ชื่อ “ปากท่อ” มาจากไหน? อย่างไร?

1 December 2013
Posted by Kasorn Sansuwan

มาศึกษาข้อมูลและที่มาของอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีกันค่ะ
ตามตำนานคนปากท่อเล่าว่าในสมัยก่อนบริเวณตำบลปากท่อเคยเป็นบริเวณพื้นทะเลได้มีชาวจีนแล่นเรือมาค้าขาย เมื่อเรือแล่นเข้ามาถึงเถ้าแก่เจ้าของเรือก็ร้องตะโกนสั่งลูกเรือให้จอดเรือว่า “ปักถ่อๆ” บริเวณดังกล่าวนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านปักถ่อ” ส่วนพื้นทะเลนั้นต่อมาน้ำก็ได้แห้งไป คงเหลือแต่หนองน้ำใหญ่ซึ่งชาวบ้านยังเรียกกันว่า “หนองทะเล” ต่อมาได้กลายเป็นป่ารกทึบ และคำว่า ปักถ่อ ได้เพี้ยนมาเป็นคำว่า “ปากท่อ” หรือ บางตำนานหนึ่งไม่แตกต่างกันนัก กล่าวถึงการค้าขายตามลำคลองไม่ใช่ทะเล
ตำบลปากท่อพื้นที่เดิมมีคลองมาก ผู้คนสมัยก่อนเดินทางติดต่อกันทางเรือ พ่อค้าชาวจีนเข้ามาค้าขายกับคนในพื้นที่ โดยเข้ามาทางปากน้ำแม่กลองแล้วเข้ามาทางคลองวัดประดู่ เมื่อจอดเรือก็ใช้ถ่อปักไว้และใช้เชือกผูกเรือติดไว้กับถ่อ ป้องกันไม่ให้เรือไหลไปตามกระแสน้ำ ผู้คนจึงเรียกสถานที่ค้าขายนี้ว่า “ปักถ่อ” ในภายหลังได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ปักธ่อ” และเป็น “ปากท่อ” ในที่สุด บ้านปากท่อเป็นชุมทางการค้าจุดหนึ่งที่สำคัญมาแต่โบราณ แต่ฐานะทางการปกครองนั้นมีความสำคัญขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พ.ศ. 2442 เมืองราชบุรีตั้งอำเภอขึ้นใหม่โดยแยกออกจากอำเภอเมืองราชบุรี  ให้ชื่อใหม่ว่า อำเภอท่านัดวัดประดู่ เพราะที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บริเวณวัดประดู่ ตำบลจอมประทัด ครั้งนั้นตำบลปากท่อถูกจัดให้รวมกับอำเภอท่านัดวัดประดู่ด้วย จากนั้นไม่นาน ทางราชการย้ายที่ว่าการอำเภอ “อำเภอท่านัดวัดประดู่”ไปอยู่ที่ตำบลวัดเพลง และเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “อำเภอแม่น้ำอ้อม” ต่อมากระทรวงมหาดไทยโอนอำเภอแม่น้ำอ้อมไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรสงคราม
ในปี พ.ศ.2460 สมัยขุนดำเนินประศาสน์ (ชิด ปัจฉิมพิหงษ์) เป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม ไปตั้งที่ตำบลปากท่อ และตั้งชื่อเสียใหม่เป็น “อำเภอปากท่อ”  พ.ศ. 2485 อำแดงงิ้ว อำแดงผ่อง นายสรวง นายจ่าง กำนัน มีจิตกุศลยกที่ดิน จำนวน 9 ไร่ 3 งาน ให้สร้างที่ว่าการอำเภอปากท่อ ที่ว่าการอำเภอนั้นตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลปากท่อ ตัวอาคารเป็นไม้ชั้นเดียว จนกระทั้ง สมัยนายสุจินต์ วนเกียรติ นายอำเภอปากท่อ ได้ย้ายที่ทำการอำเภอปากท่อไปตั้งที่บริเวณเขาน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จนถึงปัจจุบัน และ มีนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร เป็นนายอำเภอปากท่อคนปัจจุบัน
คำขวัญประจำอำเภอปากท่อ เพลงเขมรปากท่อ เหล่าก่อไทยทรงดำ วัฒนธรรมกะเหรี่ยง เสียงน้ำตกไทยประจัน แหล่งพันธุ์ไม้ผลคนน้ำใจงาม มากฟาร์มสุกร พระนอนเขาถ้ำทะลุ
สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน ความเป็นอยู่และประเพณี ที่น่าสนใจในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี คือ วัดปากท่อ ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านเหล่ามะละกอ ที่นี่มีการท้าปุ๋ยหมัก สารอินทรีย์ที่ใช้ไล่แมลง การเลี้ยงหมูหลุม อุทยายานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาตินี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังคงสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ทั้งน้ำตกไทยประจัน บ่อน้ำพุร้อน และอ่างเก็บน้ำ มาลัย ออสทริช ฟาร์ม เป็นฟาร์มนกกระจอกเทศ แหล่งชุมชนชาวกะเหรี่ยง ได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และประเพณี คติความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านเขาหัวจีน  เป็นศูนย์วัฒนธรรมที่แสดง ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยทรงดำ
สรุปข้อมูลจาก : ทองแถม  นาถจำนง. (2554). “ปากท่อ.” วิทยาจารย์ 111, 2 (ธันวาคม) : 25-26
เพิ่มเติมข้อมูล : http://paktho.ratchaburi.doae.go.th/web/tour1.pdf

One thought on “ชื่อ “ปากท่อ” มาจากไหน? อย่างไร?

  • สมกับทีทำงานในศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร