มองนอกกรอบ…ไม่ได้ ตอน 2

e0b981e0b8aae0b887e0b8aae0b8b8e0b894e0b897e0b989e0b8b2e0b8a2

ปราสาทประธาน วันสุดท้ายปลายพนมรุ้ง

…..ย้อนกลับไปคืนเก่า วันก่อน ตอนสมัยจ๋าวๆ 😆 ครั้งนั้นให้บังเอินเอ็นสะท้านไปติด
ณ มอดินแดง แดนดอกคูณเสียงแคน แอ่งอารยธรรมที่ราบสูง
ในครั้งนั้น เหมือนใกล้เกลือกินด่าง หรืออาจเป็นเพราะความสนใจในวัยนั้น ต่างจากวันนี้
โปรแกรมการท่องไปในโลกกว้าง ประสาเด็กหอของเราและผองเพื่อน จึงวนเวียนอยู่กับสายลม แสงแดด ปลาแดก และส้มตำ
แม๋…พูดแล้วเปรี้ยวปาก..น้ำยายไย๋…คืดฮอด ตำบักฮุงแม่ดอน ที่รสชาดเลื่องชื่อ แซ๊บ แซบ แซบหลาย แซบอีหลี
ชีวิตวัยวันนั้นจึงมิได้เคยแวะเวียนเยี่ยมกรายไปยังสถานที่ ที่บัดนี้เป็นประเภทหนึ่งในใจ ที่มีโอกาสคราครั้งใด ก็ต้องหาช่องไป
เช่นการเดินทางทริปนี้ บนเส้นทางไปและกลับอุบล ป้ายที่ชี้ชวนให้นึกอยากตลอดเส้นทาง คือ แหล่งท่องเที่ยวประเภทปราสาทหิน
ซึ่งเราว่าเยอะมากกกกก โดยเฉพาะเมืองของท่านห้อยยยยยย :mrgreen: อ๊ะอ๊ะ เรามิได้เอ่ยออกนามนะ
เอกลักษณ์แบบนี้คงมิมีใครทันคิดขอจดลิขสิทธิกระมัง อ่ะเจ้ยๆ ๆ คริ คริ…
ขาไปก็เก็บข้อมูลไป กลั่นกรองไป ว่าจะแวะปราสาทไหนดี ตอนกลับ เพราะถ้าจะแวะหมดคงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน
และขาไปมีภาระกิจต้องไปทำให้ลุล่วงรออยู่ จึงต้องหมายมั่นตั้งใจไว้ขากลับ 😆 แบบแอบหวังเล็กๆ ว่าคุณโชเฟอร์ขา..คงใจดี..น๊าาา
แล้วเธอก็เมตตาจริงๆ เลยได้รูถ่าย เอ้ย!! รูปถ่ายงามๆ งามปล่าวม่ายรุ๊!! มาให้ชมกันจ้ะ

e0b89ae0b8a3e0b8a3e0b893e0b8b2e0b8a5e0b8b1e0b8a2

ยลตามช่อง มองเห็นบรรณาลัย

สังเกตดูก็พบว่า บริเวณหน้าบันของปราสาทประธานในภาพแรก แต่ละด้านมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู หลากเรื่อง
ที่สำคัญดังในรูป ก็คือ ทับหลังที่จำหลักรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อันโด่งดังนั่นเอง
และเมื่อเยี่ยมๆ มองๆ ยลตามช่องหน้าต่าง ก็ให้มาเจอมุมเหมาะเข้า ทางด้านหน้าของปราสาทประธาน
ซึ่งถ้าเราไม่หลงทิศทาง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและเฉียงใต้ นี้มีอาคารสองหลัง ก่อด้วยศิลาแลง
เราว่าน่าจะใช่นะ สิ่งก่อสร้างนี้ คือ บรรณาลัย เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา
แหละ… ก่อนจะจากลามา ก็แวะเวียนไถ่ถามช่วงเวลาชมปรากฎการณ์อัศจรรย์
พระอาทิตย์ขึ้นลงตรงกันหลายสิบช่องพร้อมๆ กัน ….แบบทีวีพูล อ๊ะปล่าวม่ายรุ๊

 

อัศจรรย์ ตะวันลา ณ บานหลายสิบประตู

 

บางรูปบางมุม อาจละม้ายมืออาชีพ ไปนิดส์ส์ส์ส์ ต้องขออภัยจินๆ คริ คริ 😆 กล้องมันดีน่ะ
…แบบว่า..พยายามถ่ายแบบ “ติดกรอบ” น่ะ เพราะเราว่ามันขลังไปอีกแบบไง

 

รูปอื่นๆ ต่ออีกเล็กน้อยละกันนะ จริงๆ มีมากมาย
กรองมาสัก ๑ ใน……เด๋ว…admin นู๋เอ๋ จาเป็นรามสูร ขว้างค้อน แทนขวานซ๊าาาาาาาาาา

 

 


6 thoughts on “มองนอกกรอบ…ไม่ได้ ตอน 2

  • ต่อครับ…ต่อ…(ต่อต่อยไม่ตายน่ะ…คริ…คริ…)
    แบบว่าท่านใดเข้ามาทู้ ญิ๋งเล็กเนียนะ ต้องทามจาย…แบบว่า ต้องฝึกวิทยายุทธ์สำบัด สำนวน อำๆ นิดส์ส์ส์ส์ นะจ๊ะ
    แบบว่าไง… User เซ่อ อย่างอะฮั้น ทำนู่นนี่นั่น แล้วกลับไม่ถูก จะมาเม้นท์ “สาระ” ต่อจากที่ไร้สาระของตัวเอง
    ปรากฎว่าไม่มีช่องให้เม้นท์ อ๊ะ!! งง งง ดิ ก็ข้อยเองนี่ล่ะที่ งง ไปต่อม่ายล่ายยยยยยย
    เดือดร้อนนู๋เอ๋ (ซึ่งมักเดือดร้อนเป็นประจำไม่ว่าวัน จ-ศ หรือ หยุด ส-อา กับ User เซ่อ อย่างเรา)
    เจรจากันเสร็จ อ้อๆ เอ่อๆ กันไป วางหูก็มานั่งจิ้มดีดต่อ แบบว่าอยากเล้า…อยากเล่าต่อ ง่ะ
    แต่ว่าจาไปต่อล่วยการ อีลิต ก้อกลัวบท(ไม่ได้)ความ ท่อนแรก ที่มีทั้ง อารัมภบ่น และรูป จายาว ยืดยาดดดดด
    ก้อเลย เลือกที่จะมาช่องเม้นท์แทน อาจจาผิดที่ผิดทาง แต่คนอ่านจาม่ายตาลายมากไง
    เหมือนเวลาไปอ่าน อื่นๆ ตรงไหน พอยาวนัก ก็จะมีความอดทนอ่านไม่มาก
    (เฉพาะเวลาอ่าน อะไรในเครื่อง น่ะนะ เพราะตาแก่แล้ว ยายก็หูไม่ดี 55555)

  • 55 นี่ขนาดว่าจะมาต่อ “สาระ” ยังไร้สาระไปซะ ๑ ย่อหน้า เอ้า…สาระเลยละกัน
    ไหนๆ ก็โพสท์รูปและ จะให้ดูแต่รูป อย่างเดียวก็กาไร
    เอาเรื่องราวที่น่าสนใจของ ปราสาทพนมรุ้ง มาฝากดีก่า
    คิดว่าพวกเราคงเคยได้ยิน หรือ อาจมีบางท่านเคยได้ไปสัมผัส
    “ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้น-ลง ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง”
    แต่สำหรับใครที่อยากไปตื่นตากับเรา ก็ตามมาดูข้อมูลกันนิดส์ส์ ก่อนไป…เป็นไร…
    ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู อยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล
    ตั้งอยู่ ณ บ้านตาเป๊ก อ. เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
    พนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่
    ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด
    ดังนั้น เขาพนมรุ้ง จึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
    สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18
    โดยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)
    พระองค์ทรงสถาปนาทวาลัยแห่งนี้เพื่อถวายพระอิศวร
    สันนิษฐานว่าเมื่อแรกสร้างยังไม่ใหญ่โตนัก
    ต่อมาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง
    และสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระ ได้สร้างปราสาทหินพนมรุ้งนี้ขึ้น
    และได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทแห่งนี้
    นอกจากความเป็นโบราณสถานที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศแล้ว ปราสาทแห่งนี้ยังสร้างความตื่นตาตื่นใจไม่เพียงเฉพาะต่อชาวไทย เพราะในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก พากันเดินทางมาเที่ยวดูปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่หาดูได้ที่นี่ที่เดียวในโลก นั่นคือ ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางธรรมชาติดวงอาทิตย์ ขึ้น – ลง ตรงกับช่องประตู 15 ช่อง
    ที่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าถึง 4 ครั้ง ในแต่ละปี ตามการคำนวณ ของ Mr.Mollerrup (นายทอง) ชาวเดนมาร์ค
    ผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษาพิเศษประจำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ด้านการท่องเที่ยว สาขาผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณดาราศาสตร์
    ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ลง ตรง 15 ช่องประตู และสามารถมองผ่าน 15 ช่องประตูของปราสาทด้วยตาเปล่าสำหรับปีนี้
    ครั้งแรก จะเป็นปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ “ตก” ตรงกับวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2552 เวลา 18 นาฬิกา 17 นาที 14 วินาที
    ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ “ขึ้น” ตรงกับวันที่ 2 – 4 เมษายน 2552 เวลา 16 นาฬิกา 3 นาที 24 วินาที
    ทั้ง ๒ ครั้ง ผ่านไปแล้ว แต่ไม่เป็นไร… ยังมีโอกาส อีก ๒ ครั้ง สำหรับปีนี้ วางโปรแกรมดีๆ จัดสรรเวลาล่วงหน้าไว้ แล้วตามเราไป
    ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ “ขึ้น” ตรงกับวันที่ 8 – 10 กันยายน 2552 เวลา 05 นาฬิกา 56 นาที 37 วินาที
    และ ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ “ตก” ตรงกับวันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2552 เวลา 17 นาฬิกา 55 นาที 02 วินาที
    สะดวกตื่นเช้าไปรับอรุณรุ่งบนเขาสูง ก็ไปดูครั้งที่ ๓ ชอบชิวๆ ตื่นสายหน่อยค่อยขึ้นเขาไปชมบรรยากาศยามเย็น ก็ไปครั้งที่ ๔
    นอกจากเที่ยวชมความมหัศจรรย์ที่หาดูไม่ได้ที่ไหนในโลกอย่างนี้แล้ว…
    จังหวัดบุรีรัมย์ยังเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ที่มีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัยนับแต่ ทวาราวดี ขอม สุโขทัย
    และกรุงศรีอยุธยา โดยมีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมาย เช่น เครื่องเคลือบโบราณ ที่มีอายุยาวนานกว่า
    เครื่องเคลือบสังคโลกสมัยสุโขทัย ตลอดจนแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบที่มีอายุ 800-1,800 ปี มากกว่า 200 เตา
    นอกจานี้ยังเป็นแหล่งตัดหินทรายสีชมพู ที่นำไปใช้สร้างปราสาทหินต่างๆ
    ดูข้อมูลแล้ว ท่านใดสนใจก็เตรียมตัวเนิ่นๆ เพราะคาดว่าการจองที่พักในช่วงเวลาตรงนั้น คงแน่นพอสมควร
    แต่ร่างกายไม่ต้องฟิตอะไรมาก หากไม่อยากสัมผัสทางเดินที่อลังการ ดุจดังการเดินขึ้นเขาไกรลาส
    ก็มีประตูทางขึ้นที่สามารถนำรถขึ้นไปจอดใกล้ๆ ได้ แต่ต้องไปก่อน ๖ โมง หรือ ๖ ๑/๒ เย็น นะ เพราะประตูนี้ปิดเร็ว
    จำไม่ได้ถนัดว่าไหนประตู ๑ ไหนประตู ๒ เพราะตัวเองไปถึง เย็นมากแล้ว เข้าประตูที่รถจอดใกล้ไม่ทัน
    เลยถือเป็นบุญที่ได้มีโอกาสเดินเท้าขึ้นเขาไกรลาส เลยได้เก็บภาพงามๆ มาฝากกัน
    หรือ ชมรม จักรยาน Mr.V จะลองชวนผองเพื่อน พี่ น้อง ปั่นจักรยานขึ้นเขาพนมรุ้ง ให้มันรู้ไป
    ก็น่าจะเหนื่อย…สนุก…ไปอีกแบบ แบบ…รู้ไปเลย ว่าตรูรูรูรูรูรูรู แก่ไง 55555
    ข้อมูลจาก:
    1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99
    2. http://ndc.prd.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=449&directory=2005&contents=155773

  • แก้ข่าว…
    เวลาปิดปั๊กกาตู อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่แจ้ง คลาดเคลื่อนเล็กน้อย เพราะจำแต่ว่าตัวเองไปน่ะ จวนเจียน ๖ โมงเย็น
    ประตูแรกที่ไปถึงเขาปิดแล้ว ถามเขา ก็ให้เลยไปเข้าอีกประตู อย่างที่บอก แต่เวลาอย่างเป็นทางการ ตามนี้จ้ะ
    06.00 น. – 18.00 น. และมีค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
    ข้อมูลจาก: http://www.buriram.go.th/festival/tour1/view.php?No=2
    ข้อมูลเพิ่มเติม…
    กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475
    ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75
    ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ มีการพัฒนาและปรับปรุงดำเนินการเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531
    ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี
    โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่อง
    ชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน
    และข้อมูลเพิ่มเติม…สุดท้าย
    Mr.Mollerup (นายทอง) ชาวเดนมาร์ค มีชื่อเต็มๆ ว่า Asger Mollerup เป็นที่ปรึกษาอิสระ ด้านโบราณ-ดาราศาสตร์
    ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ และนักสำรวจโบราณสถานเขมร จ้ะ

  • …..มึน แล้วก็ตาลายครับ..เจ๊ คราวหน้าขอร้องว่าเอาตัวหนังสือที่มันไซค์ใหญ่ๆหน่อยไม่ได้รึไง สีสันก็แสบทรวง กว่าจะอ่านจบ
    ลูกกะตาแทบหลุด………..

  • นึกว่าอ่านหนังสือในถ้วย “ซ่าหลิ่ม” แล้วกัน 555

  • น้าV เดี๋ยวจัดให้…มึนไปหน่อย ไม่รู้ไปพลั้งพลาดตรงไหน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร