งานเขียนของฉัน แต่ไม่อยู่ในผลงานของฉัน?

คุณเคยประสบปัญหานี้ไหม?
งานที่คุณเคยเขียนไว้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด…เป็นตัวเล่ม เป็นแผ่นกระดาษ เป็นไฟล์… อยู่อยู่งานเขียนนั้นก็ไปปรากฎในผลงานของคนอื่น บางครั้งเป็นแบบคำต่อคำ บางครั้งเป็นแบบตัดต่อเป็นต่อน ๆ โดยไม่มีการให้เครดิตกับคุณเลย
คุณจะรู้สึกเช่นไร?
มารยาทในการนำผลงานของคนอื่นมาใช้ ควรจะมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อเป็นเครดิตให้กับผู้ที่เขียนคนแรก ๆ บ้าง กว่าเขาจะได้ข้อมูลมาเขียนแต่ละหน้า ต้องใช้เวลา ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้ามากมายแค่ไหน ต้องไปเสาะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าเป็นจริงแค่ไหน กว่าจะนำมาเป็นข้อความที่ปรากฎในตัวเล่ม ในแผ่นกระดาษ หรือในไฟล์
ขอแนะนำนะคะว่าก่อนที่จะเขียนอะไรลงไป ช่วยตรวจสอบให้ถ้วนถี่ว่าคุณเอาข้อความหรือข้อมูลนั้นมาจากไหน ช่วยให้เครดิตเขาบ้าง ทางที่ดีที่สุดคุณควรจะศึกษาวิธีการเขียนอ้างอิง เขียนบรรณานุกรม ให้เข้าใจถ่องแท้ ก่อนก้าวเข้ามาเป็นนักเขียน ไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่น มืออาชีพ หรือถูกบังคับให้เขียนนะคะ

3 thoughts on “งานเขียนของฉัน แต่ไม่อยู่ในผลงานของฉัน?

  • พี่พัชรีเขียนไว้หลายครั้งมาก แต่ในกรณีนี้กับเรื่องนี้คิดว่าน่าจะตรงที่สุด http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=9214
    ความเห็นคืองานเขียนทุกชนิดเป็นงานที่ต้องฝึกฝน คำว่าฝึกฝนคือต้องเขียนด้วยตนเองบ่อยๆ ขั้นต่อมาคือต้องเลือกคนอ่าน ในการเลือกคนอ่านส่วนตัวแล้วจะแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกสามารถวิพากษ์งานเราได้ว่าควรเพิ่ม ลด คิดต่ออะไร กับกลุ่มที่สองคือตรวจสำนวนการเขียน คนทั้งสองกลุ่มเป็นสิ่งที่เราต้องรู้จักเลือก ปัจจุบันก็ยังทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ สิ่งสุดท้ายคือต้องอดทน อย่าเอาเหตุผลของความไม่อดทนของเรา ปล่อยปละละเลยไปจนกระทั่งมีการครอบงำสำนวนการเขียน เพราะสุดท้ายมันจะไม่ใช่ตัวเรา อะไรที่เป็นของตัวเราเองมันจะอยู่กับเราแบบนิรันดร

  • เรื่องแบบนี้ต้องทำให้เป็นนิสัย ว่าอะไรที่ไม่ใช่ของของเรา ก็ควรให้เกียรติเจ้าของผลงานเค้าด้วย อย่างที่เป็นข่าวทำให้ผู้คนขำ “เผยแพร่ –> เผยน่าน” แต่ในขณะที่เราขำ คนที่เค้าเป็นเจ้าของผลงานเค้าคงปวดตับแน่ๆ
    อย่างวิชาที่เอ๋ไปสอน ใน outline จะมีหัวข้อนึงชื่อว่า Plagiarism หรือแปลเพราะว่าการคัดลอกผลงานหรือขโมยความคิดของคนอื่นโดยไม่อ้างอิงให้ถูกต้อง ถ้าแปลไม่เพราะก็คือ การโจรกรรมทางวรรณกรรม
    แสดงว่าทางภาควิชาใส่ใจต่อการทำงานวิจัยของนักศึกษา ที่ควรจะทำวิจัยอย่างถูกต้อง ให้เกียรติเจ้าของผลงาน

  • คนส่วนใหญ่ ขอบอกว่ายังมีอีกเป็นจำนวนมากที่เข้าใจผิดคิดว่า การเขียนบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่มแล้วนั่นคือ การอ้างอิง ของพี่ก็เคยโดนมาแล้ว ยังดีที่เขาและเธอยังเขียนไว้ในส่วนบรรณานุกรม ทั้งๆที่คนนำไปเขียนเป็นบรรณารักษ์ ซึ่งพี่ถือว่า ต้องเป็นผู้ที่ชำนาญและเชี่ยวชาญในการอ้างอิงมากกว่าบุคคลกลุ่มอื่นๆ แต่ก็เห็นแก่หน้ากัน ก็ได้แต่บ่นและปรารภกับเพื่อนฝูง ทำได้แค่นั้น จะทำอะไรก็ลูบหน้าปะจมูก ไหนๆก็ขอย้ำทุกคน หากลอกของใครมาทั้งดุ้น ทุกตัวอักษร ทุกข้อความ ทุก… คุณต้องบอกหรืออ้างตรงเนื้อหานั้นเลยว่า นำมาจากที่ไหน หน้าอะไร ใครเขียน การอ้างอิงแบบนี้ทำได้ที่เรียกว่า อ้างอิงแบบนาม-ปี (ในวงเล็บ) หรืออ้างอิงแบบตัวเลข [วงเล็บ] หรืออ้างอิงแบบเชิงอรรถ(footnote)ที่อยู่ส่วนล่างของหน้า หรือท้ายแต่ละบท/ตอน ส่วนเขียนท้ายเล่มเรียกว่า บรรณานุกรม หรือทางวืทยาศาสตร์เรียกว่า รายการอ้างอิง(Reference)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร