PART

อยู่ๆ ได้รับจดหมายรักความว่า อิฉันได้กรอกตอบข้อคำถาม PART แล้วหรือยัง เพราะเกินกำหนดส่งกองแผนงานแล้ว
เล่นเอาบรรณารักษ์แบบอิฉันมึนตึ๊บว่า เจ้า PART ที่ว่ามันหน้าตาเป็นเยี่ยงไร สักพักเจ้าของ จม.รอรักที่ว่า ได้ส่งไฟล์มาให้แบบติด ZIP บอกว่าต้องทำข้อไหนๆ บ้าง และมีคำตอบว่า ที่เราต้องตอบคือเพราะเราเป็นเจ้าของ
จึงขีดเส้นใต้จดและจำว่าปีหน้าและปีต่อๆไปเราต้องตั้งหลักและลงมือทำ แหร่มจังเลยที่ได้เรียนรู้อะไรๆ นอกสาขาจากที่ได้ร่ำเรียนมา นอกจากจดข้อมูลให้ตัวเองแล้ว จึงขอเขียนจดหมายน้อยไปถึงคนที่ทำหลักสูตรให้กับบรรณารักษ์ทั้งหลายว่า จงใส่ทุกสาขาวิชาลงไปในหลักสูตรของเราด้วยเพราะจะเกิดผลต่อในภายภาคหน้า จะได้ไม่ลำบากเหมือนรุ่นป้าๆ ที่ทำไปงงแอนด์งม … เก๋นะหลักสูตรนี้
เรื่องนี้คุยกับหนูใหญ่ว่าไฉนข้าพเจ้าไยต้องมารับรู้เรื่องนอกศาสตร์ หลังจากที่ลากถูกันไปฟังเรื่อง Business Continuity Plan-BCP ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับ fw mail จากบุคคลนิรนาม
ก่อนไปมีคนถามว่าเป็นเรื่องอะไร ตอบไปว่าเป็นเรื่องที่มากกว่าความเสี่ยง ในฐานะที่หนูใหญ่เป็นกรรมการอยู่ด้วยจึงให้ไป ความจริงหัวหน้าฝ่ายที่เหลือจะต้องไปด้วย แต่เจ้าภาพบอกว่าขอสองคนค่ะคุณพี่ขา … พิจารณากันแล้วสรุปว่าดิฉันเป็นคนเรื่อง”เยอะ” จึงสนับสนุนให้ไปงานนี้
ดิฉันสรุปแบบงึมๆ ในใจว่าเรื่องนอกศาสตร์ แต่เป็นเรื่องในองค์กรมันคือความจำเป็นที่ต้องรู้ โดยเฉพาะพวกมีมงกุฎ หรือชฎาครอบ หรือบางทีก็เป็นหัวลิง หัวยักษ์และหัวมาร
คุณใหญ่เขียนรายงานไปแล้ว ก่อนเขียนบอกดิฉันว่า จองๆๆๆๆ ดิฉันบอกเชิญเถอะจ้าเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ดิฉันจะขออ่านแล้วกัน http://202.28.73.5/snclibblog/?p=26867   อ่านแล้วมึนๆ พอประมาณ ไม่ทราบวาน้องหนึ่งอ่านแล้วยัง
คุณใหญ่จบตอนสุดท้ายว่า …ดังนั้นเรามาคิดกันได้แล้วว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ห้องสมุดของเราเปิด ดำเนินการได้เร็วที่สุดเพื่อสามารถให้บริการผู้ใช้บริการได้มากที่สุดเมื่อ เราประสบกับภัยพิบัติ …. ถ้าคิดไม่ออกแบบนี้ตอบ PART ไม่ได้ค่ะ อิอิ
แต่แนวคิดแบบนี้เอาไปเขียนในเอกสารทางวิชาการละก้อมันยอดมาก อันนี้คือความแตกต่างระหว่างนักวิชาการกับนักปฏิบัติการ ที่ไปทางใครทางมัน แต่ทางนั้นต้องสนับสนุนและเกื้อกูลกัน อย่าได้มาบอกหรือเปรียบเทียบทีเดียวเชียว
เนื่องจากหนูใหญ่บอกว่าเกรงว่าดิฉันจะค้อนเลยนำเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับ BCM และ BCP ไปในงานของตัวเองแบบเนียนๆ ไปในเนื้องาน พร้อมกับสำทับดิฉันด้วยเสียงอันดังว่าทำแล้วเฟ้ย
สรุปว่า PART มาจากคำว่า Performance Assessment Rating Tool แปลว่า การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ หลักการเกิดขึ้นมาหลังจากที่มีการนำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์มาใช้
ในระบบการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ประกอบด้วย กระบวนงานหลักอยู่ 3 กระบวนงาน คือ กระบวนงานวางแผนยุทธศาสตร์ กระบวนงานการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ และกระบวนงานประเมินผลยุทธศาสตร์ จุดนี้เองที่สำนักงบประมาณนำเครื่องมือนี้มาใช้ในกระบวนงานประเมินผลยุทธศาสตร์ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง (Self Assessment)องค์ประกอบของเครื่องมือนี้ จะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ในแต่ละองค์ประกอบก็จะมีคำถาม ซึ่งรวมแล้วมี 30 ข้อ โดย
องค์ประกอบที่ 1 แสดงจุดมุ่งหมายและรูปแบบ มีคำถามให้ตอบ 6 ข้อ ก็จะถามเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล การกำหนดกิจกรรมนำส่งผลผลิต เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 2 เป็นเรื่องของการวางแผนกลยุทธ์ มีคำถาม 6 ข้อ ถามเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย รายละเอียดของแผน การรองรับการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 3 ชื่อว่าการเชื่อมโยงงบประมาณ มีคำถาม 5 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายรายปี ขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดทำต้นทุน เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 4 การบริหารจัดการ มี 7 คำถาม เช่น การจัดการข้อมูล การกำหนดผู้รับผิดชอบการวัดผล การจัดทำระบบบัญชีและการรายงานฐานะทางการเงิน เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 5 เป็นเรื่องผลผลิต/ผลลัพธ์ มีคำถาม 5 ข้อ ถามเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลผลิต ผลลัพธ์ การแสดงประสิทธิภาพ การเปรียบเทียบผลงานกับหน่วยงานอื่น เป็นต้น
ในการประเมินตนเองนี้ ก็จะมีการให้คะแนนในแต่ละข้อ มีคะแนนรวม 100 คะแนน หากผลการประเมินมากกว่า 85 คะแนน จะแสดงผลเป็นสีเขียว ระหว่าง 60 – 85 คะแนนก็จะสีเหลือง ต่ำกว่านั้นก็จะเป็นสีแดง เหมือนไฟจราจร การนำเสนอผลข้อมูลก็จะแยกให้เห็นว่าเรื่องใดที่มีคะแนนต่ำ และข้อใดมีคะแนนสูง ก็จะนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ลอกมาจ้าจากที่นี่ http://www.gotoknow.org/posts/16559
เป็นศัพท์แสงที่ยากอยู่เอาการ ดิฉันมักมองเอกสารพวกนี้ด้วยแว่นตาสีชมพูว่า คนคิดท่านช่างคิด แต่ความช่างคิดนั้นน่าจะดีและรุ่งเรื่องหากมีคนนำผลของกระบวนการที่คิดในระดับชาติ มาแปลงกับงานของเราแม้จำเป็นหน่วยเล็กๆ ก็น่าจะดีไม่น้อย
เพราะเนื่องจากหน่วยงานของเราเป็นเพียงแค่อณูเดี่ยว … หอสมุดฯ ทุกแห่งรวมข้อมูลส่งไปให้ สำนักหอสมุดกลาง ทุกหน่วยงานส่งไปเป็น PART ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
เราไม่เคยเห็น PART ในภาพรวม แต่ก็อยากทำในอณูเล็กๆ ให้ดีที่สุด พร้อมที่สุด ตามประสาเป็นคน “เยอะ” จึงโหลดเอกสารจากสำนักงบประมาณ มาอ่านแบบทุกตัวอักษร ไม่มากไม่น้อยแค่ 69 หน้าเอ๊งงงง พร้อมกับจำๆ ทำ Mindmap กลางอากาศว่าสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง อย่าได้ริ print มาเชียว เพราะจะกองๆ อยู่ตรงนันแหละจ้าพี่น้อง … งานนี้เห็นใจน้องศักดิ์ดา เพราะข้างๆ โต๊ะคุณพี่ไม่ไหวจะเคลียร์!
คิดต่อไปว่าห้องสมุดของเราทำโครงการที่ต้องใช้งบประมาณทั้งนั้น เวลารายงานผล อาจไปกันกันคนละเรื่องที่เจ้าของงบประมาณต้องการอยากรู้ รวมทั้งงานประกันคุณภาพทั้งหลายที่ประสงค์จะให้ตอบคำถามเรื่องนี้
จึงคิดที่จะใช้ความ “เยอะ” ของตัวเอง ออกแบบสอบถามที่เมื่อวิเคราะห์ผลออกมาแล้วสามารถตอบคำถามจากทุกแห่ง ทุกหน่วยงาน ทุกบริบทให้ได้ เพราะการเตรียมไว้ล่วงหน้าจะได้ตอบแบบชัดถ้อยชัดคำ ไม่ต้องมาอ้ำอั้งดำน้ำ บุ่๋ง บุ๋ง ….
ฝันล้วนๆค่ะ แต่ทำแบบนี้ฝันก้อหวานได้นะ จะบอกให้!
ปล. ว่าที่ผู้บริหารในอีกสิบปีข้างหน้าโปรดศึกษาไว้จ้า

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร