รักวัวให้ผูก รักลูกให้…?

29 August 2012
Posted by worra


1355561

จากกรณีที่นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์  เลขาธิการสภาการศึกษา  เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติว่า ที่ประชุมได้มีการหยิบยกเรื่องการเปลี่ยนคำในสุภาษิตไทยขึ้นมา  โดยมีการเสนอให้เปลี่ยนสุภาษิตที่ว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เป็น รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ที่จะช่วยเติมเต็มความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้นนั้น  และเพื่อใช้เป็นนโยบายยุทธศาสตร์การศึกษาปฐมวัยและดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 โดยจะมีการเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้
แต่มีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านในเรื่องนี้   ออกมาแสดงความคิด และให้มุมมองในกรณีนี้ว่า :
ศ.ดร.กาญจนา  นาคสกุล ราชบัณฑิตด้านภาษาไทย สำนักศิลปกรรมราชบัณฑิตยสถาน มองว่าเป็นเรื่องประหลาด สุภาษิตคำพังเพยเป็นคำโบราณที่มีมานานแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแต่ควรสร้างคำใหม่    ซึ่งเห็นว่าของเก่าดีอยู่แล้ว และที่เด็กไทยปัจจุบันเสีย ส่วนตัวเห็นว่าเพราะผู้ใหญ่ไม่ตีเด็ก ส่วนการกอดก็สามารถทำได้แต่ไม่ใช่ทุกกรณี

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตรระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ กล่าวว่า  การเปลี่ยนแปลงสุภาษิตคงทำได้ยาก เพราะเป็นวิถีชีวิตคงคนดั้งเดิมจนมาถึงปัจจุบัน   เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรเปลี่ยนสุภาษิตแต่ควรเปลี่ยนค่านิยมมากกว่า  สำหรับการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่การตีก็ยังใช้ได้ผลดีอยู่แต่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึงตีลูก
รศ.ยุพร แสงทักษิณ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประจำปี 2555 ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ขอเสนอแนะให้แต่งคำขวัญขึ้นมาใหม่เพื่อใช้รณรงค์ตามวัตถุประสงค์ ไม่ควรเอาสำนวนไทยโบราณมาดัดแปลง โดยเฉพาะกรณีดังกล่าว วรรคหลังที่แต่งขึ้นใหม่ ไม่สอดคล้องกับวรรคหน้าอย่างชัดเจน   และยังอธิบายประโยคว่า “รักวัวให้ผูก” เป็นการทำโทษผูกวัวที่มักเดินไปที่ต่าง ๆ แล้วสร้างความเสียหาย เพื่อไม่ให้วัวเดินไปเหยียบไร่นาของชาวบ้าน แล้วถูกทำร้าย เพื่อให้มันปลอดภัย ส่วน “รักลูกให้ตี” หมายความว่าเป็นการลงโทษลูกด้วยความรัก ให้เกิดความเข็ดหลาบ ไม่กระทำความผิดอีก ในสมัยโบราณใช้วิธีการตี แต่ในปัจจุบันอาจเป็นการตัดลดเงินค่าขนมก็ได้ ทั้งสองวรรคจึงหมายถึงการลงโทษด้วยความรักเพื่ออนาคตที่ดีทั้งของวัวและของลูก ดังนั้น หากนำ “รักลูกให้กอด” มาแทน จึงขัดแย้งและทำให้เกิดความสับสนในสำนวนไทย ทั้งนี้ จะใช้ประโยคว่า “รักลูกให้กอด” เพียงวรรคเดียว หรือจะแต่งใหม่ทำนองว่า “กอดลูกวันละครั้ง สร้างพลังความรัก” ก็ย่อมได้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขสำนวนไทยที่ใช้กันมาแต่โบราณ
สุภาษิต  คือ  สำนวนโวหารที่แสดงถึงความคิดสูง  และสืบทอดมาแต่โบราณ  แสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรมทางด้านภาษา  ซึ่งแต่ละภูมิภาค  แต่ละท้องถิ่น และแต่ละชุมชน  กระทั่งแต่ละอาชีพก็มีสำนวนของใครของมัน  คล้านกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง  ทั้งนี้เพราะที่มาไม่เหมือนกันแต่โดยความหมายมักเทียบเคียงกันได้  แม้แต่ภาษาต่างวัฒนธรรมก็ยังมีส่วนคล้ายกันในทางอุปมา

สำหรับสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี” นั้นเป็นคำสุภาษิตไทยโบราณที่มีความหมายว่า ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้  มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไป ส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด

2 thoughts on “รักวัวให้ผูก รักลูกให้…?

  • ความในใจของวัว :: รู้แล้วว่ารักแต่ไม่ต้องผูกได้มั้ย
    (เปลี่ยนให้คนแล้วจะเปลี่ยนให้วัวด้วยได้ป่ะล่ะ)

  • ความคิดเห็นส่วนตัวนะ ต้องตีอย่างเดียว สำหรับสุภาษิตนี้ คำโบราณท่านว่าไว้ ก็ดีอยู่แล้ว คนรุ่นใหม่ เข้าไม่ถึง ในสำนวนโวหารที่แสดงถึงความคิดขั้นสูง และสืบทอดมาแต่โบราณกาล ซึ่งแสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรมด้านภาษา คืออย่ากให้คงไว้ ไม่งั้นเด็กยุคไอที หลงลืม รากเหง้าของสำนวนไทย คือไม่ได้บอกว่า ใครคิดถูกคิดผิด แต่ทุกวันนี้เรารับเอาธรรมเนียมประเพณี (ฝรั่ง) เข้ามาจนไม่รู้ว่า แท้จริงแล้ว เราเป็นคนไทย (หรือเปล่า) เรามีอัตตลักษณ์ของไทย อะไรบ้าง? นักวิชาการเปลี่ยนแปลงกันเสียหมด เคยคิดบ้างไหม แบบเรียน ก กา หายไปไหน? วิชาศีลธรรมหายไปไหน? วิชาหน้าที่พลเมือง หายไปไหน? เราไม่รู้หน้าที่ของตนเอง เลยเกิดเหตุวุ่นวายในบ้านเมืองของเรา

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร