รู้จักอุปกรณ์โสตฯในห้องประชุม (ตอนที่1 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์)

การใช้อุปกรณ์โสตฯในห้องประชุมฯ (ตอนที่ 1 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ Projector)

            ห้องประชุมในแต่ละสถานที่ อุปกรณ์ที่จัดว่ามีความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ และในแต่ละห้องประชุมจะต้องมีการติดตั้งไว้ก็คือ เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (projector)
            เรามาทำความรู้จักแบบเบื้องต้นกับเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้กันดีกว่า เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (projector) ก็คืออุปกรณ์ที่ช่วยในการแสดงภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
           โดยทั่วไปเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์สามารถนำมาต่อกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น วีดีโอ ดีวีดี และเครื่องคอมพิวเตอร์  เหมาะสำหรับการนำมาใช้นำเสนองาน หรือที่เราเรียกว่า presentation หรือจะนำมาใช้ทำเป็น Home Theater ก็ได้ครับ
             ในห้องประชุมของพวกเราก็มีเจ้าเครื่องนี้ติดตั้งประจำการณ์อยู่ เป็นของยี่ห้อ Sanyo รุ่น PLC-XU100 ซึ่งสเปคผมจะลงไว้ตอนท้ายๆนะครับ เรามาเรียนรู้วิธีการเปิด-ปิด และใช้งานเจ้าเตรื่องนี้กันดีกว่า
                     ขั้นตอนการใช้งานเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ Sanyo รุ่น PLC-XU100 ที่ติดตั้งอยู่ในห้องประชุมของพวกเรา ทำไมถึงต้องใช้คำว่าในห้องประชุมของพวกเรา ก็เพราะว่าในห้องประชุมของแต่ละสถานที่ การติดตั้งเจ้าเครื่องนี้จะติดตั้งไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพของห้องประชุม และการใช้งานเป็นหลัก สำหรับท่านที่ไม่มีความรู้เลยในด้านนี้ ก็อาจจะมองดูยากสักนิด แต่สำหรับท่านที่พอรู้อยู่บ้างก็ไม่ยากอะไร เพราะการใช้งานของแต่ละยี่ห้อ/รุ่น ก็จะคล้ายๆกัน เพราะมันมีพื้นฐานเดียวกัน เข้าเรื่องเลยนะครับ
1. เปิดสวิทช์ในห้องควบคุม (สวิทช์ Projector)

2. เปิดสวิทช์จอรับภาพ ถ้าเราสังเกตุให้ดี สวิทช์ตัวนี้จะมี 3 จังหวะ(3ทาง) ก็คือ

กดสวิทช์ลง เพื่อให้จอรับภาพเลื่อนออกมา

           กดสวิทช์ให้อยู่ตรงกลาง เมื่อจอรับภาพเลื่อนลงมาเสร็จ หรือต้องการให้จอรับภาพหยุดในระดับใดระดับหนึ่ง (การปิดสวิทช์จอรับภาพ ควรปิดทุกครั้งเมื่อจอรับภาพเลื่อนลงมาสุด เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานผิดพลาดของตัวควบคุมการขึ้นลงของจอรับภาพ)

กดสวิทช์ขึ้นเมื่อต้องการเก็บจอรับภาพ และ ปิดสวิทช์ให้อยู่ตรงกลางเมื่อจอรับภาพเก็บเสร็จ

3. เมื่อเปิดสวิทช์ไฟเครื่องโปรเจคเตอร์ที่อยู่ในห้องควบคุมเสร็จ ให้มาสังเกตุที่ตัวเครื่องโปรเจคเตอร์ หลอดไฟ สีแดง จะสว่างขึ้นมา

4. ใช้รีโมทฯเปิดเครื่องโปรเจคเตอร์ โดยกดที่ปุ่ม สีแดง ที่ตัวรีโมทฯ

5. สังเกตุหลอดไฟที่เครื่องโปรเจคเตอร์ จะเปลี่ยนสีจาก สีแดง เป็น สีเขียว เสร็จแล้วจึงเปิดเครื่องคอมฯ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า

6. เครื่องโปรเจคเตอร์ จะทำการวอร์มหลอดไฟก่อน(เพี่อรักษาและยีดอายุการใช้งานของหลอดโปรเจคเตอร์) โดยจะเริ่มนับเวลาถอยหลัง เมื่อนับเสร็จแล้วจึงเริ่มมีภาพปรากฎขึ้นมา

 

7. เมื่อเราทำครบทุกขั้นตอนแล้ว ตอนนี้เครื่องพร้อมใช้งานแล้วครับ เพื่อนๆอาจสงสัยว่าทำตามขั้นตอนเท่านี้ก็จะสามารถใช้งานได้แล้วเหรอ!  ก็จะขอตอบว่าเครี่องโปรเจคเตอร์ชุดนี้เป็นเครื่องที่ติดตั้งประจำอยู่ในห้องประชุมฯ การต่อสายไฟ และสายสัญญาณต่างๆ ตลอดจนการเซทค่าต่างๆที่เครื่อง ได้ทำไว้เรียบร้อยแล้ว (เพื่อให้ผู้ใช้งานสะดวกแก่การใช้ โดยที่เราแค่เปิดเครื่องเป็น ก็สามารถใช้งานได้แล้วครับสะดวกสบายมาก555)

8. เมื่อเราได้ศึกษาขั้นตอนการเปิดเครื่องเพื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการปิดเครื่องบ้างนะครับ  การปิดเครื่องนั้นไม่ยากครับแต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเลยครับ

        เริ่มโดยการ ใช้รีโมทฯตัวเดิม กดปุ่ม สีแดง 1 ครั้ง (ปุ่มเดียวกับที่ใช้กดตอนเปิดเครื่อง) จะปรากฎข้อความ  “Power off ?”  ขึ้นที่จอรับภาพ ให้กดปุ่มสีแดงอีก 1 ครั้ง เดรื่องโปรเจคเตอร์ก็จะหยุดทำงาน  แต่เครื่องยังหยุดไม่สนิทครับ…….

9. ให้เราสังเกตุดูที่เครื่องโปรเจคเตอร์ จะเห็นหลอดไฟ สีแดง กำลังกระพริบอยู่ ให้รอจนกว่าหลอดไฟหยุดกระพริบ แล้วจึงเข้าไปปิดสวิทช์ในห้องควบคุม ที่ให้ทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการยืดอายุหลอดโปรเจคเตอร์ และเป็นการปิดเครื่องอย่างถูกต้องครับ

               อธิบาย เหตุที่ต้องให้หลอดไฟสีแดงหยุดกระพริบ ก็เพราะว่าเมื่อเราเปิดเครื่องโปรเจคเตอร์ หลอดไฟที่ใช้ในการฉายภาพ จะมีอุณหภูมิสูงมาก ภายในตัวเครื่องจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยระบายความร้อนของหลอดโปรเจคเตอร์ เมื่อเราปิดเครื่องโปรเจคเตอร์ พัดลมระบายความร้อนชุดนี้จะยังทำงานอยู่ เพื่อปรับอุณหภูมิของหลอดโปรเจคเตอร์ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก ถ้าเราไม่รอจนหลอดไฟสีแดงหยุดกระพริบ เราเข้าไปปิดสวิทช์ไฟในห้องควบคุมทันที เท่ากับเป็นการตัดการทำงานของพัลมระบายความร้อน หลอดโปรเจคเตอร์อาจจะแตก หรือไส้หลอดอาจจะขาดได้ครับ แต่ที่แน่ๆอายุการใช้งานของหลอดโปรเจคเตอร์จะสั้นลงแน่นอนครับ (เท่าที่สังเกตุดู หลอดไฟสีแดงจะกระพริบอยู่ ประมาณ 1-4 นาที ไม่เกินจากนี้  ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของห้องครับ)

            การดูแลรักษาเบื้องต้น    โดยปรกติผมจะมาตรวจเช็คทุกๆเดือน  อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก ในการตรวจเช็ค จะทำการทดลองเปิดเครื่อง ว่าเครื่องทำงานปรกติไหม จะมีในส่วนที่เป็นเทคนิคเล็กน้อย ซึ่งใครๆก็สามารถทำได้คือ

  1. การทำความสะอาดแผ่น Filter ที่ตัวเครื่องถ้าเราสังเกตุดู จะเห็นมีช่องๆ อยู่ทางด้านท้ายของตัวเครื่อง ซึ่งเป็นช่องทางของลมที่พัดลมระบายความร้อน ดูดอากาศจากภายนอกมาเป่าหลอดโปรเจคเตอร์ เนื่องจากหลอดโปรเจคเตอร์มีความร้อนสูง จึงต้องมีแผ่น Filter เพื่อกรองฝุ่นที่อาจจะไปทำอันตรายแก่หลอดโปรเจคเตอร์ได้ การทำความสะอาดก็เพื่อทำให้อากาศไหลผ่านไประบายความร้อนของหลอดโปรเจคเตอร์ได้ดี

    การถอดแผ่น Filter ทำได้ไม่ยาก โดยใช้เล็บหรือนิ้วเขี่ยสลักตรงกลางขึ้นมา แล้วดึงขึ้นออกจากตัวเครื่องทางด้านบน

   นำแผ่น Filter ไปทำความสะอาด โดยการล้างด้วยน้ำสะอาด หรืออาจใช้แปรงที่มีขนเล็กๆ แปรงเบาๆ เท่าที่ถอดแผ่น Filter ออกมาทำความสะอาด พบว่าไม่ค่อยสกปรกมากเท่าไหร่ เนื่องจากห้องประชุมของเราสะอาดมาก

   2. การปรับโฟกัส (Focus Ring) และการปรับขนาดภาพ (Zoom Ring) ทั้ง 2 ระบบนี้เป็นแบบ Manual

       ในการตรวจเช็คเครื่องทุกครั้ง จะต้องทำการตรวจทั้ง 2 อย่างนี้เสมอ โดยเฉพาะการปรับโฟกัส เพราะมีความคลาดเคลื่อนอยู่เล็กน้อย ผมสังเกตุน่าจะเป็นเพราะแอร์เครื่องใหญ่ ตอนทำงานอาจจะมีการสั่นสะเทือนของพื้น ทำให้ Focus Ring มีการขยับหรือเคลื่อน แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ โดยประมาณ 1 – 2 เดือน จะเคลื่อนแค่เล็กน้อยเท่านั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหาอะไร

สุดท้ายก็เป็นสเปคของเครื่องตัวนี้ครับ

2 thoughts on “รู้จักอุปกรณ์โสตฯในห้องประชุม (ตอนที่1 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์)

  • อ่านแล้วดีใจจัง พี่ปองน่าจะทำเองได้แล้วเพราะทั้งภาพทั้งข้อความเข้าใจง่ายเป็นขั้นเป็นตอน … รบกวนพิมพ์แล้วเก็บไว้ที่โต๊ะบรรยายด้วยค่ะ เยี่ยมมากน้อง!

  • ฝากทำ Flow chart เพิ่มด้วย นำเสนอเป็นส่วนแรก ก่อนรายละอียดข้างต้น

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร