ความงาม

14 February 2013
Posted by panya

 
        ว่ากันเรื่องความงาม
ทฤษฏีที่ว่าความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับรู้กล่าวว่า ความสวยงามเป็นเพียงสิ่งที่จิตใจมนุษย์ให้ค่าหรือตัดสิน ฉะนั้นความสวยงามจึงเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น และอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาวะของคนๆใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง
คุณค่าทางความงามต่างคนต่างมองคนหนึ่งอาจจะมองไม่เหมือนกับเรา เช่นการมองวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งบางคนอาจจะมองว่าสวยงามมากและเมื่ออีกคนหนึ่งอาจมองว่าก็ไม่เห็นจะสวยงามตรงไหน ก็ไอแค่เศษก้อนดินก้อนอิฐเท่านั้น แต่ท่ามองไปลึกๆกว่านั้นคนที่มองเห็นความงามเขามองที่คุณค่าทางวัตถุคืออายุและการเปรียบเทียบเท่าที่พบเจอหรือมองผลงานทางศิลปใช้ทฤษฎีมาจับก็จะมองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น

            ความงามของธรรมชาติ


                 องค์ประกอบที่เป็นตัวชี้วัดความงาม
                1. จุด (Point) เป็นองค์ประกอบที่สามารถสัมผัสและรับรู้ได้น้อย แต่ในทางศิลปะจุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏในภาพอาจจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ในความรู้สึกแปรเปลี่ยนเป็นรูปสัญลักษณ์สิ่งต่าง ๆ เช่น การนำเอาจุดมาแทนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในระยะหนทางที่ห่างไกล เช่น ดวงดาว แสงไฟ ฯลฯ การตีความในจินตนาการอาจขยายกว้างใหญ่กว่าการรับรู้หลายเท่า และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

                2. เส้น (Line) เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก เส้นขยุกขยิก เป็นต้น ซึ่งเส้นที่ปรากฏในลักษณะที่ต่างกันก็จะมีอิทธิพลที่สามารถกระตุ้นเร้าความ รู้สึกจากการรับรู้ให้แตกต่างกันออกไป

                3. รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form)

  • รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขต ของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล
  • รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง ความยาแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม รูปทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน
    ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด หรือผลักไสซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรงทำได้โดยใช้การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระ มาซ้อนทับกัน ผนึกเข้าด้วยกัน แทรกเข้าหากัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน นำมาประกอบเข้าด้วยกันจะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด

         
         
         4. ค่าน้ำหนัก (Value) คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน – ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ) ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด
การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆระดับ จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมากจะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง
 
                5. บริเวณว่าง (Space) ส่วนที่เป็นพื้นที่ที่ปราศจากองค์ประกอบใด ๆ ถ้าบริเวณที่ว่างมีน้อย ความรู้สึกจากการรับจะรู้สึกแน่น แข่งขัน แย่งชิง ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีมากจะให้ความรู้สึกว่างเปล่า เงียบเหงา อ้างว้าง หดหู่ ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีเท่ากันจะให้ความรู้สึกพอดี สมดุล เสมอภาค เป็นต้น

                6. สี (Color) สีเป็นคุณลักษณะที่สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทตา โดยอาศัยแสงเป็นตัวส่องสว่าง สีแต่ละสีมีสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถกระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่าง กันอกไป เช่น สีแดงย่อมกระตุ้นเร้าความรู้สึกให้เกิดแตกต่างไปจากสีขาวหรือสีดำทำให้ความ รู้จากการรับรู้ไม่เหมือนสีเขียว เป็นต้น
                7. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวอาจเป็นเนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด แข็งหรือหยาบ นิ่มหรือเรียบ พื้นผิวจะทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไม่ว่าด้วยสายตาหรือร่างกาย พื้นผิวเปรียบเสมือนตัวแทนของมวลภายในของวัตถุนั้น จากลักษณะพื้นผิวที่ทำให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ทำให้มีการนำเอาลักษณะต่าง ๆ ของพื้นผิวเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะ เพื่อกระตุ้นเร้าผู้ดูเกิดความรู้สึกที่ต่างกัน เมื่อได้สัมผัสภาพผลงานที่มีพื้นผิวที่ต่างกัน 1. จุด (Point) เป็นองค์ประกอบที่สามารถสัมผัสและรับรู้ได้น้อย แต่ในทางศิลปะจุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏในภาพอาจจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ในความรู้สึกแปรเปลี่ยนเป็นรูปสัญลักษณ์สิ่งต่าง ๆ เช่น การนำเอาจุดมาแทนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในระยะหนทางที่ห่างไกล เช่น ดวงดาว แสงไฟ ฯลฯ การตีความในจินตนาการอาจขยายกว้างใหญ่กว่าการรับรู้หลายเท่า และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

                ถ้าเป็นคนหรือหญิงสาวที่เรียกว่าสวยงาม  น่าจะให้ความหมายว่าคือคนที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ได้องค์ประกอบของความงาม เมื่อบุคคลอื่นหรือหลายๆคนเห็นพ้องกันนี้ว่าบุคคลคนนี้สวยงามจริงก็สามารถตัดสินใจได้ทันที  แต่ก็จะมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาจัดอีกเช่น การแสดงออก ยืน เดิน นั่ง บุคลิกภาพ การพูดการจา ความมั่น จิตใจดี ถ้ามีพร้อมก็จะเป็นเรื่องของความสวยงามมีสมบูรณ์พร้อม

                ความสวยงาม มุมมองของคนทั่วๆไป มองถึงสถานภาพของสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุลย์ สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด ส่งผลให้ผู้มองหรือประสบทำให้จิตใจเบิกบาน ประทับใจ
การตัดสินเรื่องความงามดังกล่าวก็ต้องใช้หลักขององค์ประกอบศิลป์เข้ามาจับ แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช้ทฤษฎีใช้ความรู้สึกพอใจของตนเองตัดสินให้คนอื่นชอบดังที่ตนเองชอบได้
และ สิ่งตรงกันข้ามกับความสวยงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้
เกิดอาการต่อต้าน ไม่พอใจในสิ่งที่พบเห็น หรือเดินหนีออกไป สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นบางคนจะแสดงอาการออกมา

    
กฎของความงามตามธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงมันจะแปลสภาพไปตามกาลเวลาอยู่ตลอดเวลาบางครั้งสายตาก็ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ แต่ความงามก็ยังไม่หมดไปงามตามธรรมชาติไม่มีการปรุงแต่ง เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง และดับสลาย
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร