ของเล่นพื้นบ้านอาเซียน

สมัยเด็กๆหลายคนอาจเคยเล่นของเล่นพื้นบ้านกันมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆคนทีไม่เคยเล่น และยังไม่รู้จักลองมาทำความรู้จักกันค่ะ
“ของเล่นพื้นบ้าน” สื่อหนึ่งที่ถ่ายทอดบรรยากาศความสนุกสนานของการเล่นในวันวานไว้อย่างโดดเด่น ไม่เพียงเฉพาะสร้างความหรรษา ความเพลิดเพลิน ของเล่นพื้นบ้านยังมากคุณค่าทั้งส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ รวมถึงชวนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมการละเล่นของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน  การเล่นถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การเล่นเป็นการผ่อนคลาย การเล่นพื้นบ้าน ฝึกฝนให้เด็กเรียนรู้กฎ กติกา  มีความอดทน รู้จักการสังเกต  สร้างจินตนาการ การเล่นยังเป็นเหมือนการเตรียมพร้อมก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ ของเล่นพื้นบ้านถือ ได้ว่าเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ส่วนใหญ่จะเล่นเป็นกลุ่มมากกว่าที่จะเล่นเดี่ยว ๆ ของเล่นพื้นบ้าน บอกเล่าถึงเรื่องราวของสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมของชุมชน วิถีชีวิต อย่างเช่นชุมชนไหนที่มีไม้ไผ่อยู่มากก็จะเห็นของเล่นที่ประดิษฐ์ จากไม้ไผ่ หลากหลายรูปแบบด้วยความคล้ายคลึงกันของภูมิประเทศ ของเล่นพื้นบ้านอาเซียนที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ที่คล้ายคลึงกันมี ลูกข่าง ซึ่งพบการเล่นกันทั้งในประเทศ ไทย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฯลฯ  รูปแบบการเล่น และกติกาอาจมีต่างกันไปบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นวิถีชีวิตเชื่อมโยงสัมพันธ์กับธรรมชาติที่นำมา ประดิษฐ์ สร้างสรรค์เป็นของเล่น ส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติ จากต้นไม้  กระดาษ ผ้า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งต่าง ๆ การเล่นลูกข่างนอกจากจะให้ความสนุกสนาน สร้างความท้าทายให้กับผู้เล่นที่จะต้องทำให้ลูกข่างหมุนได้ ลูกข่างที่เป็นของเล่นพื้นบ้านยังฝึกฝนให้เด็กมีความอดทน สร้างการเรียนรู้การทดลองให้ลูกข่างหมุน เรียนรู้เรื่องของแรงเหวี่ยง  การพันเชือกลูกข่างให้โอบอุ้มลูกข่างฝึกกล้ามเนื้อของเด็ก หากพันไม่แน่นเวลาปาลูกข่างออกไปจะไม่หมุนจึงต้องดึงเชือกให้แน่น การเรียนรู้จากการเล่นยังช่วยทำให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตและการที่ลูกข่าง หมุนช้า เร็ว การนิ่งหรือส่ายของลูกข่างยังก่อเกิดการเรียนรู้หลักการวิทยาศาสตร์ ของเล่นประเภท ที่บินได้ จะมี ว่าว  โดยหลายประเทศในอาเซียนนิยมเล่นกัน  ว่าว  ถือว่าเป็นของเล่นที่มีราคาไม่แพงสร้างสรรค์ได้จากกระดาษ โดยนำมาประดิษฐ์ร่วมกับไม้ไผ่และเชือก คอปเตอร์ไม้ไผ่ จากการที่ได้เห็นของเล่นชนิดนี้ลอยไปในอากาศ การประดิษฐ์ยังเสริมสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์   เกิดการทดลองในการทำมุมของปีกหมุน ว่าควรจะต้องเอียงอย่างไรจึงจะพุ่งไปในอากาศได้ดี  เป็นการฝึกการสังเกตให้กับเด็ก คอปเตอร์ไม้ไผ่จะบินได้สูง พุ่งตรงหรือไม่ยังเป็นการฝึกในเรื่องการออกแรงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฝึกการสังเกตเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ไปในตัว ของเล่นพื้นบ้านที่ทำให้เกิด เสียง เช่น การนำไม้ไผ่มาทำเป็นนกหวีด หรือนำมาทำเป็นเสียงนกต่าง ๆ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องลม คลื่นเสียง ของเล่นลักษณะนี้แทบทุกชาติในอาเซียนนิยมเล่น  นอกจากทำจากวัสดุที่เป็นไม้แล้วยังมีใบไม้ รวมถึงต้นไม้ อย่างเช่น  ปี่ต้นข้าว หรือใบมะพร้าว นำมาม้วนเป็นปี่สร้างเป็นของเล่นให้เสียงต่าง ๆ ได้ไพเราะ ของเล่นพื้นบ้านอีกรูปแบบที่มอบความสนุกสนานและสร้างการเรียนรู้ในเรื่อง ของจุดศูนย์ถ่วง อย่างเช่น ไม้ต่อขา มีให้เห็นในหลายประเทศเช่นกัน หมากขุม มีเล่นกันในหลายประเทศในอาเซียน แต่วัสดุอาจจะต่างกันไป อย่างประเทศเวียดนามนิยมเล่น แต่ไม่ใช้รางไม้ใช
้กระดาษ ขีดเป็นช่องตาราง ส่วนทางภาคใต้ของประเทศไทยยังคงใช้รางไม้ การเล่นหมากขุมจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ฝึกฝนการคิดคำนวณ  รู้จักการวางแผน กล้าตัดสินใจ
ประโยชน์จากของเล่นพื้นบ้าน ยังเป็นสื่อสร้างสาย ใยความอบอุ่นผูกพันภายใน ครอบครัวได้ชัดเจน จะเห็นได้ว่าสมัยก่อนคุณปู่  คุณย่าจะประดิษฐ์ของเล่นให้กับเด็ก ๆ ได้เล่นสนุกสนาน อีกทั้งลานบ้าน ลานวัดเมื่อครั้งอดีต สภาพสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันของเล่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์กิจกรรม สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี  แต่เมื่อมีความเจริญทางด้านวัตถุเข้ามากิจกรรมเหล่านี้ลดลงไป ของเล่นพื้นบ้านในปัจจุบันมีให้เห็นทั้งในรูปแบบของเล่นและเป็นของฝากของ ที่ระลึก ขณะเดียวกันได้มีการนำของเล่นพื้นบ้านมาเป็นสื่อในการเรียนรู้โดยเสนอผ่าน สื่อของเล่นพื้นบ้านเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงสังคม สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมสร้างการเรียนรู้แบบบูรณาการขึ้น
การประดิษฐ์สร้างสรรค์ของเล่นพื้นบ้านตามหลักการวิทยาศาสตร์ แบ่งได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเสียง ได้แก่ จักจั่น ตะแล็บแก็บ กลองกิ่ง กระดิ่งก้ามปู ป๋องแป๋ง ปี่ ปืนก้านกล้วย โหว้ นกหวีดดินเผา ฯลฯ กลุ่มแรง ได้แก่ บั่นบื้อ กังหันหมุน รถหลอดด้าย ลูกฟัด ลูกข่าง ลิงจับหลัก นกบิน ฯลฯ กลุ่มคาน/ล้อ/เพลา ได้แก่ กะล่ง กะลา เขาควาย ควายชน รถบรรทุกรถถ่อ ฯลฯ กลุ่มความดันอากาศและแรงยก ได้แก่ ว่าว เครื่องบิน เครื่องร่อน กังหันลม ฯลฯกลุ่มจุดศูนย์ถ่วง ได้แก่เรือใบกาบมะพร้าว เดินกะลา ขาสูง ฯลฯ และ กลุ่มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ม้าก้านกล้วยเป็นต้น ประโยชน์จากการเล่นของเล่นพื้นบ้าน ช่วยสร้างอุปนิสัยให้เด็ก ๆ รู้จักการอดทน รอคอย ไม่วู่วาม รู้จักสังเกต รอบคอบมากขึ้นซึ่งจะเป็นการหล่อหลอม สร้างความสมดุลในชีวิตได้ อย่างการเล่นหมากขุม ก่อนการเล่นแต่ละหมากผู้เล่นต้องไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน  เช่นเดียวกับการเล่นไม้ต่อขา กว่าจะเดินได้ก็ต้องมีความอดทนถึงจะเดินได้บนอุปกรณ์ ของเล่นเหล่านี้มีส่วนช่วยให้มีความสุขุม เมื่อเติบโตก็จะไม่พลาดพลั้งไปในทางที่ผิดพลาดได้ง่าย  😆
ภาพประกอบของเล่นพื้นบ้านอาเซียนค่ะ
ลูกข่าง      3
 
 
 
 
ลูกข่าง                                    คอปเตอร์ไม้ไผ่
5 444
 
 
 
 
 
เดินกะลา                                          ไม้ต่อขา
 
109
 
 
 
หมากขุม
 
6
 
 
 
ม้าก้านกล้วย
 
 
สรุปจาก : ทีมวาไรตี้. (2557). “ของเล่นพื้นบ้านอาเซียน : เชื่อมโยงความสัมพันธ์ผสมผสานการเรียนรู้.” เดลินิวส์ (13 มกราคม) : 4.
ภาพประกอบจาก Google
 

2 thoughts on “ของเล่นพื้นบ้านอาเซียน

  • ได้หาภาพประกอบของเล่นพื้นบ้านอาเซียนมาเพิ่มแล้วค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร