ไปเที่ยวโบราณสถาน เตาเผาแม่น้ำน้อย จ.สิงห์บุรี

หลังจากที่พี่ตาไปไหว้พระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง แล้ว ได้เดินทางไปเที่ยวชมโบราณสถาน เตาเผาแม่น้ำน้อย จ.สิงห์บุรี  ซึ่งพี่ตายังไม่เคยไปเที่ยว และอยากจะเห็นว่าเป็นอย่างไร เป็นเตาเผาแบบไหน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
dscf7488_resize dscf7490_resize dscf7481_resize
dscf7413_resize dscf7454_resize1 dscf7455_resize1
dscf7480_resize1
เตาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ ซึ่งเป็นศาสนสถานเก่าแก่มาแต่โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยนี้ กระจายตัวตามแนวลำแม่น้ำน้อยตลอดระยะ 2 กิโลเมตร และจำนวนมากกว่า 200 เตา แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และถูกทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องมาจากมีการขุดคลองชลประทาน และการก่อสร้างถนน

เมื่อเราเข้าไปถึงอาคาร จะมีมัคคุเทศน์น้อย เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม โรงเรียนวัด มาต้อนรับจำนวน 3 คน เพื่อพาชม แต่ก่อนอื่นต้องไปไหว้องค์พระปรางค์ ที่วัดพระปรางค์ก่อน แล้วจึงพามาดูทีละเตา มีประมาณ 5 เตา ที่ขุดพบแล้ว และยังมีเตาเผาที่ยังไม่ได้ขุดในบริเวณโบราณสถานเตาเผาแม่น้อยแห่งนี้อีก

dscf7429_resize1 dscf7435_resize dscf7422_resize


พื้นที่ในบริเวณโบราณสถาน ยังมีโบราณสถานเก่าแก่
dscf7451_resize dscf7439_resize dscf7443_resize
dscf7441_resize dscf7442_resize
dscf7452_resize dscf7445_resize
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ทราบว่าในรัชสมัยของพระนครินทราชาได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างใกล้ชิดกับจีน และสันนิษฐานว่ามีชาวจีนรวมถึงช่างปั้นอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้ หรืออาจเป็นการนำช่างจากสุโขทัยลงมา นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงการค้นพบภาชนะดินเผาที่เชื่อมาว่ามาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อยในแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ และตามแหล่งเรือจมทั่วโลก สันนิษฐานได้ว่าเตาแม่น้ำน้อยน่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในปี 2531 บริเวณหน้าวิหารเก่าของวัดพระปรางค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ 3 เนินเชื่อมต่อกัน โดยค้นพบเตาเผาภาชนะดินเผาซ้อนทับกัน 5 เตา เป็นเตาประทุนก่ออิฐสอดิน แบบกระจายความร้อนในแนวระนาบ โดยโครงสร้างของเตาแบ่งเป็น 3 ส่วน
คือ ส่วนหน้าใช้เป็นที่ใส่เชื้อเพลิงกว้าง 2.50 เมตร มีกำแพงกั้นไฟกว้าง 5 เมตร ต่อด้วยส่วนที่ใช้วางภาชนะในห้องเผากว้าง 5.60 เมตร แล้วจึงเป็นส่วนคอดเข้าคอเตาสู่ปล่องไฟกว้าง 2.15 เมตร มีความยาว โดยตลอดตัวเตาทั้งสิ้น 16 เมตร
ผลิตภัณฑ์จากเตาเผาแม่น้ำน้อยได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นไหสี่หู ครก โอ่งอ่าง กระปุกใส่ปูน ขวดปากแตรทรงสูง หวด ฝา เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมจำพวก กระเบื้องปูพื้น ประติมากรรมลอยตัว กระสุนดินเผาขนาดต่าง ๆ ที่เป็นการผลิตแบบสั่งทำเพื่อใช้ในเขตพระราชฐาน หรือสถานที่สำคัญที่พบได้แก่ พระราชวังโบราณพระนครศรีอยุธยา และนารายราชนิเวศน์ เป็นต้น
สันนิษฐานว่าเตาเผาแม่น้ำน้อยหยุดใช้งาน น่าจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนในพื้นที่รวมตัวกันต่อต้านกองทัพข้าศึกที่หมู่บ้านบางระจัน แล้วถูกกวาดต้อนไปเมื่อเสียทีแก่ข้าศึกในเวลาต่อมาเป็นเหตุให้เตาถูกทิ้งร้างไปภายหลังการเสียกรุงครั้งที่สอง
นอกเหนือจากเตาเผาที่ทางวัดพระปรางค์ได้พยายามอนุรักษ์โดยสร้างอาคารมุงสังกะสีคลุมไว้ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อยขึ้น เป็นอาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันสองหลัก หลังแรกเป็นอาคารโปร่งโล่งคลุมเตาเผาไว้ 2 เตา โดยยกพื้นโดยรอบตัวเตาเผาเพื่อที่ผู้ชมสามารถเดินชมตัวเตาเผาได้โดยรอบ บริเวณทางเดินมีนิทรรศการที่ให้ข้อมูลโดยสังเขปของแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนอาคารหลังที่สองจัดแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้
เตาจำลอง

dscf7416_resize1 dscf7417_resize dscf7418_resize

เตาจริงที่ได้ขุดพบ และได้ทำหลังคาคลุมไว้

dscf7472_resize dscf7456_resize1
หน้าเตาสำหรับใส่เชื้อเพลิง
dscf7458_resize

พื้นบนเตาสำหรับ

วางภาชนะที่จะเผา                ปล่องควันออก

dscf7459_resize dscf7460_resize

ภาพเตา 1 เตา

dscf7461_resize dscf7464_resize

เตา 2 เตาคู่              ภาชนะที่แตกยังคงค้างอยู่บนเตา

dscf7462_resize1 dscf7463_resize

dscf7465_resize1 dscf7467_resize

dscf7468_resize dscf7471_resize dscf7473_resize

dscf7476_resize

ไหสี่หู ไหสี่หูเป็นสัญญลักษณ์คู่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี

dscf7484_resize dscf7493_resize

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร