Strategy Knowledge-Management Implementation

องค์กรจะอยู่รอดในยุคของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน จำเป็นต้องนำกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้ ด้วยกระบวนการ สร้างฐานความรู้ในองค์กร โดยจัดการความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบและสะดวกในการนำไปใช้ประโยชน์ ด้วยการค้นหา สร้าง เก็บ รวบรวม เผยแพร่ ถ่ายทอด และแบ่งปันความรู้
การจัดการความรู้ในองค์กรห้องสมุด เป็นเครื่องสำคัญสำหรับการบริหารจัดการองค์กร การจัดทำ KM ในห้องสมุด ก็เพื่อเป็นการสร้างวิสัยทัศน์ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ให้บุคลากรทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดคุณค่า และการสรรสร้างนวัตกรรม ด้วยการมีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ซึ่งนับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรห้องสมุด การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ที่มุ่งเน้น พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เกิด ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ ความศรัทธา ในการสร้าง Performance, Competency ,Potential, Talent, Base-Management
 โดยจัดทำ Knowledge management plan เพื่อนำไปสู่ Knowledge Social ซึ่งมีองค์ประกอบทื่สำคัญคือ 1) ด้านเทคนิคบนเว็บเพจ 2) การสอนการทำ KM 3) การมีส่วนร่วมใน KM 4) การกำหนดกลยุทธ์และแต่งตั้ง CKO Knowledge 5) กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้ 6) ระบบ IT Knowledge management 7) ระบบบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management System โดยจะต้องทำให้เกิดกระบวนการดังนี้
1. สร้างฐานความรู้ เพื่อให้เกิด Creative ให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ กระตุ้นให้เป็นผู้สร้างและใช้ความรู้สู่โครงการ ด้วยการจัด Activity การดำเนินการฝึกอบรม KM E-learning Self learning เช่น กำหนดว่า บุคลกรควรจะทำ KM 1 เรื่องในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเรื่องจะต้องเกี่ยวกับเทคนิคการทำงาน แล้ว Post ขึ้นระบบ เป็นต้น
2. ขับเคลื่อนบนฐานข้อมูล โดย ทำ KM บน IT โดยแต่ละปีมีการเผยแพร่ความรู้ที่สนับสนุนกลยุทธ์ เพื่ออนำไปสู่Knowledge Social
3. สร้างเครือข่าย Knowledge Management
ซึ่งการบูรณาการกลยุทธ์ Knowledge Management เพื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้สำเร็จนั้น องค์กรต้องมี วิสัยทัศน์ (vision HRD) โดยขับเคลื่อนด้วย พันธกิจ (mission) เป้าหมาย (Goal) และ ค่านิยม (Value) กลยุทธ์ (Strategy) ต้องขับเคลื่อนด้วยคน
แต่ทั้งนี้ การจัดการความรู้ในองค์กรจะไม่สามารประสบความสำเร็จได้ ถ้าบุคลากรในองค์กรไม่รับการเปลี่ยนแปลงองค์กรก็ไปไม่รอด ตามแนวคิดทฤษฎีของ Peter M Senge กล่าวว่า การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ต้อง System Thinking ด้วยการขับพลังจิตใจให้ใฝ่เรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
2. ต้อง Mental Model ไม่ยืดติดกับสิ่งเก่า ๆ เน้นโลกการคิดสร้างสรรค์
3. ต้อง Share vision การเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล แล้วนำไปประยุกต์ใช้ใน องค์กร(Application to an organization) นำสู่การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Development of shared vision) มีการเปิดกว้างทางความคิดเพื่อเปิดโลกทัศน์เชิงพัฒนา ผสานทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
4.ต้อง ทีม learning การเจรจาและพูดคุย จัดการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ Moral Ethic และนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
5. ต้อง Personal mastery เป็นผู้แสวงหาความรู้ Self development จะเกิด setting Goal ซึ่งจะต้องจัดระบบการจัดการความรู้ Knowledge Management System คือ Explicit Knowledge ที่เกิดจากหลักการแนวคิด Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ เช่น e-Product Knowledge ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้าง Culture Organization Knowledge เช่น Policy CSR มีการประชาสัมพันธ์ มี Web board ให้บุคลากรตั้งกระทู้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร