ไปสัมมนา PULINET วิชาการครั้งที่ 3 … ตอนไปฟัง

ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network : PULINET) มีประวัติตามที่น้องเอ๋ได้เขียนแล้วที่นี่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=27908
ข่ายงานกำหนดให้มีการจัดสัมมนาปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สมาชิกของข่ายงานและสมาชิกของห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ติดตามความก้าวหน้าในวงการวิชาชีพห้องสมุด รวมทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้บุคลากรของห้องสมุดสมาชิกในข่ายงานได้มีโอกาสได้แสดงความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งเป็นผลงานของตนเองเผยแพร่ต่อผู้ร่วมวิชาชีพทั้งจากสมาชิกภายในและภายนอกข่ายงาน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร มีโอกาสจัดกาสัมมนาในครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “Creative Library” โดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรรับเป็นเจ้าภาพ เมื่อ24-25 มิถุนายน 2553 ปีต่อมาศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาจัดเป็นครั้งที่2 เมื่อ 25-27 มกราคม 2555 ในหัวข้อ “ห้องสมุดกับสังคมแห่งการเรียนรู้”
ในปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 3 โดยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในหัวข้อ “บทบาทของ PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช
การสัมมนามีเนื่อหาเอี๊ยดจำนวนสองวันวันเต็ม ส่วนวันที่สามเป็นการศึกษาดูงาน ในส่วนตัวมีความเห็นว่าเป็นการสัมมนาที่น่าพิศมัย และอยากสนับสนุนให้ไปกันเยอะๆ เพราะพี่น้องในวงการจะนำผลงานทั้งโปสเตอร์และวาจาไป give และ get ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิด งานและพัฒนาวงการห้องสมุด
ปีที่แล้วไม่ได้ไป แต่ยังเฝ้าตามอ่านเอกสารเสมอ มีหลายเรื่องราวที่ทำให้เราสามารถคิด นำกลับมาพัฒนาต่อได้มากมาย เป็นสัมมนาที่มีความสุขงานหนึ่ง
วันแรกของการสัมมนาได้มีโอกาสฟังนักวิชาการที่ให้มุมมองของ ห้องสมุด และอาเซียน ซึ่งน่าสนใจ เรียงลำดับคือ
อาจารย์ มรว.รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (SEAMEO SPAFA) ได้ให้ทัศนะว่า ความเป็นอาเซียน มีลักษณะ 6 ประการคือ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  Peaceful coexistence ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง Security การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ Economic Integration  ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี Economic Prosperity สังคมที่เอื้ออาทร Caring Society และมีความมั่นคงทางสังคม Social Security
UNESCO เป็นองค์กรที่มองว่าวัฒนธรรมเป็นรากฐานของการพัฒนาทุกประเภท วัฒนธรรมเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการพัฒนาแห่งเดียวที่มีอยู่ทั่วไปในโลก และการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเกี่ยวโยงโดยตรงกับการพัฒนามนุษย์ ดังนั้นการพัฒนากับการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมต้องไปด้วยกัน ด้วยการพิทักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนที่การสร้างสรรค์ และนวัตกรรมจะ สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต และการพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์มี ขอบเขตที่กว้างขวางและยังไม่ได้นำมาไช้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในประเทศยากจน
อาเซียนว่าทุกคนต่างกล่าวไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางวัฒนธรรม ทางทรัพยากร แต่ในความเป็นจริงคงต้องย้อนกลับไปดูแล้วจะพบว่า เราไม่รู้จักเพื่อนบ้าน หรือบางทีไม่อยากรู้จักเพื่อนบ้าน บางครั้งเราอาจเน้น การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ทำให้ละเลย ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ความเชื่อทำให้คนในอาเซียนไม่รู้จักกันลึกซึ้ง
การเป็นอาเซียนต้องมีความเอื้ออาทร การอยู่ร่วมกันด้วยความเสมอภาครักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืน ในอาเซียนมีความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ มีความเกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่อดีต ทุกคนต้องรักษามรดกทางวัฒนธรรม รู้จักว่าดนตรีกับศิลปะก็เป็นภาษาสากลเหมือนกัน
ขอสังเกตคือไม่มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ผลักดัน เผยแพร่ และส่งเสริม การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน พบว่ายังไม่มียุทธศาสตร์ในการประชาสัมพันธ์ ที่ชัดเจน มีการตื่นตัวเกี่ยวกับ ASEAN Economic Community มากกว่า ASEAN Socio Culture Community ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษา
การที่จะปรับตัวไปสู่อาเซียนต้องคำนึงถึง 21 Century Skills ได้แก่ 1) Connect: information literacy skill, IT skill, communication skill  2) Create: การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดริเริ่มสร้างสรร และ 3) Collaborate: การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น การอยู่ร่วมในสังคมอย่าง มีจริยธรรม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  ต้องมีการแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาเอกลักษณ์ของตนเองที่ต่างไปจากคนอื่น รู้จักให้มากกว่ารับ และสร้างมิตรภาพให้ยั่งยืน
การสร้างเครือข่ายในทุกระดับมีความจำเป็น ซึ่งต้องมีทั้ง ความสามารถในด้านเทคนิค (Technical skills) และ ความสามารถในการติดต่อเข้าถึงผู้คน (Social Skills) สำคัญที่สุดคือ รู้จัก “ให้” มากกว่า “รับ”
 รองศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เรื่อง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกับการรวบรวม จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางด้านอาเซียนศึกษา โดยให้ความเห็นว่า
ห้องสมุดต้องดูว่าอาเซียนศึกษาทำอะไร มีการศึกษา วิจัยและนำเสนอความรู้ต่างๆเกี่ยวกับภูมิภาค
อาเซียน โดยดูจาก 1) องค์ประกอบของรัฐชาติ (การเมือง) 2) และเหนือรัฐชาติ คือทางภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ วัฒนธรรมศาสนา เศรษฐกิจการผลิต หากห้องสมุดจะดำเนินในแบบใดจะมีกรอบความคิดคือ
แบบแรก ในกรอบทางการเมืองและสถาบัน ห้องสมุดรวบรวมเอกสาร ชั้นต้น และชั้นรองของสถาบันทางการเมืองที่เป็นหลักในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัตินโยบาย เช่น นโยบายรัฐบาล พรรคการเมือง สภาอุตสาหกรรม องค์กรเกษตรกรรม องค์พัฒนาเอกชนทั้งหลาย กรอบเวลาให้เริ่มจากจากปัจจุบัน ค่อยๆย้อนหลังไปสู่จุดเริ่มแรก รายงานผลการปฏิบัติงาน การนำนโยบายไปปฏิบัติ ดูการทำงานของกระทรวง ไปถึงหน่วยงานหลักๆในประเด็นนโยบายนั้นๆ ผลของการปฏิบัติงาน  เอกสารได้แก่รายงานประจำปีของกระทรวง กรมกองต่างๆ สถิติตัวเลขต่างๆ
 แบบที่สอง ไม่ผูกติดกับหน่วยทางการเมืองที่เป็นสถาบัน หัวข้อและเนื้อเรื่องอาจกระจัดกระจายและกรอบเวลาอาจยาวมาก ห้องสมุดอาจกำหนดหัวข้อและกรอบเวลาจากความเหมาะสมของตนเอง เช่นห้องสมุดในภาคใต้อาจมุ่งไปทางภูมิศาสตร์ของภาคพื้นทะเล มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ท้องถิ่นมีความสนใจและศักยภาพในประเด็นอะไรไหม ในมหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชาไปถึงคณาจารย์ว่ามีความสนใจ ความถนัด ความสามารถในเรื่องอะไร ก็อาจเริ่มจากเรื่องเหล่านั้น แล้วค่อยไปขยายต่อยอดไปยังเรื่องอื่นๆต่อไป
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ห้องสมุด มีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุดเอเชียสำหรับการค้นคว้าและวิจัย อ่านหนังสือพิมพ์ เอกสาร หนังสือในสมัยก่อน เป็นการค้นจากเอกสารชั้นต้น เป็นฐานของห้องสมุดวิจัยที่ต้องมี การรวบรวมเอกสาร ห้องสมุดอาศัยการแนะนำและช่วยเก็บจากนักวิชาการ อาจารย์ในคณะและภาควิชาที่ไปลงพื้นที่ สามารถนำมาบอกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน หามาได้อย่างไร
ประการต่อมาคือการค้นและอ่านจากหลักฐานชั้นรองทั้งหลาย คือหนังสือ บันทึกความทรงจำ แปล ไปถึงวิทยานิพนธ์ ที่มีคนศึกษาเรื่องเหล่านั้นไว้ก่อนแล้ว ให้ได้มากและครบถ้วนที่สุด เป็นงานที่ใช้เวลา อุตสาหะ แต่จะเกิดผลในที่สุด
ในการเก็บสะสมข้อมูล ห้องสมุดอาจต้องศึกษาวิธีการทำงานของจอห์น เอโคล์ และเดวิด วัยอาจ กับการทำห้องสมุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล
การทำให้แหล่งสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ระดับชาติ  ด้วยการจัดกิจกรรมการวิจัย ค้นคว้า เชิญหรือให้ทุนแก่นักวิจัยที่ต่างๆมานั่งทำงานในท้องที่ เช่น ห้องสมุดนิวยอร์ก ห้องสมุดคองเกรส ห้องสมุดแห่งชาติแคนเบอรา เป็นต้น
รวมทั้งจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วิจัย ศึกษา ค้นคว้า อภิปราย ด้วยการติดต่อให้นักศึกษา นักวิจัยจากภูมิภาคมาทำงานเกี่ยวกับเอกสารหรือชุดเอกสารของประเทศนั้นๆ เช่นเรื่องอินโดนีเซีย อิสลาม ให้นักศึกษาจากอินโดนีเซียหรือมาเลย์เซียมาทำเป็นต้น มีการพัฒนาทรัพยาการสารสนเทศที่อยู่ใน Collection อย่างสม่ำเสมอ
และต้องส่งเสริมบุคลากรและมาตรฐานการดำเนินงานของสมาชิก ผ่านการทำงานและเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยภายนอก อีกด้านคือ แลกเปลี่ยนกับห้องสมุดอื่นๆ
รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง แนวทางการดำเนินงานของ PULINET ในการจัดการสารสนเทศเกี่ยวกับอาเซียน สรุปความได้ว่า
ห้องสมุดจะต้องกำหนดเป้าหมาย โดยคำนึงถึงสถานการณ์การให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับอาเซียนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และสภาพของทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับอาเซียนของห้องสมุดแต่ละแห่งใน PULINET แล้วพิจารณาบทบาทของห้องสมุดในการส่งเสริมสนับสนุนทิศทาง ความเชี่ยวชาญ และบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย  ซึ่งมีความแตกต่างเพื่อสะท้อนคุณลักษณะเฉพาะตัว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประหยัดงบประมาณ ในการจัดการ และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ บนหลักการและมาตรฐานเดียวกัน
การสร้าง Collection เกี่ยวกับอาเซียน ต้องคำนึงถึง

  1. Contents เช่น Country-based, Theme-based และ Issue-based
  2. Format เช่น Digital collection, Fulltext และ International standards
  3. Tools เช่น  Knowledge domain classification-ontology, Metadata schema และSemantic search
  4. Services เช่น Web access, Inquiry, Repackaging, Downloading และ

International resources access
รวมทั้งห้องสมุดอาจต้องทำงานในลักษณะของ Research Based ในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้แก่

  1. ความต้องการและความสนใจในการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับอาเซียนของอาจารย์ นิสิต นักศึกษา

2. วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เกี่ยวกับอาเซียน
3. วิเคราะห์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ที่เกี่ยวกับอาเซียน
4. การจัดระบบเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
5. การพัฒนา Metadata สำหรับการจัดการสารสนเทศอาเซียน
6. การพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบัน/ห้องสมุดดิจิทัลเกี่ยวกับอาเซียน
7. การพัฒนาระบบสารสนเทศผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาเซียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง ห้องสมุดส่วนภูมิภาคกับการรวบรวม จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางด้านอาเซียนศึกษา โดยกล่าวว่ากลยุทธ์การจัดบริการห้องสมุดและสารสนเทศนั้นจำเป็นต้องรู้เขา รู้เรา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยรอบ SWOT analysis ของห้องสมุด เพื่อความเข้มแข็งให้ห้องสมุดของตัวเอง ในการทำงานของ PULINET แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบัน ในเรื่องของประสบการณ์ ความรู้ในการจัดบริการห้องสมุด ความรู้หรือแนวคิดใหม่เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา อาจจะจะต้องปรับให้ทำงานในลักษณะของการร่วมกันผลักดัน เพื่อจัดทำชิ้นงาน เช่น Links to e-resources, Links to etc. และ Subject-specific databases or information sources
Mitsuhiro ODA, Professor of Library and Information Studies. Department of Education Aoyama Gakuin University, Japan เรื่อง How Do We Do to Access ASEAN Collections in Japan? The Idea and Management of Collection of ASEAN Countries by Each University Library  ได้พูดถึงใน 5 ประเด็น คือ CONSIDERING TYPES OF ASEAN MATERIALS,  OVERVIEW OF LIBRARIES IN JAPAN, SEARCHING ASEAN INFORMATION, CURRENT ISSUES IN ACADEMIC LIBRARIES และ  CREATING SERVICES FOR ASEAN COLLECTIONS สรุปความได้ดังนี้คือ
1. CONSIDERING TYPES OF ASEAN MATERIALS  ห้องสมุดมีการของเขตของ ASEAN Materials ไว้อย่างไร เช่น
1.1 Materials written by the languages of each ASEAN country: Burmese, Indonesian, Khmer, Lao, Malay, Thai, Vietnamese, etc.
1.2 Materials written in English which produced in ASEAN countries.
1.3 Materials written in English which produced in countries other than ASEAN nations.
1.4 Materials written in other languages than English or languages of each ASEAN country.
2. OVERVIEW OF LIBRARIES IN JAPAN  บอกว่าในมาตรฐานการอุดมศึกษาของญี่ปุ่นต้องมี
ห้องสมุด ที่ญี่ปุ่นมีห้องสมุดประเภทต่างๆ  เช่นเดียวกับประเทศไทย
3. SEARCHING ASEAN INFORMATION วิทยากรยกตัวอย่างหน้าจอของ CSEAS (Center for Southeast Asian Studies) Library, Asian Resources Collection the Kansaikan of the NDL, IDE-JETRO Library, University of Tokyo Library System, ฯลฯ
4. CURRENT ISSUES IN ACADEMIC LIBRARIES  ในญี่ปุ่นให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง Open Access, Institutional repository และเรื่องอื่นๆ เช่น tendency of spreading the concept of embedded, library service  Issues on Manpower Policy for University Librarians , rapid dissemination of the concept of learning commons,  practical support of IAAL (Assistance of Academic Libraries) และ launches of new services providing document management tools
5. CREATING SERVICES FOR ASEAN COLLECTIONS ซึ่งมีกิจกรรมและโครงการที่น่าสนใจคือ tendency of spreading the concept of embedded library service, Issues on Manpower Policy for University Librarians, rapid dissemination of the concept of learning commons , practical support of IAAL (Assistance of Academic Libraries)  และ launches of new services providing document management tools
อาเซียน อาเซียน แล้วเราจะยังไงต่อ เป็นเรื่องที่เราจะต้องวางกรอบความคิดต่อไป

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร