การปรับปรุงการทำงาน

22 June 2012
Posted by Kasinee Pensiri

การปรับปรุงการทำงาน คือการดำเนินการเพื่อทบทวนงาน กระบวนการทำงานและผลการปฎิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบว่าสิ่งใดสมควรได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)และประสิทธิภาพ(Efficiency) มากขึ้น
วัตถุประสงค์การปรับปรุงงาน คือ  1)ลดขั้นตอนในการทำงาน ให้มีความคล่องตัวมากขี้น 2) เพื่อหาวิธีการดำเนินงานที่ดี ใช้เวลาน้อยแต่ได้ผลมากว่า 3)ประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร ได้แ่ คน เงิน เวลาวัสดุ อุปกรณ์ 4)สร้าบรรยากาศการทำงานเป็นทีมทีดี เพราะผู้ปฏิบัติงานจะร่วมมือกันในการพัฒนาหาวิธีการทำงาน 5)  ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
กระบวนการปรับปรุงการทำงาน 1) กำหนดงานที่ต้องการปรับปรุง  2)กำหนดวัตถุประงค์ของการปรับปรุงงาน 3)รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน 4)เขียนการไหลของงาน (Work Flow) วิธีการเขียนการไหลของงานมักใช้สัญลักษณ์แทนเหตุการณ์หรือกิจกรรม เช่น รูปวงกลม คือการปฏิบัติงาน ,รูปลูกศร คือการเดินของงาน , รูปสี่เหลี่ยม คือการตรวจสอบงาน,รูป ตัว D คือความล่าช้าในการปฏิบัติงาน,รูปสามเหลี่ยมหัวลง คือ การเก็บรักษา    5)การพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน   6)การเลือกแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน  7)การปฏิบัติและประเมินผล
หลักการปรับปรุงงานการทำงาน ใช้หลัก 5W1H  คือ 1) WHY (ทำทำไม) WHAT(ทำอะไร) WHERE (ทำที่ไหน) WHEN (ทำเมื่อไร) WHO (ใครทำ) HOW (ทำอย่างไร)
การวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(OBA) Operation Breakdown Analysis  คือ การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆที่ผู้ปฎิบัติทำจริง   การเขียน OBA เพื่อนำมาใช้ตามกระบวนการปรับปรุงงานในขั้นที่3 (การรวบรวมข้อมูล)แล้วนำมาเขียนการไหลของงาน(ขั้นตอนที่4) ก่อนที่จะนำไปพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงงานตามขั้นตอนที่5
เทคนิคการปรับปรุงการทำงาน 1) เทคนิคการใช้คำถาม “ทำไม และทำไมไม่ ” ก็มีประโยชน์มากสำหรับงานที่ทำอยู่ทุกวันเป็นปกติ ให้ถามว่า ทำไปทำไม ส่วนงานใหม่หรือวิธีใหม่ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน ให้ถามว่า ำไมไม่ทำแบบใหม่ที่ว่านี้ 2)เทคนิคการเลียนแบบ เป็นแนวทางการปรับปรุงงานจากการศึกษาผู้อื่นแล้วนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงงานของเรา   3) เทคนิคการมช้คำถาม  “อะไรจะเกิดขึ้น…ถ้า” เป็นการกระตุ้นความคิดเพื่อให้เกิดภาพของอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากยังทำงานกันแบบเดิมหรือคิดแบบเดิม  4)เทคนิคการเปรียบเทียบ เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบขั้นตอน หรือวิธีการแบบเดิมกับวิธีการแบบใหม่ว่าจะมีผลดี หรือผลเสียอย่างไร
ปัจจัยความสำเร็จของการปรุงปรุงการทำงาน 1) การทำงานเป็นทีม ผู้ร่วมงานทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์  2) ภาวะผู้นำ  ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฎิบัติงาน ต้องเป็นผู้ริเริ่ม กระตุ้น ผลักดันให้ผู้น้อยเห็นความสำคัญในการปรับปรุงการทำงานที่มีผลต่อองค์กรและงานในความรับผิดชอบของแต่ละคน  3)ตระหนักในคุณภาพ เห็นความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  4) การให้รางวัล  เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ  5) ระบบสารสนเทศ การปรับปรุงงานที่ได้ผลต้องอาศัยข้อมูล ความจริง เกี่ยวกับงานเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทาง พัฒนา หรือปรับปรุงงานให้ได้ผล

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร