นอก-ใน
เวลาไปรับประทานอาหารกลางวัน สี่สหายมักชอบไปคือหลังบ่ายคลายเครียด เพราะเหนื่อยเกินไปที่จะไปเล่นเก้าอี้ดนตรี หรือบางทีก็อาจมีภารกิจติดพลันเช่นติดต่อเซลล์ หรือคีย์รายการหนังสือค้างไว้ต้องทำสำเร็จให้ได้ในครึ่งแรกของวัน รวมทั้งต้องดูแลห้องทำงาน เพราะเราไม่สามารถคาดเดาหรือห้ามให้ใครว่าเธออย่ามาติดต่ออิฉันในเวลาพักนะฮะ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่พี่แมวสอนไว้ย้ำนักย้ำหนา บางทีรู้สึกว่าฟังจนเบื่อ แต่เราเป็นคนไม่อยากเบื่อจึงถือปฏิบัติ เรื่องที่น่าเบื่อหากนำมาไตร่ตรองก็จะรู้ว่ามันคือความจริง ถามว่าออกเป็นกฎหรือคุยกันในฝ่ายมั้ย ไม่เคยแฮะ เหมือนคนทำงานจะรู้กันโดยอัตโนมัติ หากใครไม่มา ช่วงเวลาก็จะแหว่ง น้องอ้อจะเป็นคนเตือนเสมอว่าวันนี้เราต้องอยู่จนถึงกี่โมงกว่าที่อีกคนจะมา การทำอะไรแบบอัตโนมัติเอื้ออาทรกันเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งนัก
ในบรรดา 4 คน ดิฉันจะเนิบนาบที่สุด ยิ่งพักหลังน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับอายุ หัวเข่าเริ่มไม่รักดี จึงต้องอาศัย “ไหล่” ของแต่ละคนเป็นที่ยึดตามจังหวะเวลาในแต่ละสถานการณ์
เมื่อเดินตามหลัง จึงเห็นแต่คนข้างหน้า พอเห็นก็เริ่มวิจารณ์คนข้างหน้า ลืมดูตัวเอง … แล้วก็จะมีเสียงบอกว่าเล็กตายล่ะ หรือ อิโถ่..
วันก่อนเพื่อนส่งเรื่อง เพ่งนอก ลืมใน ของพระไพศาล วิสาโล มาให้อ่านทำให้ได้คิด เพราะมีความชอบท่านเป็นการส่วนตัวและติดตามอ่านมาตั้งแต่ละอ่อนน้อยที่ยังไม่ได้มาทำงานที่นี่ พอมีเรื่องเข้ามาให้เกือบต้องเสียกระบวนท่า ทั้งๆที่รู้สติก็ยังเตลิดเปิดเปิง พอได้สติจึงกลับเข้าไปอ่านอีกหลายๆครั้ง เพื่อเน้นย้ำให้กับตัวเอง หรือเอาไว้เตือนตัวเองให้มีสติ ท่านบอกว่า…
การส่งจิตออกนอกเป็นตัวการแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ใจ หรือการสร้างทุกข์ให้แก่ชีวิตของตน จึงประมาทไม่ได้เรื่องการส่งจิตออกนอก เพื่อไม่ให้เผลอส่งจิตออกนอก ก็ต้องมีสติ สติช่วยพาจิตมาอยู่ปัจจุบัน อยู่กับงานที่เราทำ ดึงจิตกลับมาดูตัวเอง
จิตเห็นจิต หมายความว่ารู้ทันอารมณ์ เห็นความเครียด ความเกลียด ความโกรธที่มันเกิดขึ้น รู้แล้วก็วาง … ถามว่ารู้ทันความโกรธแล้วทำไมยังโกรธอยู่ ตอนที่รู้หรือความโกรธนั้น จิตหลุดไปจากความโกรธ แต่เนืองจากมันมีพลังมาก จึงดูจิตเข้าไปใหม่ เข้าไปครอบครองจิตใหม่ .. เหมือนที่เราขับรถที่แล่นเร็วๆ แราต้องแตะเบรคหลายๆ ครั้งจึงหยุด การเห็นความโกรธก็เหมือนกัน ไม่ใช่เห็นแล้วจะหยุดได้เลย ถ้าอารมณ์มันแรงมากพอมีสติมันก็จะหยุด แต่ยังมีแรงส่ง ฉะนั้นจึงต้องใส่สติเข้าไปถี่ๆ จนมันคลายลง หรือไม่ก็ต้องอาศัยสิติที่มีกำลังมาก ก็จะหลุดจากอารมณ์นั้นได้ทันที
ถ้าไม่มีสติ ก็มีตัวกู เป็นผู้สุขผู้ทุกข์ ที่นี้มันไม่ใช่แค่สุขกาย ทุกกายเท่านั้น แต่จะปรุงเป็นผู้สุข ผู้ทุกข์ เกิดสุขหรือทุกข์ขึ้นที่ใจ และก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องปิดหู ปิดตา ไม่รับรู้สิ่งภายนอก ถ้าทำเช่นนั้นถือว่าผิดทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าถ้าหากทำเช่นนี้ทำให้คนพ้นทุกข์ได้ คนตาบอดหูหนวกคงพ้นทุกข์ไปนานแล้ว … อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะ http://www.carefor.org/content/view/1733/153/
ระหว่างเขียนเรื่องนี้ดิฉันนึกถึงคำว่า inside out กับ outside in ที่เอามาใช้กันทั้งเรื่องการตลาด การให้บริการ จนถึงการพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ ที่เพียรตามอ่านจนเจ็บหัว ในที่สุดได้ข้อสรุป ไม่ว่าจะใช้ธรรมะข้อไหนหรือทฤษฎีเรื่องใด คิด และ ทำ เป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลย์จำเป็นต้องเกิดขึ้นในองค์กร คำว่าองค์กรคือความหลากหลายของคนตามภาระหน้าที่ เหรียญของความสำเร็จที่เกิดจากการหลอมรวมอยู่ที่ด้านของการรับรู้และการคิดสร้างสรรค์ออกมา กับด้านที่ทำได้จริง
ดิฉันชอบรูปนี้เพราะเป็นคนชอบเย็บผ้า ได้มาจาก http://www.sethskim.com/2013/01/12/inside-out-series/
ในโลกของการเย็บผ้ามักมีด้านใน ด้านนอก ซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย วันนี้ตะเข็บไม่ดี พรุ่งนี้และวันต่อไปๆ อาจจะสวย โดยตัวเราเป็นผู้ฝึกฝนและเป็นผู้กำหนดขืนมัวแต่ เพ่งนอก ลืมใน แทงเข็มจากข้างในออกข้างนอก แทงจากข้างนอกเข้าข้างใน รับรองเป็นได้แผล
วันก่อนไปงานพ่อพี่อ้วน พี่ผู้ชายใส่เสื้ “ฮี” ที่เสื้อด้านในจะมีลวดลายสวยกว่าตัวเสื้อด้านนอก เลยนึกถึงเรื่องที่เขียนไว้ เห็นเสื้อฮีแล้วคิดว่าเป็นปริศนาธรรมของการใช้ชีวิตที่ดีทีเดียว
One thought on “นอก-ใน”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
โปรดทราบ เสื้อฮีน่ะมีความหมายอยู่ว่า ใน 1 ตัว ใช้ในงานมงคล และงานศพ ส่วนคนที่จะใส่นั้นมีความสำคัญก็คือ เป็นลูกเขย และสะใภ้ เท่านั้น มิฉะนั้น จะไม่อนุญาตให้เครพศพเลย!!!!!