ประกันคุณภาพ

ในเดอะแก๊งค์จะถามว่าเราตรวจประกันคุณภาพกันเมื่อไร คุณอ้อในฐานะที่เป็นตัวแทนกรรมการประกันคุณภาพฯ จะบอกว่า วันที่ไวพจน์ลาบวช … แม๊ลึกล้ำ
มีคนถามดิฉันมาชอบอะไรที่สุดในงานประกันคุณภาพ คนถามบอกว่าขอไม่ถามหรอกนะว่าชอบหรือไม่ เพราะกลัวคำตอบ ดิฉันตอบว่าสิ่งที่ชอบมากที่สุดคือ ชอบตอนที่กรรมการประเมินบอกว่าเราต้องปรับปรุงอะไร น่าจะไปคิดอะไรต่อ เพราะเป็นสิ่งที่สามารถนำพัฒนาต่อได้ เพราะเรามักคิดว่าเราดีแล้ว เก่งแล้ว ทำแล้ว ใช่แล้ว หรือหาเหตุผลให้กับตัวเองอยู่เนืองๆ หลงในกับดักอัตตา
อัตตา ที่ท่านรองฝ่ายกิจการนักศึกษา อ.สกุล บุณยทัต ย้ำนักย้ำหนา ตอนท่านพูดให้พวกเราฟังเมื่อการสัมมนาประจำปีที่ผ่านมาของพวกเรา พักหลังๆ อ่านหนังสือธรรมะบ่อยจำได้ว่าทางของการดับเรื่องอัตตา อย่างหนึ่งคือ ต้องอาศัยปัญญา
เนื่องจากปัญญาของเรามีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องเปิดใจ (นึกถึงเรื่องมนุษย์ที่แท้ กับเปิดหัวใจ –การฝึกการุณยจิตในทุกชีวิตของทุกวัน ที่านรองฝ่ายกิจการนักศึกษา อ.สกุล บุณยทัต เล่าให้ฟัง) ฟังจากเพื่อน หรือกัลยาณมิตร ในที่นี้คือเป็นการให้คำจำกัดความของกรรมการตรวจประกันคุณภาพทุกท่าน
ดิฉันจึงเป็นโรคจิตหน่อยๆ จะรู้สึกดีใจเมื่อได้ข่าวว่าปีนั้นๆ ได้ข่าวว่ามีกรรมการแบบเข้มข้นๆ มาตรวจเรา ส่วนคะแนนตั้งไว้เท่าไร ได้เท่าไร แทบไม่อยู่ในความทรงจำ และมักไม่เข้าใจหากมีคนถาม หรือคนบอกว่า เราตก หรือ เราได้ แบบเพียงสั้นๆ
สองสามปีก่อนมีเพื่อนรุ่นน้องบอกว่าตัวเค้าเป็นผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ได้คะแนนเต็ม 5 ดิฉันตอบกลับไปว่าดีใจใช่ไหม ส่วนที่จะถามต่อคือ เมือได้ 5 แล้วคืออะไร แสดงว่าดีทุกอย่างไม่มีปัญหา หรือดีเรื่องการตอบโจทย์ด้วยเอกสาร แล้วเมื่อได้คะแนนเต็มจะทำอย่างไร … จำไม่ได้ว่าคำตอบของเค้าคืออะไร รู้แต่ว่าเค้าคงโมโหข้าพเจ้ายิ่งนัก 5555 ตอนหลังๆ เลยไม่กล้าไปถามใครแบบนี้อีก
เวลากรรมการพูดดิฉันชอบฟังแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue) ก่อนหน้่านี้ไม่นานเพื่อนแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง Dialogue Gap เนื่องจากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนามาก สติปัญญามีจำกัดจึงได้แต่อ่านสารบัญและให้เพื่อนเล่าให้ฟัง ระหว่างฟังไตร่ตรอง คิดตาม ในประเด็นที่เรามองไม่เห็น เก็บสิ่งที่เราสงสัยหากจะต้องทำงานต่อไป
ดิฉันถามไปสองข้อที่เกี่ยวข้องกับการประกันในฐานะที่เป็นคนทำงานว่า
1. รายงานการดำเนินการ ในบางอย่างไม่สามารถเห็นผลได้ในปีนั้นๆ เราสามารถรายงานในลักษณะให้เห็นเป็นพัฒนาการต่อจากปีที่ผ่านมาได้หรือไม่ (ได้)
2. การวัดความพึงพอใจในรูปแบบเดิม เป็นการวัดโดยใช้แบบสอบถามในภาพรวม ซึ่งการประมวลผลไม่ทันการณ์ต่อการนำมาใช้ หากเราใช้รูปแบบอื่นๆ ในบางประเด็นที่สามารถได้ผลเร็ว เช่น focus group ได้หรือไม่ (ได้)
ส่วนประเด็นอื่นๆ มีมากมายทั้งเรื่องเก่า/ใหม่/บางคนไม่เห็นด้วย/เห็นด้วย ฯลฯ ล้วนน่าศึกษา และเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เหนื่อยเมื่อปลายมือ
ดีใจนะอย่างน้อยที่นี่ยังมองเห็นงานที่พวกเราพากเพียรสร้างสรรค์ ทำกัน ที่สามารถตอบโจทย์บางเรื่องของข้อเสนอแนะได้
หนังสือเรื่อง Dialogue Gap มีชื่อเรื่องย่อยว่า Why Communication Isn’t Enough and What We Can Do About It. น่าสนใจทีเดียว
ค่ำๆ ของวันศุกร์นั้น ดิฉันกลับบ้านอย่างรื่นรมย์ในหัวใจ ขอบคุณกรรมการทุกท่าน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร