CSS (Cascading Style Sheets)

2 August 2013
Posted by Chanpen Klomchaikhow

วันหนึ่งเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2556 ได้มีการแซวกันว่าจะมีการอธิบายยังไงให้เข้าใจ CSS ได้อย่างง่ายๆ แต่พอเอาเข้าจริงจะให้บอกกันให้เข้าใจง่ายๆ มันก็ชักจะไม่ใช่เรื่องง่ายซักเท่าไหร่ จะว่าไปเจ้า CSS ก็น่าจะคล้ายๆ กับการแต่งตัว ที่มีชุดสำเร็จรูปไว้แล้วว่า จะแต่งยังไงให้มันเข้าชุด เข้าเซ็ตกัน อย่างดูดี มีสไตล์ (มั้ง)
ทีนี้ลองมาดูกันว่า CSS ที่เค้าพูดๆ กัน มันคืออะไรกันแน่…
CSS (Cascading Style Sheets ) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลข้อมูลหน้าเว็บเพจ เป็นมาตราฐานหนึ่งของ W3C ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการปรับแต่งหน้าเอกสารเว็บโดยเฉพาะ การใช้งาน CSS จะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ HTML เดิม ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก CSS มีความสามารถในการปรับแต่งการแสดงผลข้อมูลหน้าเว็บเพจที่ดีกว่า HTML ….(นั่น…อ่านแล้วยิ่งเข้าใจยากเข้าไปซะอีก)
แล้ว CSS ทำอะไรได้บ้าง
– CSS สามารถกำหนดขนาดของ Font ได้ เมื่อผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของเราปรับขนาด Font ที่ Browser ของเขาที่ขนาดใดก็ตาม CSS ที่เรากำหนดไว้ก็ยังคงแสดงผลขนาดของ Font ตามขนาดที่เรากำหนดไว้เสมอ ทำให้เว็บเพจของเราไม่เปลี่ยนไปตามที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ปรับเปลี่ยน เพราะฉะนั้นหน้าตาของเว็บเพจของเราก็จะเหมือนที่เราได้กำหนดไว้ ไม่เปลี่ยนโฉม…
– CSS ทำให้การปรับปรุงเว็บเพจในส่วนของการแสดงผลทำได้รวดเร็วขึ้น เวลาแก้ไขหรือปรับปรุงทำได้ง่าย ไม่ต้องตามแก้ที่ HTML tag ทั้งหมด เพราะเราสามารถปรับปรุง แก้ไขการแสดงผลได้จากจุดเดียว แล้วทำให้หน้าเว็บเพจนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามที่แก้ไขได้
– CSS สามารถกำหนด Background ให้อยู่ในตำแหน่ง หรือให้มีรูปแบบตามที่เราต้องการได้
– CSS สามารถควบคุมการแสดงผลให้เหมือนหรือใกล้เคียงกันได้ในหลายๆ Browser
– อื่นๆ อีกมากมาย
การใช้งาน CSS ทำได้ยังไง

คำสั่งของ CSS ประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือ Selector, Property และ Value
– Selector ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบไปด้วย ชื่อ Class หรือชื่อ ID หรือชื่อ TAG HTML
– Property คือ คุณสมบัติในการจัดรูปแบบการแสดงผล โดยมีชื่อ Properties และตามด้วย Value เพื่อกำหนดค่าให้แก่คุณสมบัตินั้น และระหว่างชื่อ Properties กับ Value จะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย colon ( properties:value )
– Value เป็นค่าที่กำหนดให้กับ Property ต่างๆ เช่น color, font เป็นต้น
คุณสมบัติภายใน 1 Class จะมีได้มากกว่า 1 ตามที่เรากำหนด และ Properties ในแต่ละ Properties จะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย semi-colon ( ; ) และเราต้องเขียนคุณสมบัติของ CSS นั้นไว้ภายในเครื่องหมายปีกกา { …. } เท่านั้น
เราลองมาดูตัวอย่างของ CSS กันซักนิด
(ในที่นี้ยกตัวอย่าง CSS ของบล็อกหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ในส่วน Footer)

#footer a, #footer a:visited{
color: #ffffff;
}
#footer .left-col{
width: 240px;
float: left;
margin-left: 10px;
}
#footer .right-col{
width: 220px;
float: right;
padding-right: 10px;
padding-left: 10px;
background: url(images/footer-bg.gif) no-repeat;
}
#footer h4 {
font: normal 146%/100% “Trebuchet MS”, Tahoma, Arial;
color: #034f76;
margin: 10px 0px 5px;

 
ดูดูไปมันก็ไม่ง่ายซักเท่าไหร่ อาจทำให้ปวดหัวไปเลยด้วยซ้ำ แต่หากเข้าใจก็คงทำได้ไม่ยาก แต่จะว่าไป ถ้าให้เขียน CSS ขึ้นมาเองทั้งหมดก็คงไม่ไหว เพราะเราก็ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ หรือคนที่มีความเข้าใจใน CSS อย่างลึกซึ้งขนาดนั้น  😉
 
ที่มา…ที่ไป มาจากหลายแหล่ง ทั้งหนังสือ ทั้งบทความ ทั้งเว็บไซต์ … ขออภัยที่ไม่สามารถเอ่ยนามแหล่งต่างๆ ได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร