ม้าแห่นาค


ในอดีต พ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย นิยมส่งลูกหลานไปเล่าเรียนเขียนอ่ายยังวัดต่างๆที่ว่ามีวิชาหรือที่ตนเคารพนับถือ เรี่มจากส่งไปเป็นลูกศิษย์พระแล้วบวชเป็นสามเณร จนอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ เพราะทรงเห็นความเกิดแก่เจ็บตายไม่มีสิ้นสุดเพื่อหาหนทางดับทุกข์ เพื่อหลุดพ้นในวัชตะ ส่วน คนทั่วไปบวชตามประเพณีของชาวพุทธ และเพื่อตอบแทนคุณบิดามารดาที่ได้ให้กำเนิดและลี้ยงดู ตามความเชื่อของชาวพุทธ  แต่ก่อนบวชก็จะต้องไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วิธีปฏิบัติต่างๆและท่องสวดมนต์และฝึกซ้อมพิธีจนชำนิชำนาญเวลาถึงเวลาบวชจะได้ไม่ติดขัดเป็นที่น่าอับอาย

ก่อนบวชเป็นพระก็จะต้องเป็นนาคก่อน ตามประเพณี ผู้บวชก็จะต้องไปโกนผมก่อนที่วัด ก่อนโกนก็จะให้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย และญาติๆ ทำพิธีตัดผมก่อน เพื่อเป็นการตัดจากเพศฆราวาสเพื่อจะเข้าพิธีบวชในวันต่อไป
ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน
เมื่อเสร็จจากโกนผมก็จะแต่งตัวเป็นนาค ทางเจ้าภาพก็จัดขบวนแห่กับบ้านก็จะมีม้าให้นาคนั่ง อาจจะเป็นม้าสาน หรือม้าจริงโดยตกแต่งให้เกิดความสวยงามแห่กันอย่างสนุกสนานในหมู่เครือญาติและเพื่อนฝูงที่มาร่วมบุญ

ม้าแห่นาคมีมาก็เพราะความเชื่อที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชโดยใช้ม้ากัณฐกะเป็นพาหนะในการเสด็จออกบวช ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ
ชาวพุทธที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาก็ใช้ม้ามาใช้พิธีบวชนาคแลตกแต่งรูปแบบต่างๆ เพื่อเจริญตามลอยพระพุทธองค์

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร