กำเนิดอาเซียน

27 February 2013
Posted by peekan

เหลือเวลาอีก 672 วัน  ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในวันที่ 1 มกราคม  พ.ศ. 2558  (ASEAN Community 2015)   หน่วยงานแต่ละแห่งเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งอาเซียน เห็นได้จากการที่โรงเรียนประดับธงเป็นสัญญลักษณ์ของ อาเซียน และต้องมีการฝึกพูดภาษาอังกฤษกันทุกวัน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา ได้จัดอบรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับประชาชนเพื่อต้อนรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องก้าวเข้าสู่อาเซียนไปกับประเทศด้วย ก็ต้องติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รู้ทันบ้านเมืองสักเล็กน้อยว่ามีความเป็นมาอย่างไร แล้วถ้าประเทศไทยเปิดประเทศแล้ว คงไม่ได้ปิดแน่นอน เรียกว่าเป็นการเปิดรับสิ่งใหม่ ทั้งในด้านบวกและลบ เมื่อกลุ่มประชาคมอาเซียนเปิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว เศรษฐกิจของปรเทศไทยจะพุ่งขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งอุตสาหกรรม นักลงทุนจากหลายชาติหลั่งไหลเข้ามาลงทุน พร้อมทั้งดำเนินการผลิตสินค้า เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศมหาอำนาจ
ก่อนเกิดอาเซียน
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีประเทศที่เป็นรัฐเอกราชเกิดใหม่กำเนิดขึ้นจำนวนมาก นอกจากนั้นจากที่ศูนย์อำนาจของโลกได้แปรเปลี่ยนจากระบบ 2 ขั้วอำนาจ (Biopolarity) โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวนำในซีกตะวันตกและมีสหภาพโซเวียตเป็นตัวนำในซึกของตะวันออก โดยทั้งสองฝ่ายมีการเผชิญหน้ากันในลักษณะของสงครามเย็น (Cold War) ต่อมาได้กลายเป็นระบบ 3 ขั้ว (Tripolarity) โดยมีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นขั้วใหม่ จากสภาพดังกล่าวทำให้ทุกภูมิภาคของโลกกำลังเผชิญอยู่กับความไม่มีเสถียรภาพ จากผลดังกล่าวทำให้ชาติต่างๆในภูมิภาคได้เริ่มปรับตัวให้เกข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป บางชาติได้เข้าผูกพันกับประเทศมหาอำนาจจากภายนอกเพื่อที่จะเป็นสิ่งปกป้องจากอีกฝ่ายหนึ่ง และในขณะเดียวกันสำหรับอีกกลุ่มหนึ่งก็หาวิธีที่จะไม่ผูกมัดกับมหาอำนาจที่ตนเคยตกเป็นอาณานิคม ก็ได้หาวิธีการต่อรอง ซึ่งทำให้เกิดการรวมกลุ่มที่เรียกว่ ภูมิภาคนิยม (Regionalism) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับประเทศภายในภูมิภาคกันเอง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นพลังต่อรองกับประเทศมหาอำนาจภายนอกโดยเฉพาะอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจและการเมือง
จากความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ทำให้ประเทศในภูมิภาคต่างๆ หันมาสนใจและให้ความร่วมือกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคของตนมากขึ้น แต่ละประเทศไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป ถึงแม้ว่าสถานการณ์โดยทั่วๆ ไปเปลี่ยนแปลงไป  แต่ก็ไม่อาจสามารถบอกได้ว่าเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ของสังคมระหว่างประเทศภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ อันเนื่องมาจากความหลากหลายของความแตกต่างกัน
สมาชิกอาเซียนก็เช่นเดียวกันถึงแม้ว่า การก่อตั้งมา จนถึงปัจจุบัน (พศ. 2556) รวมระยะเวลา 46 ปี มาแล้ว และมีความร่วมมือในด้านต่างๆ เกือบจะทุกด้าน แต่อย่างไร ก็ตามในความร่วมมือต่างๆนั้น ยังคมีอุปสรรคที่บางครั้งไม่สามารถที่จะตกลงกันได้  ซึ่งแต่ละประเทศพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนในระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงโอกาสที่ดีในระยะยาว
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN )  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนาม ณ วังสราญรมย์ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2510   โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย,  ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย,  ในเวลาต่อมาได้มีประเทศเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคา 2537  ,เวียดนาม ได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538, ลาว ได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540, พม่าได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540, กัมพูชา ได้ร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 เป้าหมายของกลุ่มอาเซียน คือ จัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ ของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย
วัตถุประสงค์หลักของกลุ่มประเทศอาเซียน
1. ส่งเสริมให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ในทางเศรษฐกิจ สัีงคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และการบริหาร
2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีิวิตที่ดี
5.  ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัีนในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉีียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7.  เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
8.  การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียมบูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
9.  สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก
10. หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
11. ระงับความแตกต่าง หรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
12. การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
13. ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
เป็นร่างสนธิสัญญา ที่กลุ่มประเทศอาเซียน ได้ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเป็นกฏบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม
สัญญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น                     หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง                               หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง                                  หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว                                   หมายถึงความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน                               หมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
วันที่ 8 สิงหาคม ถือว่าเป็นวันอาเซียน
 
สุดยอดการประชุมผู้นำอาเซียน
การประชุมผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียน เรียกเป็นทางการว่า “ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ASEAN SUMMIT” จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือ ASEAN ถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การประชุมอาเซียนนั้น จะมีผู้นำแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของกลุ่มประเทศอาเซียน คำว่า “SUMMIT” หมายถึง การประชุมระดับสูงสุดของผู้นำรัฐบาล หรือผู้นำสูงสุดขององค์กรใดๆที่จัดการประชุม  ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดตั้งการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน โดยประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นเรียงตามลำดับตัวอักษร
ในปี 2540 ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง”วิสัยทัศนอาเซียน 2020″ (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพทีมีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีความเอื้ัออาทรต่อกัน
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)  อาเซียนจะเป็น
1.  วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (A Concert of Southeast Asian Nations)
2.  หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต (A Partnership in Dynamic Development)
3.  มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก (An Outward-Looking ASEAN)
4.  ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (A Community of Caring Societies)
นอกจากมีวิสัยทัศน์เดียวกัน มีเอกลักษณ์เดียวกันและเป็นประชาคมเดียวกัน ดังคำขวัญ ” One Vision, One Indentity, One Community หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
เมื่อ ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนาม  ในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1.  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community =APSC)
2.  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community =AEC)
3.  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community = ASCC)
 
อาเซียน+ 3 คืออะไร
คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศได้แก่ ประเทศจีน,  ประเทศญี่ปุ่น,  ประเทศเกาหลีใต้ =ASEAN+3  เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียน และกระบวนการต่างๆภยใต้ความร่วมมือ เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย 5 ด้าน คือ
1.  ด้านการเมือง และความมั่นคง
2.  ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3.  ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4.  ด้านสังคม วัฒนธรรม
5.  การพัฒนาด้านการส่งเสริมรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ และกลไกต่างๆ ในการติดตามผล
ตัวอย่างของความร่วมือในปัจจุบัน
ในปัจจุบันความร่วมมือที่ประเทศไทยมีบทบาทในการผลักดันได้แก่ ความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative-CMI) เริ่มขึ้นปี 2543 และเป็นสาขาความร่วมมือที่มีความก้าวหน้าที่สุดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3  ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนได้เห็นชอบให้มีการขยายวงเงินกองทุนสำรองพหุภาคภายใต้ CMIM หรือที่เรียกว่า “CMI Multilateralization (CMIM) จากวงเงินแปดหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค โดยที่ประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตลอดจนหน่วยงานด้านการเงินของฮ่องกงได้ลงนามข้อตกลงจัดตั้ง CMIM เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคอาเซียน
1.  ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ธำรงสันติภาพในภูมิภาค และมีกลไกในการควบคุมการทำงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆมากขึ้น
2.  อุปสรรคทางการค้าจะลดลงหรือไม่ ทำให้ไทยสามารถขยายการส่งออกสินค้าไปยังสมาชิกกลุ่มอาเซียน และการรวมเป็นตลาดเดียวกันจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งการคมนาคมและการขนส่งระหว่างประเทศจะมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.  ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาความยากจนจะลดลง  โดยสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มีสวัสดิการทางสังคมที่มั่นคง และมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
สมาชิก 13 ประเทศ ซึ่งมีประชากร ที่มากกว่า 2,000 ล้านคน แต่เมื่อรวมผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16  ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลกโดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า ASEAN+3 จะมีบทบาทที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก 3 (FTA Asian+3) มูลค่าประมาณ 62.186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้าน ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกันคือประมาณ 7,884 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลล่าร์สหรัฐ
อาเซียน+6 คืออะไร
คือกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ6 ประเทศได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญ่ีปุ่น ประเทศออสเตเรีย ประเทศอินเดีย ประเทศนิวซีแลนด์
อาเซียน +6 จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
กลุ่มสมาชิก 16 ประเทศหากนับจำนวนประชากรแล้วพบว่ามีมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50 % ของประชากรโลก สาเหตุที่ต้องรวมกลุ่มกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นพร้อมกับการรวมตัวของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกันเพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคง
ประโยชน์ของอาเซียน + 6
การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน +6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11 %หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83 % และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้ว พบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยที่เดียวในขณะที่ประเทศ +6มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น 2.6 %
นอกจากนี้ อาเซียน +6จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1.  ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2.  เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3.  พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logisitcs ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
โครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอาเซียน คือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมองค์ประมุขค์ หรือ หัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN
Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister’s Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย การประชุมระดับผู้นำ และรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting-SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committe-ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับรัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้จะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
และยังมีกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries)  ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชฑูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม  จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนที่ตั้งอยู่ที่ สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก  โดยมีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงาน เลขาธิการอาเซียนจะได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 2 คน มาจากประเทศสมาชิกอาเซียน (เรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษ) และมีหน่วยงานงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งการมเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันเลขาธิการผู้บริหารสำนักงานที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคือ นายเล ลุง มินห์ (LeLuong Minh)   เป็นชาวระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง  ปี 2556-2560
สรุปภาพรวมของประเทศไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดตั้ง  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ถือเป็นก้าวสำคัญในการร่วมมือกันของภูมิภาคอาเซียน นอกจากอาเซียนจะได้ประโยชน์จากการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าในเวทีการค้าโลกอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น การรวมกลุ่ม AEC เป็นผลดีต่อประเทศไทยด้วยอย่างแน่นอน เพราะประเทศต่างๆ ของอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด ประกอบกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของไทยเอื้ออำนวยให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ประกอบกับที่ผ่านมาอาเซียนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มจะมีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นว่าประเทศไทย ได้เปรียบทางการแข่งขันแน่นอน ถ้าเราไม่ประมาท และมีการเตรียมความพร้อมที่ดี ผู้ประกอบการ มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ให้เท่าทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะกำลังเปลี่ยนแปลงไป
เตรียมความพร้อมอย่างไรเพื่อก้าวทันการเป็นประชาคมอาเซียน
1.  เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในอนาคต
2.  พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในงานสาขาเฉพาะด้านอย่างมีมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่สูงขึ้น
3.  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกฏ ระเบียบ และข้อบังคับของอาเซียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ที่มา : จากหนังสือ อาเซียน 2558 (2015). และอาเซียนไฮไลท์ส ๒๕๕๔
ผู้สนใจความเคลื่อนไหวในอาเซียน
– สามารถติดตาม ได้จากรายการ”ASEAN Beyond 2015 สู่อนาคตประเทศอาเซียน” ในวันพฤหัสบดี เวลา 11.05 -11.50 น. ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
– รายการ “ทูเวิร์ด 2015 เดินหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ในวันอังคาร เวลา 9.10 – 9.30 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
– รายการ “มองโลกแบบวิกรม” ออกอากาศในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 5.50-5.55 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 อ.ส.ม.ท
–  วารสาร ASEAN Magazine
–  http://www.mfa.g0.th/asean
– http://www.facebook.com/เราคืออาเซียน
– วิทยุสราญรมย์ A.M.1575 KHz รายการรอบเรา/เราคืออาเซียน ออกอากาศทุกวันอังคารเวลา 17.30-18.00 น.

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร