เหตุใดคนเราจึงป่วย เราจะดูแลตนเองได้อย่างไร?

30 January 2013
Posted by maew

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น.  ได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายเรื่อง เหตุใดคนเราจึงป่วย เราจะดูแลตนเองได้อย่างไร”     ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งบรรยายโดย “หมอเขียว” (ดร. ใจเพชร กล้าจน หรือ ชื่อสกุลเดิม สำเริง มีทรัพย์)   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  โรงพยาบาลอำนาจเจริญ  จังหวัดอำนาจเจริญ  ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. หมอที่ดีที่สุดในโลกคือ ตัวเราเอง
2. จิตวิญญาณ คือ ประธานสิ่งทั้งปวง เป็นหัวใจสำคัญ สามารถสั่งและสร้างได้ หรือเป็นตัวกำหนดทั้งหมดทั้งปวง
3.  ลักษณะของจิตวิญญาณ 7 ประการ คือ
      3.1 ไปได้ไกล
      3.2 ไปแต่ผู้เดียว
      3.3 ไม่มีรูปร่าง
      3.4 มีกายเป็นที่อาศัย
      3.5 มองไม่เห็น
      3.6 ไม่มีที่สุด
      3.7 โดยประการทั้งปวง
4. คนมีจิตวิญญาณแทรกทุกอณู  พืชมีคลอโรพลาสต์เพื่อสังเคราะห์แสง
5. พลังแห่งความดี มีแรงและมีพลัง จึงส่งผลดีแน่นอน
6. การรักษาโรคด้วยตนเอง โดยการปรับสมดุลร้อน-เย็นในร่างกาย เรื่องการกิน
7. จึงต้องศึกษาสมุนไพรร้อน – เย็น ให้เข้าใจและปฏิบัติตาม
8. ไมโตรคอนเดรีย (ในร่างกาย) มีหน้าที่สลายอาหาร หากเสื่อม จึงเกิดโรค เมื่ออาหารเข้าไปในร่างกาย  ไมโตรคอนเดรียสลายได้น้อย แสดงว่าที่เหลือเป็นขยะ  เซลล์ในร่างกายทำงานตลอดเวลา หากของเสียไม่ถูกขับออก แสดงถึงการเกิดโรค  กรณีปริมาณของดีคงอยู่ในร่างกาย เท่ากับปริมาณของเสียที่ออกจากร่างกายถือว่า สมดุล
9. ต้นเหตุเดียวกัน แต่เกิดโรคไม่เหมือนกัน เช่น เครียดเหมือนกัน แต่เป็น (เกิด) โรคต่างกัน รับประทานพริกเหมือนกัน บางคนแสบปาก บางคนแสบท้อง (ลำไส้) เป็นต้น
10. ผลจากทำดี – ทำชั่ว ได้รับในชาตินี้ และชาติต่อไป  บางคนกล่าวว่าชาตินี้ทำดีมากมาย  แต่ยังได้รับผลไม่ดี ซึ่งไม่มากนักนั้น  อาจเป็นเพราะทำกรรมไว้ชาติก่อนๆ  และชาตินี้ได้พลังความดีที่กำลังทำอยู่มาช่วยบ้าง
11. ยาที่กินเข้าไป เป็นการคุมอาการเท่านั้น จึงต้องปรับสมดุลร้อน-เย็น ด้วยตัวเราเองเพื่อให้โรคหายหรือบรรเทาลงไป
12. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาวะของคนมี 4 ประการ คือ
       12.1 ปรับสมดุลร้อน – เย็นในร่างกาย
       12.2 ไม่ทำบาป
       12.3 ทำบุญ – ทำความดี
       12.4 ทำจิตใจให้ผ่องใส
13. หลักปฏิบัติตนให้แข็งแรงอายุยืน มี 7 ประการคือ
        13.1 ทำความสบายให้แก่ตน (ปรับสมดุลร้อน – เย็น)
        13.2 ประมาณในสิ่งที่สบาย
        13.3 บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
        13.4 ไม่ไปในที่อโคจร
        13.5 ประพฤติตน มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
        13.6 ตั้งอยู่ในศีล
        13.7 คบมิตรที่ดี
           ดังกล่าวข้างต้นเป็นบทสรุปอย่างย่อ ๆ การแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม ของ ดร.ใจเพชร  กล้าจน  เป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช่ได้อย่างลงตัว 
ข้อคิดเห็นของผู้เรียบเรียงต่อผู้บรรยาย
          เมื่อสอนหรือแนะให้คนปรับสมดุลร้อน – เย็น ในเรื่องอาหารเพื่อความยั่งยืนของร่างกาย  สอนเรื่องจิตวิญญาณแล้ว  อยากให้สอนวิธีปรับสมดุลจิตใจด้วย ให้มองมนุษย์ทุกคนมีดีและไม่ดีในตัว  แต่จะดีมากหรือน้อย ตนเองย่อมรู้ดีที่สุด  ผู้เฝ้ามองหรือบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิ์ตัดสินว่า ผู้นั้นไม่ดี และไม่ควรตำหนิทั้งในที่ลับและต่อสาธารณชน โดยที่เราไม่ได้สัมผัสหรือทราบแน่ชัดด้วยตัวเราเอง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร