ระหว่างเส้นทางของการสื่อสาร

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่รู้สึกตัวเองช่างวุ่นวายกับการเดินทางและเดินทางและเดินทาง นับระยะทางก็หลายไมล์อยู่ เสียแต่ที่สะสมระยะทางไม่ได้ ได้แต่สะสมประสบการณ์ชีวิต
วันนี้ (11 มิ.ย.2555) พิมพ์เอกสารให้น้องอ้ออ่าน คิด (เอาเอง) ว่าน้องได้ครบแล้ว ผลคือเอกสารหายไปสองหน้า ถึงว่าสิทำไมคุยกันไม่รู้เรื่อง
ย้อนไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากกลับจากงาน Friends of the Library แวะซื้อร้านสารพัดหมูย่าง ชี้ไปที่หมู่ชิ้นหนึ่งว่าอะไรย่าง แม่ค้าตอบกลับว่า “หมู
พอๆ กับวันก่อนหน้านั้นไปสั่งส้มตำที่โรงอาหาร แม่ค้าถามว่าใส่อะไร เราตอบว่าใส่ “จาน” แม่ค้าหัวเราะงอหายบอกว่า หนูหมายถึงใส่ปู ปลาร้า อะไรแบบนี้  มึนส์ไหมล่ะ
ย้อนไปตอนหยุดสามวันไปเที่ยวลับแล ทางทัวร์จัดอาหารพื้นเมืองให้รับประทาน สหายร่วมโต๊ะถกเถียงกันว่าแกงเขียววานนี้ใส่อะไรระหว่างมันเทศกับมันฝรั่ง เราลองชิมแล้วคิดว่าไม่ใช่ ดังนั้นการจะหาคำตอบที่แท้จริงควรต้องถามต้นแหล่ง อย่าได้ทึกทักคิดเอาเอง เถียงกันเอง จึงเอ่ยปากถามว่า น้องคะนี่แกงอะไร คุณน้องตอบว่า “แกงเขียวหวาน” ไอ้หยา มาแบบนี้จนได้
จึงบอกว่าอันนี้คุณพี่ทราบแล้วแต่อยากรู้ว่าใส่อะไร มันเทศ หรือมันฝรั่ง หรืออะไร  รู้คำตอบแล้วจงมาบอก  และแล้วน้องนางก็หายจ้อยยยย … คุณๆ จึงต้องชิมหลายๆครั้ง ในที่สุดสรุปว่าคือแกงเขียวหวานทุเรียน
เรามองอย่างขำๆ เพราะว่าการเข้าใจผิดของการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้นไม่ได้เสียหายอะไร เป็นเรื่องขบขันทั้งสิ้น
อดไม่ได้ที่บางครั้งระหว่างเส้นทางของการสื่อสาร มักพบเหตุการณ์อะไรที่ตลกไม่ออก ขำไม่เป็น หัวเราะไม่ได้ มีแต่งงงันว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรเป็นสาเหตุ

ไม่น่าเชื่อว่าบางเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากคนรอบข้างที่มีจินตนาการเพริดแพร้ว โดยมี “ความเชื่อ” บางอย่างสนับสนุน โดยที่ไม่มีการฉุกคิด นิ่งสงบหรือทบทวน แล้วคิดไปเองว่าสิ่งที่คิดมันจะต้องจริงที่สุด ถูกต้องที่สุด จนในที่สุดไปอยู่ในกับดักทางความคิด จมดิ่งจนเป็นที่ปวดหัว

พักนี้เข้าวัดบ่อย อ่านธรรมมะเยอะ ในเว็บ whatami.net อ่านๆแล้วพอสรุปๆ ได้ว่า

“ความเชื่อ”จะใช้เป็นเหตุผลของความจริงไม่ได้ เพราะ ความจริง” คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่ หรือ มีอยู่ หรือเป็นอยู่ตามธรรมชาติอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง  “เหตุผล” คือ การอธิบายเพื่อให้เข้าใจถึงความจริง   และ “ความเชื่อ” คือ การที่เรามั่นใจว่าจะเป็นความจริงตามที่เราได้ฟังมาจากคนอื่น หรือ อ่านมาจากตำรามา หรือจากการคาดเดาเอา เป็นต้น


ความจริงกับเหตุผลจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่ คือในความจริงย่อมจะมีเหตุผลมาอธิบายให้เข้าใจได้เสมอ

ดังนั้นเหตุผลจะเป็นเสมือนบันไดสู่ความจริง  ถ้าขาดเหตุผลมาอธิบาย ก็จะไม่เข้าใจถึงความจริง หรือถ้าไม่มีเหตุผล ก็ไม่มีความจริง  ดังนั้น เหตุผลกับความจริงจึงแยกกันไม่ออก

แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจ มักจะเอา “ความเชื่อ” มาเป็นเหตุผลอธิบายให้เข้าใจถึงความจริง คือเมื่อเชื่ออย่างไร ก็จะเอาความเชื่อนั้นมาอธิบายถึงความจริงนั้น ซึ่งนี่คือการเอาความเชื่อมาเป็นเหตุผลของความจริง ซึ่งมันไม่ถูกต้อง บางคนเมื่อเขามีความเชื่ออย่างฝังหัวเสียแล้ว ก็ยากที่เขาจะยอมรับเหตุผลที่แท้จริง เขาก็จะดันทุรังเชื่อของเขาอยู่อย่างนั้นไปจนวันตาย

การจะเข้าใจคน ๆ หนึ่ง ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ เมื่อพบกับเรื่องใด ๆ ควรจะพิจารณาไตร่ตรองหลาย ๆ ด้านให้รอบคอบ มุมมองของตนเองเป็นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง

เป็นความจริงเพียงด้านหนึ่งเท่านั้น การจะตัดสินเรื่องใดเพียงด้านเดียว ไม่สามารถตัดสินเรื่องทั้งหมดได้ …. ข้อความนี้ลอกมาจาก พลังจิต.คอม


ระหว่างเส้นทางของการสื่อสารอาจขรุขระไปบ้าง แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องให้ใครบางคน หรือหลายคนใช้ความเชื่อบางอย่าง โถมเข้าไปให้เป็นหลุมเป็นบ่อมากกว่าเดิม การตกหลุมของคนสูงวัยไม่ใช่เรื่องสนุก กระดูกร้าวง่าย ทำให้เจ็บจี๊ด ใช้เวลานานทีเดียวกว่าจะหาย หรืออาจเจ็บจดจำไปตลอดชีวิต ….

ปล. เขียนบล๊อกนี้แล้ว แล้วนึกถึงอดีตที่มีความ “เชื่อ” กันว่าอิฉันเป็นต้นเหตุทำให้แชร์ล้ม ทั้งๆที่ก้มหน้าก้มตาส่งทุกงวด ตรงตามเวลา เป๊ะ!




Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร