พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (2)
บ่ายแก่ๆ คณะเก็บข้อมูลก็เิดินทางออกจากบ้านคุณลุงสมบุญ เพื่อไปที่บ้านคุญยายทองอยู่ที่ ต. คูบัว ซึ่งทริปหลังนี้ได้อาจารย์บุญชัย อาจารย์จากวิทยาลัยในวังชายเพื่อนของอาจารย์สุรศักดิ์เป็นวิทยากรพิเศษ เนื่องจากอาจารย์ได้ทุนจากสมเด็จพระเทพฯ เพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับผ้าไท-ยวน โดยอาจารย์ได้เข้าไปเก็บข้อมูลเป็นเวลาถึง 5 ปีเต็ม และได้ทูลเกล้าถวายข้อมูลหนังสือไปเรียบร้อยแล้ว จึงรู้จักเป็นอย่างดีกับคุณยายทองอยู่ ดังนั้นคณะของเราจึงสามารถเก็บรูปและข้อมูลกันสะดวก คุญยายทองอยู่ กำลังหาญเป็นลูกของคุณยายซ้อน กำลังหาญ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ผ้าจกคูบัว ซึ่งบ้านหลังนี้องค์สมเด็จพระเทพฯ เคยเสด็จมาด้วยค่ะ
ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับช่วงเช้า เราเห็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากย่า ยาย สู่แม่ สู่ลูก สู่คนรุ่นต่อๆไป ส่วนช่วงบ่าย คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นอยู่คู่กับลูกหลานต่อไป ส่วนชื่อเรื่องคำว่า “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ขอยืมคำพูดของอาจารย์สุรศักดิ์มาใช้ค่ะ ซึ่งเคยอธิบายไว้ใน blog ของคุณสมเกียรติ ว่าหมายถึง ข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลที่เป็นผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน หรือคนอื่นผ่านการบอกเล่า หรือการสอน การกระทำที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นตำรา เช่น การทอผ้า การทำจักสาน และเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง
2 thoughts on “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (2)”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
อยากได้สักผืนจัง อ้อลองติดต่อพี่แดงเรื่องข้อมูลลายผ้า เพราะที่ทำงานแฟนพี่แดงมีคนทำเรื่องนี้อยู่ค่ะ แต่พี่ได้ข้อมูลนี้มานานพอสมควร
เห็นรูปภาพแล้ว สวยมาก ได้เรื่องไว้บริการในศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกอีกเรื่องหนึ่งแล้วซินะ ดีมากเลยค่ะ