การประยุกต์ใช้ Cloud computing เพื่อพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

12 August 2013
Posted by Anirut Jaklang

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ  (Cloud computing)  เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ใช้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชั่นและเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น (Danielsom, Krissi (2008-03-26), “Distinguishing Cloud from Utility Computing”, Ebizq.net.)
Cloud Computing   คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โอยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟแวร์จะร้องขอให้ ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลด จำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร
นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing มีดังนี้
ความต้องการ (Requirement) คือ โจทย์ปัญหาทู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมลผล โปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตรยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังงานประมวลผล สำหรับสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน ความยาว 2 ชั่วโมง ให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคาที่ถูกที่สุดในโลก แต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล หรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เข่น RAM), Storage (เช่น Harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากรและในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Cloud Computing แล้ว เราจะใช้คำว่าบริการ แทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (Operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (Requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ
สำหรับ (Cloud Computing) แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ จากนั้นบริการ ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ
Cloud Computing เป็นแนวคิดของ OS ที่ไม่ต้องติดตั้งในเครื่อง หรือก็คือ ออนไลน์ตลอดการทำงาน เป็นแนวคิดที่ใช้พัฒนา Google Chrome OS พัฒนาจากบราวเซอร์ที่ชื่อ Google Chrome ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันคอนเซ็ปของ Chrome OS เน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้ Google ต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่า OS ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่อืดเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่เข้าไป เรียกได้ว่าความเร็วเครื่องเหมือนตอนเปิดครั้งแรกเลยครับที่เป็นเช่นนั้นเพราะโปรแกรมมันไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง แต่ติดตั้งไว้ในเซิร์ฟเวรอร์ครับ ซึ่งนี่เป็นคอนเซ็ปของ Cloud Computing นั่นเอง
Cloud Computing คือแนวคิดของ OS ที่ใช้พื้นฐานของ Web-base ในการทำงาน ข้อเสียของมันคือ ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ก็แทบไม่ต่างจากเศษเหล็กเลย แต่ข้อดีคือ มันติดตั้งตัวเองเร็วมาก ไฟล์น้อยมากและเบามาก
Cloud Computing in Thailand
ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีนักพัฒนาหลายคนได้พัฒนาระบบบน Cloud Computing แล้วซึ่งส่วนมากเป็น Application ที่ใช้สำหรับคนทั่วโลก ไม่ได้เน้นเฉพาะคนไทยเป็นหลัก โดยปัญหาหลักคือ Bandwidth ของไทยที่ไปต่างประเทศนั้นน้อยกว่า Bandwidth ในประเทศรวมทั้งราคา Bandwidth ต่างประเทศแพงกว่า Bandwidth ในประเทศหลายเท่า ดังนั้นผู้ให้บริการประเภท Web service ที่มีลูกค้าเป็นคนไทยจึงยังไม่สนใจใช้บริการ Cloud Computing จากต่างประเทศ
ส่วนการให้บริการ Cloud Computing ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการประเภทนี้ แต่มีหลายองค์กรที่เริ่มศึกษาและเริ่มนำมาใช้ในองค์กรก่อน หรือเรียกได้ว่าเป็น Private Cloud
 Cloud Computing ถูกนิยามว่า คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องพีซี และเครื่องแอปเปิล หรือมองอีกมุมหนึ่ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่อาจมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ ก็เพื่อจะดึงพลังในการประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมาประสานกัน เพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ ที่แต่เดิมอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์คุณภาพสูง ต้นทุนมหาศาล แต่กับเทคโนโลยี Cloud Computing แล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุน และหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดมาทำงานร่วมกันแทน ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอีก คือ
* Cloud Provider หมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud
* Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud
สำหรับ Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบหลังบ้านจะต้องทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากรอะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ จากนั้นบริการก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูกจัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
ในปัจจุบันเราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค Email, และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่าน Group และ Web board รวมไปถึง blog       ส่วนตัวและ Social network อย่าง Hi5 หรือ         Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่าน Flickr แชร์วีดีโอผ่าน Youtube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งาน application ต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆ ไว้ให้อยู่ใช้มามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Dog ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google apps ที่รวม application ต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและ  application ต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือนเป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาในที่สุดและตัวอย่างความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว ในกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการ
เทคโนโลยี Cloud Computing ก็เป็นอีกวัตกรรมหนึ่งแห่งโลกสารสรเทศ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจ  และอยู่ในช่วงเริ่มต้น พร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาลภายในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่สำคัญเรื่องของ Cloud Computing นี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนในเรื่องของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล ที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังมีการพัฒนา เพื่อสร้างวงจรเชื่อมต่อความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลต่างๆ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจ Cloud Computing อยู่ในสภาพของ “เสือติดปีก” พร้อมทะยานขึ้นเป็นดาวรุ่งแห่งโลกไอซีที การทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยี Cloud Computing และรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงกลายเป็นเรื่องที่มากกว่าคำว่าจำเป็น

ข้อดี ข้อเสีย
  1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
  2. ลดความเสี่ยงจาการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
  3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
  4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็งสูง
  5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
  1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่ หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
  2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
  3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ

 
การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการศึกษา
แนวคิดเรื่อง Social Network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฏให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร แต่ปัจจุบันคำว่า Social Network จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
Social Network จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารกันได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซด์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท Social Network เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไรนอกจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อความสนุก เพลิดเพลิน บันเทิงแล้วเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำใช้เพื่อการศึกษาได้
ทวิตเตอร์ Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (Tweet – เสียงนกร้อง)
ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมลล์, เอสเอ็มเอส, เมสเซนเจอร์ หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือสหัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอานาจักร
ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน
จากการจัดอันดับของเครื่องมือสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้

  1.  ทวิตเตอร์ทำให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายใปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
  2. ทวิตเตอร์ช่วยทำให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการสนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี
  3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทำให้ได้รับข้อมูลไม่ยาวเกินความจำเป็น
  4. มีแอพที่ทำให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิตเตอร์โดยอัตโนมัติ

การประยุกต์ใช้งาน Youtube เพื่อการเรียนการสอน
Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวีดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยทำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวีดีโอ ซื่งซูทูบมีนโยบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ใช้จะสามารถใส่ภาพวีดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวีดีโอให้คนอื่นดูด้วย แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวีดีโอที่ผู้ใช้คนอื่นๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้ แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (Youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว
แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดของยูทูบขึ้น ที่เรียกว่า “ยูทูบสำหรับโรงเรียน” หรือ (Youtube for Schools) เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อหาแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกัยภาคีด้านการศึกษากว่า 600 แห่ง เช่น TED, Smithsonian เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้ , Steve Spangler แหล่งผลิตเกมส์และของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือ Numberphile ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดการแบ่งเนื้อหากว่า 300 ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น
Youtube สำหรับโรงเรียน

1. กว้างขวางครอบคุม

ประโยชน์ของ Youtube สำหรับโรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวีดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก Youtube EDU วีดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ Youtube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน

2. ปรับแก้ได้

สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYoutube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์สิสต์วีดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน

3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน

ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวีดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และดูได้เฉพาะวีดีโอ Youtube EDU และวีดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวีดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวีดีโอ Youtube EDU เท่านั้น

4. เป็นมิตรกับครู

Youtube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วีดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไปและจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสเหล่านี้สร้างขึ้น โดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง
การประยุกต์ใช้งาน Facebook เพื่อการเรียนการสอน
เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสำพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอนระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
จากการค้น “เฟสบุ๊กเพื่อการศึกษา (Youtube for Education)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการ และจากการค้น “ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟสบุ๊ก (Learning Center on Facebook)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟสบุ๊กได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 เพียร์สัน ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ2000แห่ง สรุปได้ว่า ครุผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟสบุ๊กในด้านส่วนตัว และครูผู้สอน ร้อยละ30 ใช้เฟสบุ๊กในด้านวิชาชีพ เว็บ พีซีเทคแม็กกาซีน ได้อ้างถึงเหตุผล 4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

  1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เฟสบุ๊กในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟสบุ๊ก
  2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
  3. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มบนเฟสบุ๊ก
  4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เฟสบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพริเคชั่น เพื่อการศึกษามากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น

  1. ไฟลล์ (Files) สำหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน
  2. เมอะควิซ (Make a Quiz) สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน
  3. คาเลนเดอร์ (Calendar) สำหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ
  4. คอร์ส (Course) สำหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน

การพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ : Development of an Adaptive Tutoring System (ATS)
งานวิจัยเป็นการนำเสนอรูปแบบและวิธีการพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมเสริมในกระบวนการเรียนการสอนของวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมด สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยระบบจะทำการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนได้ด้วยตนเองขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล  หลักการทำงานของระบบใช้แนวคิดของระบบช่วยสอนแบบอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ขั้นตอนการทำงานของระบบเหมือนกับรูปแบบการเรียนแบบปกติทั่วไป และกรณีที่ค่าระดับความสามารถของผู้เรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะทำการนำเสนอบทเรียนเสริมพิเศษเพิ่มเติมขึ้น
E – portfolio
E – portfolio เป็นระบบการบันทึกผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตาม P{D (Position Description) หรือตามแผนปฏิบัติการ ของรายบุคคลหรือของหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแล สามารถกำกับติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงานได้
E – portfolio เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเก็บรักษาเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสนใจอื่นๆ รวมไปถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน การทำงานหรืออาจจะเป็นทักษะต่างๆ ของตัวเราเองและที่สำคัญสามารถนำภาพมาใส่เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เห็น
การสร้าง E – portfolio ขึ้นมานั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ให้บุคคลอื่นได้ทราบและได้รู้
E – portfolio เป็นพื้นทีส่วนตัวที่สามารถออนไลน์ได้ เพื่อสนทนากับบุคคลทั่วไป และสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ
กระบวนการของการสร้าง E – portfolio เป็นมากกว่าการเก็บข้อมูล เพราะมันจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีคิดของตนเองว่ามีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถนำเสนอให้บุคคลอื่นได้ทราบ
E – portfolio มักจะรวมถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. พื้นที่จัดเก็บที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้
  2. พื้นที่สนทนาที่สามารถเห็นการสื่อสารได้
  3. พื้นที่นำเสนอซึ่งสามารถกรองและจัดเรียงข้อมูลที่จะนำเสนอได้

E – portfolio เป็นระบบดิจิตอลหรือระบบออนไลน์ที่ข้อมูลสามารถเกิดการสูญเสียได้ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน แต่เพื่อให้ E – portfolio ไม่เกิดการสูญเสียข้อมูลหรือสูญหายไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นหรือมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เป็นประจำ ซึ่งสามารถทได้ง่ายเพียงแค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ตเท่านั้นเอง
สาเหตุการสร้างผลงานทาง E – portfolio

  1. เพื่อช่วยเตรียมเรซูเม่หรือการฝากเรซูเม่เพื่อให้ผู้อื่นสนใจเข้ามาอ่าน
  2. เพื่อเก็บบันทึกของการเรียนรู้ของผู้ทำในเรื่องต่างๆ เพื่อต้องการจะสื่อสารถึงบุคคลอื่น

E – Tutor
E – Tutor ถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบใหม่ ที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของบุคคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกเวลาและสถานที่ในการเรียนได้ตามสะดวก โดยยังคงได้เรียนรู้เนื้อหาของหลักสูตรต่างๆอย่างครบถ้วน เช่นเดียวกับหลักสูตรอบรมในห้องเรียน รวมทั้งได้ทดลองทำข้อสอบในสถานการณ์เหมือนจริง พร้อมการแนะแนวทางการเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมสูงสุดในการเข้ารับการทดสอบ
E – Tutor คือ การเรียน e-Learning รูปแบบพิเศษ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมสูงสุดก่อนการทดสอบใบอนุญาต ซึ่ง e-Tutor จะมีลักษณะสำคัญดังนี้
– การเพิ่มตัวอย่างข้อสอบไว้ในตอนท้ายของบทเรียน
– การจัดแบ่งข้อสอบเป็นหมวดตามวัตถุประสงค์
– การเฉลยพร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด และการ Link ไปยังเนื้อหาในบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
– การรายงานผลการสอบตามหมวดการทดสอบ พร้อมการเทียบคะแนนสอบที่ได้รับกับเกณฑ์การผ่านมาตรฐาน
ระบบคลังข้อสอบ (item bank)
ธนาคารข้อสอบหรือคลังข้อสอบ คือสถานที่หรือแหล่งเก็บรวบรวมข้อทดสอบที่มีการบริหารจัดเก็บและการใช้อย่างมีระบบและธนาคารข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ คือสถานที่หรือแหล่งเก็บรวบรวมข้อทดสอบที่มีการบริหารจัดการจัดเก็บและการใช้อย่างมีระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
ระบบคลังข้อสอบ เป็นการรวบรวมข้อสอบที่ได้ออกไปในแต่ละวิชาในแต่ละปี มารวมเข้าไว้ด้วยกันที่จุดเดียว มีการรักษาความปลอดภัยของข้อสอบไม่ให้รั่วไหลไปยังผู้ที่ไม่ประสงค์ดี โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลคลังข้อสอบอัตโนมัติ โดยไม่ให้ผู้สอบเห็นข้อสอบทุกรูปแบบ ตลอดตั้งแต่ขั้นตอนการรับข้อมูลดิบจากผู้ออกข้อสอบถึงการเลือสุ่มข้อสอบอัตโนมัติ ระบบคลังข้อสอบที่ดีนั้น ควรมีจำนวนข้อสอบที่ใช้จริงประมาณ 5 เท่า
องค์ประกอบของคลังข้อสอบ
สิ่งที่คลังข้อสอบจัดเก็บและมีไว้เพื่อการบริการการวัดผลการเรียน ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ง่ายๆ ไปจนถึงระบบที่ก้าวหน้า ดังต่อไปนี้

  1. ข้อทดสอบทุกรูปแบบ
  2. เฉลยข้อสอบทุกรูปแบบ
  3. ข้อสอบซึ่งจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ
  4. ข้อสอบซึ่งวิเคราะห์แล้วมีความเที่ยงตรง มีความเชื่อถือได้ มีอำนาจจำแนก มีค่าวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ
  5. ข้อสอบซึ่งจำแนกตามคุณลักษณะของข้อสอบแต่ละข้อ
  6. ข้อสอบกลางและข้อสอบมาตรฐานในแต่ละวิชาแต่ละประเภทของการทอสอบ
  7. ข้อทดสอบจำนวนมากในแต่ละเรื่องที่ต้องการทดสอบ
  8. รวบรวมคำถามประเภทคำถามสำหรับปากเปล่า คำเขียนตามคำบอก หัวข้อโครงการและหัวข้อทดลอง
  9. ชุดของข้อสอบประเภท Sample-free test

ประเภทของคลังข้อสอบ
คลังข้อสอบมีการแบ่งประเภทตามความเหมาะสม โดยแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. คลังข้อสอบแบบง่าย เป็นแบบที่รวบรวมที่มีอยู่แล้วไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็น Test Pool หรือเป็น Item Pool การเก็บรวบรวมแบบง่ายๆนี้ อาจจะจัดไว้อย่างเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบก็ได้ แต่ให้เป็นที่รู้กันว่าข้อสอบเก่าๆที่เคยมี ที่เคยรวมกันไว้แล้วจะรวมกันอยู่ที่ใดที่หนึ่ง อาจนำมาใช้ซ้ำหรือปรับปรุงสร้างข้อสอบใหม่ได้สะดวก
2. คลังข้อสอบแบบพัฒนาการสร้างคลังข้อสอบแบบพัฒนาขึ้นในโรงเรียนนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาทางด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษาของโรงเรียนค่อนข้างชัดเจน ยังเป็นที่รวมของข้อทดสอบต่างๆ แต่ได้มีการจัดระบบไว้เป็นอย่างดีสอดคล้องกับหลักวิชาการด้านวัดผลและประเมินผลการศึกษา
3. คลังข้อสอบแบบก้าวหน้า คลังข้อสอบแบบก้าวหน้านี้เริ่มด้วยการวางระบบงาน มีการจัดองค์กร มีสายงานรองรับในลักษณะที่เป็นศูนย์ทดสอบขนาดใหญ่ที่ชัดเจน มีผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานในส่วนต่างๆ ของคลังหรือศูนย์ทดสอบอย่างสมบูรณ์
ประโยชน์ของคลังข้อสอบ

  1. ช่วยและอำนวยความสะดวกแก่ครู ในการเลือกข้อสอบที่เคยใช้แล้วมาใช้ใหม่ หรือนำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  2. สำหรับคลังข้อสอบที่พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น คือการวิเคราะห์ข้อสอบที่มีอยู่แล้ว มีการจำแนกหมวดหมู่ ตามการวัดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้
  3. สำหรับคลังข้อสอบที่เป็นระบบที่ก้าวหน้ามากจะมีข้อสอบในลักษณะที่เรียกว่า Sample-Free Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่พัฒนาไปจนถึงขั้นที่ระดับความยาก ง่าย
  4. การมีคลังข้อสอบขึ้นในโรงเรียนแสดงถึงความก้าวหน้าทางด้านการวัดผลและการประเมินผลการศึกษาของโรงเรียน
  5. การมีคลังข้อสอบขึ้นในโรงเรียนทำให้มีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบระดับมาตรฐานทางวิชาการ
  6. การจัดให้มีคลังข้อสอบในโรงเรียนจึงเป็นบันไดสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานการทดสอบการเรียนการสอนให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  7. ช่วยลดการสูญเสียแรงงานซ้ำซ้อนในการจัดทำข้อสอบใหม่ทั้งหมด
  8. อำนวยความสะดวกให้กับครู-อาจารย์ที่จะใช้แบบทดสอบในกรณีฉุกเฉิน
  9. ช่วยกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ครู-อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาข้อสอบหรือแบบทดสอบให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นได้อย่างมากมาย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร