เรียนรู้ภาษาเวียดนามเบื้องต้นกันเถอะ
เหลือเวลาอีก ๕๗๔ วัน ใกล้จะเปิดเสรีประชาคมอาเซียน อยากรู้ว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน มีภาษาพูดกันอย่างไร ได้อ่านหนังสือเวียดนามในชีวิตประจำวัน (Vietnamese in daily life) เขียนโดย พิมเสน บัวระพา และ เจิ่น ลี้ เล เนื้อหาของหนังสือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเสียงในภาษาเวียดนาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสียงและระบบเสียง เช่น เสียงต้น เสียงรอง เสียงสำคัญ เสียงท้ายวรรณยุกต์ และลักษณะการปรากฏในโครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยสื่อความหมาย
ส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนเนื้อหาที่ได้คัดสรรค์มาจากบทสนทนาและข้อความต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งได้แทรกคำศัพท์และไวยากรณ์ไว้ในตัว พร้อมทั้งโยงไปถึงเรื่องเสียงและระบบเสียงของภาษาไทยมาเปรียบเทียบ ให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนภาษาใหม่ ทำให้เข้าใจและแสดงออกทางทักษะในภาษาที่สองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อ่านแล้วก็ยังสงสัย เพราะไม่เหมือนภาษาไทย สิ่งที่ยากคือ ระบบการออกเสียงในภาษาเวียดนาม ส่วนอีกเล่มที่ได้อ่านคือ ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสาร (Vietnamese for communication) เขียนโดย มนธิรา ราโท
มารู้จักภาษาเวียดนาม เวียดนามเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาของชาวเหวียด (Viet) หรือชาวกิง (Kinh) ภาษาเวียดนามเป็นภาษาในตระกูลเดียวกับภาษาตระกูลมอญ-เขมร และมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาในตระกูลไท ภาษาเวียดนามมาตรฐาน (ภาษาที่ที่พูดโดยชาวฮานอยและผู้คนในภาคเหนือของประเทศ) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียงในขณะที่ทางภาคใต้มี 5 เสียง
:lol:แต่เดิมนั้นชาวเวียดนามใช้อักษรจีนหรืออักษรฮั่น หรือ หาน (Han) ในเอกสารราชการและใช้กันในหมู่ผู้มีการศึกษา ต่อมาปัญญาชนชาวเวียดนามพยายามคิดประดิษฐ์อักษรของตัวเองขึ้นมาเพื่อถอดเสียงภาษาเวียดนาม แต่ชุดอักษรดังกล่าวก็ยังอาศัยตัวอักษรจีนอยู่นั่นเอง เพียงแต่เพิ่มสัญลักษณ์บางอย่างเข้าไปเพื่อที่คนจีนจะได้อ่านไม่ออก อักษรที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่าอักษรโนม (Nom) ซึ่งปรากฏพบมากในเอกสารและวรรณกรรมที่เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 อักษรก๊วกหงือ (Quoc Ngu) ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยกลุ่มผู้เผยแพร่คริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ผู้ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาทหลวง Alexandre de Rhodes ซึ่งได้เขียนพจนานุกรมภาษาเวียดนามเล่มแรกได้แก่ Dictionarum-Annamiticum, Lusitanum et Latinum (พจนานุกรมอันนาม (เวียดนา)-โปรตุเกส-ลาติน) แม้ว่าในระยะแรกการใช้อักษร อักษรก๊วกหงือถูกจำกัดอยู่แค่ในวงการศาสนาเท่านั้น แต่ในระยะต่อมา การเข้่ามาของลัทธิอาณานิคมฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้อักษณก๊วกหงือมีบทบาทในทางการเมืองการปกครองมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลัง ค.ศ. 1917 ที่ผู้ปกครองชาวฝรั่งเศสยกเลิกการสอบราชการแบบเดิมที่เน้นหลักคำสอนของขงจื้อและมุ่งเน้นความสามารถทางวรรณคดีและการแต่งโคลงกลอน การที่รัฐบาลอาณานิคมสนับสนุนให้ผู้ที่รู้ภาษาฝรั่งเศสและก๊วกหงือเข้าทำงานในระบบราชการมากขึ้นทำให้อักษรฮั่นเสื่อมความนิยมและหายไปในที่สุด โดยผู้คนจะเริ่มใช้อักษรก๊วกหงือกันแพร่หลายมากขึ้น และอักษรชุดนี้คือแบบแผนของตัวอักษรที่ใช้ในภาษาเวียดนามในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วข้อดีประการหนึ่งของอักษรก๊วกหงือ คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วต่างกับกตัวอักษรจีนที่ใช้เวลาศึกษากว่า ทั้งนี้เพราะอักษรก๊วกหงือใช้ตัวอักษรโรมันในการถ่่ายเสียงในภาษาเวียดนาม แต่จะเพิ่มสัญลักษณ์พิเศษบางตัวเพื่อบ่งบอกเสียงวรรณยุกต์และเสียงสระ
ดัวหนังสือในภาษาเวียดนาม
ตัวพิมพ์ใหญ่
A A A B C D D E E G H I K L M N O O O P Q R S T U V X Y
ตัวพิมพ์เล็ก
a a a b c d d e e g h i k l m n o o o p q r s t u v x y
การออกเสียง
a: อา a: อ๋า a: เอ๋อ
b: เบ่อ/เบ c:เก่อ/เซ d:เส่อ/เซ
d:เด่อ/เด e:แอ e:เอ
g:เก่อ h:เห่อ/ฮ๊าด i: อี (อีหงัน)
k:กา l:เหล่อ m:เหม่อ
n:เหน่อ o:ออ o:โอ
o:เออ p:เป่อ/เป q:เกว่อ/กวี
r:เหร่อ/แอเหร่อ s:เส่อ/แอ๊สสี่ t:เต่อ/เต
u:อู u:อือ v:เหว่อ/เว่
x:เส่อ/อิ๊กสี่ y:อี (อีส่าย)
หมายเหตุ : อักษร q ปรากฏคู่กับสระ u เสมอ
พยัญชนะ ภาษาเวียดนามมีพยัญชนะทั้งหมด 21 เสียง ได้แก่
b เทียบได้กับเสียง บ เช่น ba บา
c,k,q ก เช่น ca กา
ch จ (ระหว่าง จ-ช) เช่น cho จอ
d, gi ส เช่น do ซอ
d ด เช่น di ดี
g, gh ก (เสียงก้อง) เช่น ghi กี
h ห เช่น hai ฮาย
kh ค เช่น khi คี
l ล เช่น lan ลาน
m ม เช่น ma มา
n น เช่น nam นาม
nh ญ (เสียงขึ้นจมูก) เช่น nha ญา
ng, ngh ง เช่น nga งา
ph ฟ เช่น phi พี
r ซ/ร เช่น ra ซา/รา
s ซ เช่น sen แซน
t ต เช่น to ตอ
th ท เช่น thu ทู
tr จ เช่น tra จา
v ว (เสียงก้อง) เช่น vui วุย
x ซ เช่น xa ซา
พยัญชนะนำหน้า
ตัวเดี่ยว:
b c d d g h k l m n p q r s t v x
ตัวคู่
ch gh gi kh ng nh ph th tr
ตัวสะกด
c ch m n ng nh p t
สระ เสียงสระในภาษาเวียดนาม แบ่งเป็น – สระเสียงแท้
– สระแท้ 11 เสียงได้แก่
A อา na นา ma la
A อ๋า an อัน van san
E แอ me แม ve xe
E เอ me เม be che
I อี bi บี phi chi
O ออ no นอ cho lo
O โอ bo โบ to mo
O เออ co เกอ bo mo
U อู tu ตู phu bu
U อือ tu ตือ cu thu
– สระประสม 2 เสียง ได้แก่
ia, ya, ie เอีย chia เจีย tia bia
ua อัว chua จัว cua mua
ua เอือ chua เจือ mura xua
วรรณยุกต์
ภาษาเวียดนามาสำเนียงเหนือมีวรรณยุกต์ 6 เสียง ได้แก่
ชื่อเรียก เครื่องหมาย ระดับเสียง
1. ngang (งาง) – เสียงสามัญ
2. Huyen (เหวี่ยน) a กลางลง
3. hoi (ห่อย) a กลางขึ้นและต่ำลง
4. sac (ซัก) a กลางสูง
5. Nga (หงา) a หยุดกลางเสียงและสูงขึ้น
6. nang (หนัก) a ต่ำลงและหยุดท้ายเสียง
มาลองฝึกการพูดจาภาษาเวียดนาม
Chao/xin chao (ซิน จ่าว) สวัสดี
Cam on/cam on (กาม เอิน) ขอบคุณ
Xin loi (ซิน โหลย) ขอโทษ
Xin Moi (ซิน เหม่ย) ขอเชิญ
Chuc Ngu Ngon (จุ๊บ หงู งอน) ราตรีสวัสดิ์
Tam Biet (ตาม เบียด) ลาก่อน
Hen Gap Lai (แฮน กัพ ไล) ไว้พบกันใหม่
Back Co Khoc Khong (บั๊ก โก แคว คง ไว้พบกันใหม่
Toi Ten La (โตย เติน ลา) Kan ฉันชื่อ….กาญ…….
ลองฟังตัวอย่าง การพูดจา ภาษาเวียดนามได้ค่ะ และพูดตามอาจารย์โบค่ะ