สมุนไพรไทย
ชาและกาแฟนับได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมกันมาก โดยเฉพาะกาแฟถูกให้ยกระดับให้เป็นเครื่องดื่ม “แบบชง” ชั้นหนึ่งเลย ส่วนชานั้น เป็นต้นกำเนิดจากชาวจีน และเรียกได้ว่าเป็นคู่หูกันเลย เพราะเมื่อดื่มกาแฟ แล้วจะต้องมีชาร้อนใส่ถ้วยคู่มาด้วยถึงจะเรียกว่าสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้แล้ว ทั้งชา และกาแฟ ยังได้รับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบบรรจุขวดและกล่องกระดาษเช่นเดียวกับนม โดยเฉพาะในปัจจุบันเครื่องดื่ม “ชา” และ “น้ำหวาน” กันอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากยิ่งขึ้น จากระดับผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน หรือเรียกกันว่า โอทอป (OTOP) ก้าวขึ้นสู่ระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กันหลายชนิด
ที่ผ่านมาการผลิตน้ำชา และน้ำหวานจากพืชผักและผลไม้โดยการบรรจุขวดพลาสติก และกล่องกระดาษ ประสบความสำเร็จหลายยี่ห้อ เพราะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกระดับชั้น ตัวอย่างเช่น น้ำดื่มชาเขียวจากค่าโออิชิ จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ ระดับแนวหน้าในปัจจุบันไปแล้ว เจ้าของบริษัทใหญ่ “ตัน ภาสกรนที” ซึ่งเป็นมือหนึ่งที่ปลุกปั้นโออิชิจนประสบความสำเร็จได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มเสี่ย เจริญ สิริวัฒนภักดี ก็เพราะอาจจะเล็งเห็นว่าการออกมาลงทุนบุกเบิกธุรกิจดังกล่าวเองน่าจะสอบผ่านได้ไม่ยากนัก เพราะมีประสบการณ์ทางโออิชิมาแล้ว
กล่าวได้ว่าแม้ว่าปัจจุบัน การทำน้ำดื่มจากพืชผักผลไม้สมุนไพร ทั้งในรูปแบบน้ำชา และน้ำหวานมีมากมายหลายชนิดก็ตาม หากแต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะส่วนใหญ่ จะเน้นการผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน และความสามารถเฉพาะตัวเป็นหลัก ประกอบกับวัตถุดิบไม่แพงมากนัก ส่วนใหญ่จะใกล้ตัว และครัวเรือน ในสวน หรือรั้วรอบบ้าน อย่างเช่น ขิง ข่าคร้ กระเพรา มะระขี้นก หรือแม้แต่ดอกอัญชัน รวมทั้งน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งมีมากมายในประเทศไทยเรา หลักและวิธีการคัดเลือก จัดเก็บ พืชผัก และผลไม้สมุนไพรให้มีคุณภาพ พืชผักและผลไม้สมุนไพร โดยมีคุณค่าทางโภชนาการแร่ธาตุต่างๆ และมีสรรพคุณทางยาเป็นจำนวนมากนั้น จะแบ่งออกตามหลักวิชา แล้ว 2 สาขา คือ
สาขาที่ 1 สมุนไพรแบบแผนโบราณ ได้แก่ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่เภสัชกร หรือแผนโบราณและประชาชนนำมาเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอาง สำหรับป้องกันรักษาโรค บำรุงสุขภาพ หรือเสริมสวยตามหลักวิชาของแพทย์ และเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ หรือจากความรู้ และประสบการณ์ที่บรรพบุรุษในอดีตใช้สืบต่อกันมา
นอกจากนี้แล้วสมุนไพรแผนโบราณในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพรไทยแผนโบราณ และสมุนไพรจีนแผนโบราณ
1.1 สมุนไพรไทยแผนโบราณ คือ สมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศไทยเราบางชนิด ก็ได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ แพทย์และเภสัชกรไทยแผนโบราณนำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ชา หรือเครื่องสำอาง สำหรับป้องกันรักษาโรคบำรุงสุขภาพ หรือเสริมสวย ตามหลักการแพทย์ และเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ
1.2 สมุนไพรจีนแผนโบราณ คือ สมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศจีน ที่แพทย์และเภสัชกรจีนแผนโบราณนำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง สำหรับป้องกันรักษาโรค บำรุงสุขภาพ หรือเสริมสวย ตามหลักวิชาการแพทย์ และเภสัชกรรมจีนแบบโบราณ เภสัชวัตถุ คือ วัตถุที่ใช้เป็น
สมุนไพรไทยแผนโบราณ 3 ประเภท คือ
ประเภท 1 ได้แก่ พืช เช่น ต้นพิกุล ขี้เหล็ก ต้นมะตูม
ประเภท 2 ได้แก่ สัตว์ เช่น ควายเผือก หมี งู เหลือม
ประเภท 3 ได้แก่ แร่ธาตุที่สลายตัวยากเช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น และธาตุสลายตัวเร็ว หรือสลายตัวอยู่แล้ว เช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ
สาขาที่ 2 สมุนไพรแผนปัจจุบันได้แก่ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่แพทย์แผนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ หรือนักโภชนการนำมาศึกษาค้นคว้าทดลองวิจัย แล้วสกัดเอาสารบางชนิดจากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ
สรรพคุณของสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยจะแสดงสรรพคุณตามรสดังต่อไปนี้
รสฝาด = ใช้สมานแผล แก้บิด คุมธาตุ แก้ท้องเสีย
รสหวาน = ซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้ร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มคอแก้ไอได้ด้วย
รสเมาเบื่อ = แก้พิษ แก้พยาธิ แก้สัตว์กัดต่อย ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง
รสขม = แก้ทางโลหิตและดี แก้ไข้ เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำเจริญอาหาร
รสเผ็ดร้อน = แก้ลมบำรุงธาตุ ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
สมุนไพรทั้งหลายเหล่านี้นั้นมีสารอาหาร และแร่ธาตุมากที่สุด เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการ และสรรพคุณทางยาตามตำหรับแพทย์แผนไทย
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องที่ศึกษา เครื่องดื่มสมุนไพรอินเทรนด์
ผู้แต่งโดย พินิจ จันทร และคณะ สำนักพิมพ์ปัญญาชน
หมวด TP 562 ค48