เรื่องของตะกร้ากับห้องสมุด
อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ เรื่องตะกร้าจริงๆ บางคนอ่านแล้วอาจคิดว่า เอ๊ะ ตะกร้าเกี่ยวอะไรกับห้องสมุด อันนี้ต้องขอบอกว่า มันเป็นบริการอย่างหนึ่งของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ เรื่องมีอยู่ว่า ทางหอสมุดของเรามีตะกร้าไว้ให้บริการใส่หนังสือที่ผู้ใช้เลือกหยิบมาจากชั้น เพื่อจะนำไปยืมที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน เนื่องจากว่า หอสมุดของเราเป็นอาคาร 4 ชั้น ไม่มีลิฟท์ไว้ให้บริการ เคาน์เตอร์ยืม-คืนของเราอยู่ที่ชั้น 1 หนังสือที่ผู้ใช้สามารถยืมได้นั้นจะให้บริการที่ชั้น 2 (หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์ ล้วนเป็นเล่มใหญ่มากๆ หรือไม่ก็หนักและเป็นปกแข็ง) ชั้น 3 (เป็นหนังสือสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาษาไทย ก็เป็นที่ฮอตฮิตของผู้ใช้ โดยเฉพาะ หมวด PL และ หมวด L) ชั้น 4 (เป็นหนังสือสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาษาต่างประเทศ และนวนิยาย ก็ฮิตติดอันดับ) เป็นอันเข้าใจกันว่า ผู้ใช้บางคนก็จะยืมหนังสือคราวละมากๆ เนื่องจากหอสมุดไม่มีลิฟท์ ผู้ใช้ก็ต้องหอบหนังสือที่ยืมลงมาที่ชั้นหนึ่งเพื่อมายืม ซึ่งหากหอบไม่ไหวก็อาจตัดสินใจไม่ยืมบางส่วน เอาไปเท่าที่เอาไปได้ ดังนั้นหอสมุดจึงหาวิธีการที่จะช่วยผู้ใช้ให้สามารถนำหนังสือเล่มที่อยากยืม จะมากจะน้อยตามที่ต้อง และยังสามารถช่วยเพิ่มสถิติการยืมทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดได้อีกทางหนึ่ง บริการนี้เราเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2552 หลังจากให้บริการมาสักพัก พบเห็นผู้ใช้หิ้วตะกร้าไปเลือกหนังสือจากชั้น ดูแล้วเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกแปลกตาแต่ชื่นใจ เป็นบรรยากาศสบายๆ สไตล์หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
งานนี้ไม่ต้องมีคำบรรยายใต้ภาพ เห็นภาพแล้วรู้เอง
2 thoughts on “เรื่องของตะกร้ากับห้องสมุด”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
เห็นรูปคนหิ้วตะกร้าระหว่างชั้นหนังสือแล้ว สะใจจริงๆ อย่างนี้น่านำไปลงหนังสือพิมพ์ว่า คนกำลังเลือกอะไรลงในตะกร้า จากที่ใด คนถ่าย ก็ลูกอีช่างถ่ายจริงๆ โดนเลยล่ะ แอบถ่ายหรือเปล่า ได้บรรยากาศจริงๆ หากมีรูปเยอะแล้ว น่านำมาจัดแสดง แล้วประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการลงคะแนนเลือกรูปที่เจ๋ง เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้หิ้วตะกร้า ฮ่าๆๆ คิดไปเรื่อย (ก็ดีกว่าไม่คิดนะ) ขอบคุณอ้ออีกครั้ง ที่จัดการเรื่องนี้ดังข้างต้น
ขอบคุณอ้อที่เขียนเรื่องนี้ เพราะหากันว่าจะให้ใครเป็นเขียนดีน้า… เรื่องตะกร้าเป็นผลพลอยได้จากการสัมมนาบุคลากรที่อุษาวดีที่ผ่านมา ส่วนท่านใดที่เสนอก็ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ เรื่องนี้เป็นความดีงามของการระดมสมองแบบไม่ระบม