SBS โรคจากการทำงานในตึก
เมื่อคืนระหว่างรอเวลาประมาณสักสองทุ่มดีๆ ก็แน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาเฉยๆ คนที่บ้านโทรมาเตือนว่าระหว่างรออย่าอดข้าวให้กินข้าวไปก่อน อย่าอยู่หน้าคอมมากเดี๋ยวสายตาจะเสีย ก็รับคำไปแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามสักข้อ กรรมเลยตามทัน
วินิจฉัยตัวเองว่าวันนี้คงนั่งหน้าเครื่องนานไปหน่อยเพราะต้องตะลุยเขียน SAR ที่โก๊ะถึงขนาดส่งไปคนละเรื่องเดียวกันต้องแก้ไขกันแบบด่วนจี๋ พร้อมกับ edit ต้นฉบับแบบรวดเดียวจบ 5 บทความ เพราะความที่ได้รับคำสั่งว่าต้องด่วนที่สุด งานแบบนี้ต้องใช้สมาธิค่อนข้างสูงและต้องตั้งใจอยู่กับงานตรงหน้า แต่ด้วยความที่งานของเรามักมีโน่นและนี่ จึงทำให้หลุดไปบ้าง แต่การที่หลุดนั้นมีข้อดีคือทำให้เราได้เปลี่ยนอิริยาบท ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรกระทำสำหรับคนทำงานในออฟฟิศ
พักนี้คนใกล้ๆ ตัวมักผจญกับโรคต่างๆ ว่าจะไปหาซื้อมะรุมมาแจกจ่ายกัน แต่พี่บอกว่าให้กินแกงส้ม ให้เด็ดยอดมาจิ้มน้ำพริกแทนดีกว่า ตอนนี้ที่บ้านปลูกเริ่มปลูกไว้้หลายต้นอยู่เหมือนกัน หรือจะให้หมอยาอย่างลุงเพชรปลูกไว้หลังห้องสมุดดีนะ
พอเริ่มมีอาการนี้จึงหายใจลึกๆ เปลี่ยนอิริยาบท และทำท่าโยคะแบบเบสิก ซึ่งได้ความรู้มาจากลูกตอนที่เรียนกับป้าอู่ ตอนไปเวียดนามน้องแตนเล่นอยู่เหมือนกันบอกว่าฝึกตามหนังสือ วันนี้จึงไปหาอ่านบ้างตกลงว่าได้หนังสือมาสามเล่มคือ โยคะสำหรับหนุ่มสาว (น้อย) ส่วนอีกสองเล่มบังเอิญเห็นดูแล้วเข้าทีกะเอามาไว้ตรวจสอบสุขภาพตัวเองจึงหยิบติดมา ซึ่งสองเล่มนี้น้องอ้อเคยแนะนำให้อ่าน กว่าจะออกจากห้องสมุดก็โน่นสามทุ่ม และกว่าจะตะเวนรับเครือญาติก็เกือบสีุ่ทุ่ม ถึงบ้านอาบน้ำตาสว่าง แต่เห็นหนังสือแล้วเสียดายหากไม่ได้อ่านจึงตลุยอ่านทั้งสามเล่ม นอนดึกทำให้หลับลึกพอ ตื่นมาจึงสบาย
เล่มโยคะที่ยืมไว้ เอาไปเปรียบเทียบกับของที่บ้าน ส่วนอีกสองเล่มอ่านแบบจริงจัง เล่มแรกคือ โรค Office เรื่องที่คนทำงานออฟฟิศคิดไม่ถึง กับ SBS = Sick Building Syndrome = โรคจากการทำงานในตึก ผู้เขียนคนเดียวกันคือ ดร.สร้อยสุดา เกสรทอง ทั้งสองเล่มไม่ได้พูดไปถึงโรคเลย แต่จะพูดถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราในที่ทำงานด้วย อ่านแล้วนึกถึงความเสี่ยงอย่างไรไม่รู้ คณะกรรมการความเกสี่ยงฯ งานอาคารสถานที่ฯ รวมถึงหน่วยงานที่ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ที่สอบถามกันทุกปี แต่ไม่เห็นมีอะไรขึ้นมา นอกจากรายงานเป็นเล่มๆ จนไม่เข้าใจว่าจะทำไปกันทำไม …ขอได้ลองไปอ่านดูเผื่อจะทำให้หน่วยงานของเราห่างจากความเสี่ยงและมีสภาพแวดล้อมของที่ทำงานที่ีดีขึ้น
แต่ดีคงเริ่มที่ตัวเราอีกนั่นแหละ ตอนนี้จึงพยามยามกำจัดกระดาษบนโต๊ะ และฝุ่นให้ออกไปก่อน นึกถึง 5 ส. อยู่เหมือนกันนะเนี่ย
ลองเช็คดูว่า หากตัวเรา … ใช้คอมพิวเตอร์มากว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ปวดคอ ปวดไหล่ ข้อมือเป็นประจำ เข้ามาที่ทำงานแล้วรู้สึกคัดจมูกเหมือนเป็นภูมิแพ้ รู้สึกเบื่อที่ทำงาน ต้องทำงานล่วงเวลาเป้นประจำ และมักนอนไม่หลับ คิดแต่เรื่องงาน หากมีคำตอบว่า “ใช่” และจะแก้ไขหรือช่วยกันอย่างไร หนังสือสองเล่มนี้พอจะช่วยให้คำตอบได้
3 thoughts on “SBS โรคจากการทำงานในตึก”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
พี่ปองเขียนแซงหน้าไปซะแล้ว ที่จริงว่าจะเขียนเรื่อนี้เหมือนกัน หลังจากที่เห็นฝ่ายวิเคราะห์ฯ ทำ 5 ส ที่สนใจเพราะว่า ตัวอ้อเองบอกรับวารสารไว้อ่านที่บ้าน แล้วมีวารสารอยู่เล่มหนึ่งเขียนถึงเรื่องโรคนี้ แล้วไ้อ้อาการต่างๆ ที่บอกไว้ว่า ถ้ามีอาการแบบนี้ๆๆ แล้วเป็นโรค SBS นั้นมันเหมือนเราเด๊ะๆ ซึ่งแม้แต่น้องเอ๋ก็บ่นๆ อยู่เหมือนกัน แต่ที่จริงแล้วอ้อรู้จักโรคนี้มาสักพักหนึ่งแล้ว ตอนนั้นยังไม่ดังมาก ที่รู้จักเพราะ ตอนนั้นเพื่อนซี้ปึ๊กที่เรียนอยู่ที่จุฬาฯ กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลกระทบของการออกแบบอาคารที่มีต่อบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน” จึงมักจะกริ๊งกร๊างให้ช่วยหาข้อมูลให้ จึงไปเจอบทความเกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งเรื่องนี้คิดว่า กรรมการความเสี่ยงน่าจะเก็บไว้เป็นข้อมูลได้
เพราะซาร์ SAR แท้ๆ เลย ที่ทำให้น้องต้องเป็นฉะนี่ งานด่วนนี่มันทำให้เรารวนกันหมดเลยนะ พักผ่อนบ้างนา อายุยังน้อยๆๆๆๆๆๆ อยู่่นะจ๊ะ สำหรับพี่หน่อย นาๆ เป็นสักที
ดีจังพี่หน่อยว่าเราอายุยังน้อยยยยย นั่งหน้าคอมนานๆ ให้ใช้หลักการ 20/20/20 คือ ทุก 20 นาที พัก 20 วินาที และมองออกไปไกล 20 ฟุต ขอบคุณค่ะสำหรับความห่วงใย