสอบถามมา จะได้ตอบได้ ถ้าลึกๆก็โยนไปที่จันทร์เพ็ญ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร