รับ "แขก"

สองสัปดาห์นี้ชีวิตดิฉันวุ่นวายกับการรับแขก โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติ เป็นที่สนุกสนานแบบปวดตับเนื่องจากความรันทดจากภาษาอังกฤษของตัวเอง แต่มักอ้างว่าหูยยย… มาจากหลากหลายเชื้อชาติ … เป็นข้ออ้างเพื่อปลอบใจตัวเอง
อาจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บัวหล้า ซึ่งดิฉันยกให้เป็นมายไอดอลทันที่เมื่อได้ฟังอาจารย์พูดและอธิบายเพียงไม่กี่นาที เพราะประทับใจมากที่สุดกับบทสนทนาสั้นๆ เรื่อง change attitude ซึ่งอาจารย์อธิบายได้ดีมีตัวอย่าง และทำให้ดิฉันจดจำไปขยายต่อ การฟังครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่ 2 ถามว่าเรื่องนี้เรารู้กันอยู่ไหม ตอบว่ารู้อยู่ แต่การได้ “ฟัง” บางเรื่องบางประเด็นจะมีส่วนสะกิดต่อมให้คิดได้
ปีนี้ (งบ2556) พวกเราโชคดีที่มีโอกาสฟังวิทยากรที่เป็น “ครู” ของศิลปากรถึงสามท่าน (อ.สกุล อ.ลิขิต และอ.ธีรพงษ์) ซึ่งจะมาในหัวข้อต่างกันคือ ความสุข จิตสำนึก ภาษาอังกฤษ แต่เนื้อหาจะมีความคล้ายคลึงกันคือการรู้จักเปลี่ยนทัศนคติ และการเริ่มความเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยตนเอง พยายามแปลงนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม และเป็นรูปธรรมที่ติดตัวเราหาใช่ใครอื่น
เมื่อวันอังคาร “แขก” ตัวจริงมา เป็นการมาที่ไม่ธรรมดานัดแนะเวลาบ่ายโมง แต่กว่าจะมาถึงห้องสมุดเราปุเลงๆ เข้าไปบ่ายสามกว่า ระหว่างทางติดต่อกันทางโทรศัพท์จนมึน จนตัดสินใจจะไปบอกว่าไม่ต้องมาแล้ว แต่ยังยินยันไม่มา แถมอิฉันยังเสียงสูงว่า by BUS? แบบแหลมปรี๊ด จะไม่ให้สูงได้อย่างไร เพราะ “แขก” ท่านมารถเมล์หวานเย็นกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี เลยขอพูดกับ someone in the bus ถามว่าหนูรูจักทับแก้วไหมครับ (ทำไมผมจะไม่รู้เพราะผมเป็นกระเป๋ารถ) งั้นดีเลย ถ้ารถจอดหนูอย่างเพิ่งไปไหนนะคะ ให้เรียกมอเตอร์โขค์รับจ้างแล้วบอกว่าให้มาส่งที่ห้องสมุด ต้องช่วยเค้านะเพราะเขาพูดภาษาไทยไม่ได้ (ครับๆ) แล้วดิฉันก็ต้องมาพูดกับ “แขก” อีกว่า อย่าเดินมานะชายหนุ่มคนนั้นจะช่วยเหลือให้คุณมาที่นี่ได้ …………หายไปนานพอสมควร กระทั่งมีโทรศัพท์บอกว่าอยู่ชั้น 2 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อิฉันก็กระหือกระหอบเดินออกไปหาแม่เจ้าประคุณเอ๋ย ช่างมีความมานะพยายามจริงๆ เลยพาไปห้องน้ำ ล้างหน้าล้างตาสักพัก เลยพาไปที่ห้องประชุมที่หัวหน้าฝ่ายทั้งหลายนั่งประชุมกันนั่นแหละ พร้อมกับเชิญพี่พัช เพราะบรรณารักษ์ท่านอื่นสลายตัวไปหมดแล้ว พี่นกยกน้ำดื่มมาให้เพราะดูท่าทางอิดโรยน่าดู
ถึงการเดินทางจะทรหดอย่างไรก็ตาม เมื่อพูดจาแนะนำฐานข้อมูลก็สามารถทำได้ด้วยดี พวกเราเห็นแล้วสงสาร พี่พัชกับอิฉันต้องพยายามถามและพูดถึงฐานข้อมลของเค้าและให้กำลังใจ ขากลับพี่พัขเลยเป็นธุระไปส่งถึงรถตู้ 83 เพราะนั่งรวดเดียวจบที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เรื่องนี้ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับการเดินทางที่เราควรต้องศึกษาข้อมูลล่วงหน้า ส่วนอิฉันแน่ใจในงานที่คิดแเพื่อสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษว่า ไม่มีใครจะสร้างบทเรียนการสนทนาได้ดีเท่ากับตัวเราเอง
นอกจากปฏิบัติสิ่งต่างๆ แบบเรื่อยเปื่อย เพื่อให้ “ได้ยิน” ผ่านหูแล้ว ยังต้อง “ฟัง” เอฟเอ็ม 95.5 และก้มหน้าก้มตาทำตามคำแนะนำของอาจารย์ ดร.ธีรพงษ์ ที่ให้ปฎิบัติแบบนี้อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
ไม่ใช่อะไรแค่กลัวว่า “ปวดตับ” จะทรมานยิ่งกว่า “ปวดหู”

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร