เทคนิคการอ่าน
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมเราได้รับการอบรมเรื่องเคล็ดลับจำ เก่ง จำแม่นไปแล้ว วันนี้ดิฉันขอนำ เทคนิคการอ่านมาฝากค่ะ สรุปมาจากหนังสือเรื่อง หัวไม่ดีก็เรียนดีได้ ผู้เขียน พระศักดิ์ชัย ลังกาพินธุ์ และ ดร.จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ ดิฉันได้ฃื้อมาเมื่อไปประชุมผู้ปกครอง การอ่านเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ครั้งเมื่องานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที 6 (2012) หอสมุดมีกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่าน ซึ่งมีน้องๆระดับประถมวัยและประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรได้สร้างความประทับใจในพิธีเปิดงานได้เป็นอย่างดี เทคนิคการอ่าน ความยากง่ายของเนื้อหาในหนังสือที่อ่านเป็นอิทธิพลที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้ เราอาจจะต้องใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่นิยม มาปรับให้เหมาะสมกับตัวเราเพื่อให้เราเข้าใจเรื่องที่อ่านมากขึ้น
เทคนิค 3S Scan = อ่านด้วยความรวดเร็วเพื่อสำรวจภาพรวมของหนังสือทั้งหมด
Search = อ่านหาคำตอบหรือเนื้อหาที่ต้องการ
Save = อ่านเก็บข้อมูลเนื้อหาที่สำคัญ และจดบันทึกย่อ
เทคนิค SQ3R Survey = อ่านเพื่อสำรวจองค์ประกอบของหนังสือทั้งหมด
Question = อ่านแบบตั้งคำถามไว้ล่วงหน้า ว่าอยากรู้คำตอบอะไรจากการอ่านนั้น
Read = อ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เข้าใจประเด็นสำคัญของเนื้อหาโดยไม่ต้องจดบันทึก
Recall = ฟื้นความทรงจำ เน้นข้อความสำคัญหรือสรุปบันทึกย่อด้วยภาษาของตนเอง
Review = อ่านทบทวน ทบทวนเพื่อไม่ให้ลืมและเติมส่วนที่ขาดหรือไม่เข้าใจ
เทคนิค SOAR Survey = อ่านเพื่อสำรวจองค์ประกอบของหนังสือทั้งหมด
Organize = เรียบเรียงประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน
Anticipate = ทำแบบฝึกหัดหรือตอบคำถาม
Review = อ่านทบทวน ทบทวนเพื่อไม่ให้ลืมละเติมส่วนที่ขาดหรือไม่เข้าใจ
สิ่งที่มีอิทธิผลต่อการอ่าน ความสามารถของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนได้เร็วและเข้าใจ บางคนอ่านได้ช้าและมีอุปสรรคในการอ่าน การอ่านจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่มีอิทธิผลต่อการอ่าน
– ลักษณะของสิ่งที่อ่าน เนื้อหาของวิชาที่แตกต่างกันรูปแบบภาษา
– ลักษณะของผู้อ่าน ระดับสติปัญญาของผู้อ่าน ความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ ร่วมทั้งสุขภาพร่างกายและอารมณ์ของผู้อ่าน
– สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้อ่านมีสมาธิที่ดี และมีความสุขกับการอ่านหนังสือ
การปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านและรักษาสุขภาพของสายตา
1.ควรอ่านหนังสือในท่าที่เหมาะสมและสบายที่สุดสำหรับเรา ไม่เกร็งเกินไป ควรถือหนังสือห่างจากดวงตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และอย่านอนอ่านหนังสือ เพราะนอกจากจะทำให้เมื่อยแขนมากกว่าปกติแล้ว สายตายังต้องปรับระดับมากอีกด้วย
2.ควรอ่านในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดหรือไม่จ้าเกินไป หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือบนรถที่กำลังวิ่ง เพราะสายตาต้องปรับโฟกัสตลอดเวลา ควรหามุมอ่านหนังสือที่เงียบสงบ
3.ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ ไปพร้อมกับการอ่านหนังสือ เพราะจะทำให้เสียสมาธิ
4. พักสายตาเมื่อเหนื่อยล้า ควรพักสายตาหลักจากการอ่าหนังสือทุกๆ 50 นาที ด้วยการมองไกลๆ หรือมองต้นไม้ ใบไม้เขียวๆ จะช่วยผ่อนคลายสายตาได้ดี ออกกำลังกายสายตา ต้องหัดกระพริบตาเพื่อเป็นการออกกำลังกายสายตา จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้ 🙄
2 thoughts on “เทคนิคการอ่าน”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
สำหรับพี่ การอ่านหนังสือเป็นเหมือนกิจวัตรที่ขาดไม่ได้ เมื่อเราชอบอ่าน เราจะไม่ต้องใช้เทคนิคอะไร เพราะเรามักจะหยิบหนังสือที่ท่าทางถูกใจอยู่แล้ว แต่ถ้าจะคิดว่าใช้เทคนิคอะไร ก็คงใช้หลายๆแบบ ตัวอย่างเช่น ถ้าเจอหนังสือเกี่ยวกับ การสืบค้น เครื่องมือสีบค้น การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หรือการจัดการเรียนรู้ ก็ต้องใช้เทคนิค SQ3R แต่ถ้าหยิบหนังสือที่อ่านเพื่อความชอบ ก็อาจใช้เทคนิค 3S scan หรือไม่ใช้เลย เพราะไม่ต้องคิดมาก การสรุปเล่าเรื่องที่อ่านให้คนอื่นฟังได้ บางคนคิดว่า เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบก่อน จะทำให้สามารถเล่าได้ง่ายขึ้น
การอ่านทำให้เกิดความรู้ ได้ความเพลิดเพลิน ได้ข้อคิด เพิ่มความสุขลดความทุกข์ร้อนของหัวใจลงได้ ดังนั้นมาเลือกหนังสือให้ตรงกับความชอบและเริ่มต้นอ่านกันเถอะ
มีการอ่านอีกประเภทที่ต้องอ่านภาษาบาลี แล้วต้องแปลเป็นภาษาไทย ขนาดว่าแม่นแล้วยังมีผิด เช่น อารัมภกถา
๑. ปาริจฉตฺตกมูลมฺหิ ปณฑุกมฺพล นามเก
สิลาสเน สนฺนิสินฺโน อาทิจฺโจว ยุคนฺธเร.
แปลความว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนศิลาอาสน์ซึ่งสำเร็จด้วยแก้วมณีชื่อ ปัณฑุกัมพล ที่ประดิษฐานอยู่ใต้ร่มไม้ทองหลาง ทรงพระศิริโสภาคย์ประดุจหนึ่งว่าพระอาทิตย์บนยอดเขายุคันธร
๒. จกฺวาฬสหสฺเสหิ ทสหาคมฺมสพฺโส
สนฺนิสินฺเนน เทวนํ คเณนปริวาริโต
แปลความว่า เทวดาทั้งหลายที่มาจากหมื่นจักรวาฬได้พากันมาประชุมเฝ้าห้อมล้อมพระพุทธองค์อยู่โดยรอบ
๓. มาตรํ ปมุขํ กตฺวา ตสฺสา ปญฺญาย เตชสา
อภิธมิมกถามคฺคํ เทวานํ สมฺปวตฺตยิ
แปลความว่า พระพุทธองค์ทรงกระทำสันตุสิตเทวบุตรซึ่งเคยเป็นพุทธมารดาให้เป็นประมุขในบรรดาเทวดาและพรหมทั้งหลายเหล่านั้น แล้วทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แก่เทพยดา และพรหมเหล่านั้น ติดต่อกันตลอดพรรษากาล ด้วยเดชะแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ต้องอ่านต้องจำ