การให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้เข้าใจและมองปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม การให้คำปรึกษาต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจไว้วางใจ และความเอาใจใส่ในการให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาต้องวิเคราะห์ก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาเกี่ยวกับความจริง ปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ หรือปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ เพราะปัญหาแต่ละประเภทใช้วิธีแก้ที่ไม่เหมือนกัน มีเทคนิดการให้คำปรึกษา ดังนี้
- เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ (Rapport) เริ่มจากการทักทายอย่างมิตรเพื่อทำให้บรรยากาศดีขี้น
- เทคนิคการถาม (Asking) เลือกใช้คำถามให้เหมาะกับบุคลิกภาพของคน
- เทคนิคการฟัง (Listening) ต้องตั้งใจฟัง และการใช้สายตาสังเกตเพื่อเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกและสิ่งที่ซ่อนอยู่ระหว่างคำพูดของผู้เล่า
- การพูดให้ต่อเนื่องในเรื่องเดียวกัน (Verbal Tracking) ไม่ควรเปลี่ยนเรื่องเร็วเกินไป ควรพูดให้จบเป็นเรื่องๆไป
- การให้คำแนะนำเชิงการปรึกษา (Covnseling Suggest) เป็นการให้แนวทางและจูงใจให้ผู้รับคำปรึกษาคิดแก้ไขปัญหา
- เทคนิคการทวนคำ (Restatement) เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาทราบว่า ผู้ให้คำปรึกษาเข้าใจเรื่องราวที่ผู้รับปรึกษาพูดมา
- เทคนิคการเงียบ (Sitence) ใช้การเงียบเพื่อรอฟังคำตอบจากคู่สนทนาและเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้คิดว่า จะตอบคำถามนั้นหรือไม่ อย่างไร
- เทคนิคการตีความ (Interpretution) เป็นการอธิบายเพื่อให้เรื่องที่ผู้รับคำปรึกษาพูดอยู่นั้นแจ่มชัดขึ้น
- เทคนิคการสะท้อนความรู้สึกและเนื้อหา (Feeing and content reflect) เป็นการแสดงให้ทราบว่าผู้ให้คำปรึกษาเข้าใจและมองเห็นปัญหาเช่นเดียวกับผู้รับคำปรึกษา ใช้ได้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง โดยเน้นความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษามากว่าคำพูด
- เทคนิคการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เมื่อเห็นว่าคู่สนทนาสามารถแก้ปัญหาได้ดี ควรชมและให้กำลังใจ
- เทคนิคการสรุป (Summarization) เมื่อการปรึกษาดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง ผู้ให้คำปรึกษาต้องรู้จักสรุปเพื่อไม่ให้ยืดเยื้อและรักษาประเด็นที่พูดคุย
One thought on “การให้คำปรึกษา”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ที่แน่ๆ ให้คำปรึกษาโดยปราศจากอคติ และต้องเป็นเรื่องจริงด้วยนะ ขบคุณที่นำเสนอให้เพื่อนๆ ได้รับทราบโดยทั่วกัน