ไปหา หมอ นวด มา

1 June 2009
Posted by Somkieat Chatchuenyod

ได้มีโอกาสพาแม่ไปโรงพยาบาล เพราะแม่มีอาการกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอักเสบ ซึ่งทีแรกก็บวมมากนึกว่าเป็นกระดูกเสื่อมซะแล้ว แต่พอได้พาไปหาหมอกระดูกมา ก็เลยรู้ว่าไม่ใช่ แล้วผ่านไปสองอาทิตย์ก็ดีขึ้นจากการนวด นวด แล้วก็นวด แต่ก็ยังมีอาการขัดๆ ไม่สะดวกเท่าไหร ก็เลยพาไปหาหมอ แต่เป็นหมอนวดที่โรงพยาบาลให้ลองนวดดู ก็ปรากฏว่าเข่าหายตึงยุบมาเกือบปกติ มีตึงบ้างหย่อนบ้างแต่ก็เดินได้ดีขึ้น อารมณ์ก็ไม่เครียด
สาเหตุที่เป็นก็คือไปนั่งยองๆซักผ้าอยู่ท่าน้ำหน้าบ้านเป็นชั่วโมงๆ แล้งรุ่งขึ้นอีกวันยังไปเดินชอปปิ้งตลาดนัดที่วัดใกล้บ้านอีกครึ่งวันก็เลยเป็นอาการอย่างว่า แต่ขอโทษนะครับขาเจ็บ แต่สมองและความคิดแกไม่ได้ป่วยไปด้วยนะจะบอกให้ ตั้งแต่จอดรถให้ลงแล้วไปนั่งรอบนตึกโรงพยาบาลแล้ว นั่งแปะก็ต่อมช่างคุยเริ่มต้นทันที เจอเพื่อนรู่นเดียวกันก็ได้ความรู้มาว่า ม่านพระอินทร์เอาไปตากแดดแล้วต้มกินแก้อาการตึงๆหย่อน ปวดๆ ได้
ในระหว่างนั้นเดินไปห้องเวชระเบียนเพื่อทำเรื่องเบิกจ่ายตรงก็ยังไปคุยกับน้องๆที่ให้บริการ ก็ยังเสนอขายตรงความรู้โดยแนะนำบอกเขาเรื่องสรรพคุณของหญ้านี่อีก มีน้องที่ทำงานในนั้นอีกหลายคนก็ร่วมคุยบอกเรื่องสรรพคุณของหญ้าหรือสมุนไหรตัวอื่นๆอีก สักพักยายคนที่แกคุยด้วยเรื่องม่านพระอินทร์ก็ปรากฏตัวพร้อมม่านพระอินทร์ในมือ เอามาให้กะมือทั้งต้นทั้งราก เดินไปห้องนวดในระหว่างนวดๆก็หูหาเรื่องราวความรู้ดีจริงแท้ อุตสาห์ได้ยินหมอนวดคนอื่นๆ เค้าคุยเรื่องยาสมุนไหรอะไรก็ไม่รู้ ก็บอกให้หมอที่นวดไปเอากระดาษมาจดแล้วก็ต่อเรื่องคุยกับเค้าได้ อายไหมล่ะไอทีแมน กำลังคิดเรื่องงานอยู่เลยต้องวางใจลงนอนฟังเขาคุยกัน ท่าจะจริงอย่างเขาว่าคนมีอายุแต่สมองไม่ได้แก่ตามอายุถ้าได้ฝึกสมอง พูดคุย ความรู้ที่สั่งสมมาล่ะก็พรั่งฟรูจนไม่รู้จะเก็บยังไงไหว
ผมลองนึกตามว่าถ้าจะหาที่เก็บความรู้แบบมีชีวิตชีวาพวกนี้เราจะต้องใช้เนื้อที่แค่ไหน แต่ความรู้มันไม่ควรเก็บไม่ใช่เหรอ รุ่นแม่ รุ่นยาย รุ่นต่างๆ เค้าไม่เห็นหวงความรู้และไม่กลัวว่ามันจะถูกนำไปจดสิทธิบงสิทธิบัตร เพราะ(ผมคิดนะ)ทุกคนคือลูกหลาน เรื่องอาหาร การกิน ยารักษาโรคบอกต่อแล้วสบายใจ ได้บุญ ความดันก็ไม่มีเพราะได้ระบายออกไปแล้ว เพราะมีคนฟังแล้วเอาไปทำไปปฏิบัติแล้วดีขึ้นเขาก็ชื่นใจ ได้ใจ มีความสุข แตกลูกออกหลานความรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด อีกอย่างไอ้ที่ใครเคยรำคาญว่าคนแก่พูดอะไรย้ำอยู่นั่นแหล่ะ แต่ลองฟังดีๆเวลาแกให้ความรู้เรื่องราวที่สำคัญแกเหมือนอยากบอกให้หมดสิ้นทุกกระบวนความแล้วย้ำตรงที่สำคัญ จำเป็น เป็นแก่น แล้วบางทียังประกันคุณภาพตัวเองเสร็จสรรพว่าลองมาแล้ว
ตอนนี้ทุกวันแม่ผม 74 แล้วยังเรียนอยู่เลย การศึกษาจบป 4. แต่ยังเข้าฟังเล็กเชอร์ อ่านไม่ผิดครับ แม่ผมฟังแล้วเล็กเชอร์ แกฟังวิทยุรายการเกษตร ของ มอ เกษตร ฟังหมอชาวบ้าน หรือรายการที่ให้ความรู้เรื่องอาหาร ยา และอื่นๆ วันละหนึ่ง สอง สาม ชั่วโมงแล้วแต่ แกก็จดของแกไป จดทันไม่ทัน ถูกผิด แกก็จด ชอร์ทโน๊ตก็มี เครื่องมือในการเรียนก็หาเอาเท่าที่หาได้ แต่การกระหายความรู้นี่สิ ผมว่าผมยอมแพ้ตลอดไปนะ ไม่คิดว่าอยากจะชนะแกเลยเพราะสิ่งที่แกได้มาเมื่อไหร่ได้คุยกันก็เมื่อนั้น สมองบวมไปหลายวัน ว่าจะทำ Web Blog ให้แกท่าจะดีไหมนะ ห้องสมุดสนใจอยากมีวิทยากรรุ่น 70 ไหมครับ หรือไม่ก็ทำชมรมความรู้รุ่นเก๋า ความรู้มีชีวิตเพราะไม่ยึดติดความรู้ พูดถึงกระหายความรู้ ผู้ใหญ่เนี่ยบ้างทีต้องมีท่าไว้ท่านะ ผมบอกว่าจะซื้อโทรศัพท์ให้หลายครั้งแล้วก็เกิดอาการเกรงใจ กลัวเสียเงิน กลัวใช้ไม่เป็น แต่ขอโทษครับตอนนี้ถามตลอด ทำตกแบบระจายบ้าง แต่ก็ประกอบได้เองโดยผมบอกผ่านโทรศัพท์บ้าน ประกอบแล้วลองโทรไปเช็คดูก็อืมโอเคใช้ได้ ความกลัวเริ่มหมดไป ดีนะที่เปิดเบอร์แบบเติมเงินไม่งั้นสงสัยค่าทดลองโทรบาน (ล้อเล่นนะแม่)
จริงๆแกยังโทรออกไม่คล่องเท่าไหร่แต่ก็เริ่มถามเรื่องที่สงสัย ก็เลยมีเรื่องคุย บางทีคุยกันเป็นชั่วโมง ว่าจะขอคุณบุญชัย Dtac ให้ออกโปรโมชันคุยกับแม่ คุยจนแบตหมด สามบาท ไม่รู้แกจะว่ายังไง แต่ผมคิดโปรโมชันนี้ไม่ได้คิดเอาแบบฟรีหมดนะ ถ้าได้โปรโมชันนี้ผมจะคุยกับแม่แก พูดคุยซักถามให้แกพูดความรู้ออกมา แล้วเก็บบันทึกทางใดทางหนึ่ง เผยแพร่บอกต่อ ถ้ารุ่นลูกรุ่นหลานมีเวลาตอนไหน แล้วช่วยกันโทรหาคุณทวด คุณตาคุณยาย คุณปู่คุณย่า ญาติๆคนอื่นๆ แล้วมีคำถาม ปัญหาก็ถามแล้วตอบ จากคนที่รู้จักมักคุ้น เชื่อถือได้และทำได้ (ประกันคุณภาพพร้อม Compentency) ขยายออกไปเรื่อยบรรยากาศเหมือนไปนวดที่เล่าให้ฟัง เครือข่ายสังคมความรู้คงมีการขยายอย่างไร้ขอบเขต ไร้ข้อที่บอกว่าทำไม่ได้ เพราะโลกนี้มีคนช่วยได้ในทุกเรื่อง ในทุกที่ ทุกสถานการณ์ ทุกเวลาถ้าโทรฟรีได้หมด แฮ่ะๆ
กระบวนการการจัดการความรู้คงไม่ต้องเริ่มจากอะไรหรอกนะผมคิดว่า เริ่มจากการได้เปิดการพูดคุยกับคนใกล้ตัวใครก็ได้ ไม่ต้องเป็นคนที่ทำงาน หรือเป็นเรื่องซีเรียสจริงจัง ทำไมคนเมื่อก่อนไม่เครียด ไม่ใช่ว่าเขาไม่มีอะไรจะเครียดนะผมว่า แต่ผมว่าเขามีสังคม สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายแล้วก็มีลูกหลานร่วมฟัง ปรึกษาหารือ มีการพูดคุย ทดลองปฏิบัติ เห็นภาพเห็นผล เกิดการต่อติดของความรู้ภายในบ้าน ภายนอกบ้าน ซึ่งน่าจะนำมาใช้ในมี่ทำงานด้วย ทำให้ไม่มีช่องว่างของความไม่เข้าใจทั้งตัวคนและความรู้ที่เป็นแก่นที่ควรจะนำไปปฏิบัติได้จริง มากเหมือนสมัยนี้ ทักษะในการซักถาม พูดคุย การต่อประเด็นทางความรู้ความเข้าใจ ความคิด ในเรื่องต่างๆจะสามารถทำให้การทำงาน เรื่องทางบ้าน และวิถีการดำเนินชีวิต ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกแยกกันอีกต่อไป ประกอบกับการเรียนรู้เรื่องความอดทน จากการทำงานที่ลงมือปฏิบัติจริง ได้ผลจริง เช่นทำนา ทำไร่ ทำสวน แล้วเจอปัญหาจริงๆ หรือแม้แต่เรื่องในครอบครัวก็คงมีปัญหาไม่แพ้คนสมัยนี้ แต่ความอดกลั้น การนึกถึงครอบครัว หรือส่วนรวมเป็นหลัก ก็น่าจะเป็นตัวเชื่อมไม่ให้เกิดความแตกแยกในหลายอย่างเหมือนในสังคมสมัยนี้
กระบวนการจัดการความรู้ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร แต่ถ้าไม่สามารถมองเห็นถึงการเชื่อมต่อกับความเป็นไปของสภาพสังคมโดยรวมทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกได้ มันก็อาจจะเป็นการจัดการความรู้ที่เป็นแค่ระบบฐานข้อมูลแบบเก่า ที่ไม่เป็นแม้แต่ยุ่งฉางข้อมูลความรู้ที่มีการเติมเติมในทุกฤดูการหลังเก็บเกี่ยวหรือเสียโอกาสเมื่อฟ้าฝนทางความรู้มาถึงก็ไม่มีที่เก็บที่มีประสิทธิภาพและมีภูมิปัญญาพอที่จะดูแล เอาใจใส่และนำไปใช้เมื่อคราที่จำเป็นจริงๆ อืมว่าแล้วก็อยากไปนอนเล่นในยุ้งฉางท้องนาซักทีเหมือนตอนเด็กๆมัธยมได้มีโอกาสทำ อย่างน้อยอากาศจากท้องนาก็น่าจะทำให้สมองตื่นรับรู้ เรียนรู้อะไรได้อีกมาก ไม่ใช่แค่ออกซิเจนที่มีมากแต่น่าจะเป็นกลิ่นดินสาบโคลนและควายที่จะเตือนอยู่เสมอว่ายังมีอะไรๆที่ต้องทำเพราะอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจไปเข้าโรงเรียนเรียนทำสวนทำนาใหม่ถ้าปล่อยไปไม่เอาใจใส่สิ่งที่ดีที่งามที่มีอยู่จนหลงลืม ขอโทษนะเพื่อน(ควาย)ที่พาดพิง
TaKiatShi ไปก่อนล่ะ ว่าจะไป นวดใหม่ หึหึ น่าจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก

3 thoughts on “ไปหา หมอ นวด มา

  • แต่ละคนต่างมีเรื่องราวอะไรมากมายสะสมตามอายุ ใครบอกว่าไม่มีอะไรนั้นไม่จริง เพราะที่จริงๆ แล้วมี (มากด้วย) แต่ด้วยความคุ้นเคยจึงบอกว่าไม่มี
    ฝากข่าวถึงพี่เพชรเจ้าพ่อค้ายา… (สมุนไพร) อยู่ไหนรือ มาขยายต่อเรื่องม่านพระอินทร์ให้ฟังหน่อยดิ
    อ่านเรื่องแม่เธอแล้วนึกถึง Susan Boyce จัง

  • เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาไปเก็บข้อมูลที่คูบัว ราชบุรี ได้คำมาจากอาจารย์สุรศักดิ์ คิดว่าน่าสนใจ “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ที่หมายถึง ข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลที่เป็นผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน หรือคนอื่นผ่านการบอกเล่า หรือการสอน การกะทำที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นตำรา เช่น การทอผ้า การทำจักสาน (ไม่รู้ว่าสรุปได้ถูกต้องหรือเปล่า) ยังจำได้ว่า เมื่อตอนเด็กๆ ตอนที่ตาแก่มากแล้ว มีญาติมาขอสูตรยาสมุนไพร (ตาเป็นหมอยาสมุนไพร) ได้ยินว่า เขาจะเอาไปช่วยคนไม่รู้จริงหรือเปล่า? ตาก็ให้ไปโดยวิธีการบอก เพราะตำราของตาไม่มีการจด แกใช้วิธีจำ และกะชั่งน้ำหนักจากความเคยชิน เราเห็นจนชินตากับการที่บ้านมีสมุนไพรตากไว้เต็มบ้าน ทุกวันนี้เสียดาย ที่ตอนนั้นไม่ได้สนใจ ไม่อย่างนั้นจะได้รวยแข่งกับพี่เพชร 5555

  • ความรู้จากตัวบุคคลนั้นหากถ่ายทอดต่อกันไว้คงไม่สูญหายไปมากมายเหมือนทุกวันนี้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร