เอกสารที่สามารถใช้แทนใบเสร็จรับเงินได้

ในการปฏิบัติงานราชการ บางครั้งจะพบว่า เมื่อจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปแล้วไม่สามารถขอใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินเพื่อมาใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงินกับทางราชการได้ด้วยเหตุผลจิปาถะ เช่น ผู้ขายหรือผู้รับเงินเป็นร้านค้าย่อยหรือเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินเป็นของตัวเอง  จ่ายเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าโดยสารรถหรือเรือ  ร้านค้ามีใบรับเงินที่เป็นสลิปโดยไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินเต็มรูปให้ได้ เป็นต้น
แต่เนื่องจากระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 39 ระบุว่า “การจ่ายเงินของส่วนราขการ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้ออกให้ หรือใบรับรองการจ่าย หรือเอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เป็นหลักฐานการจ่าย”
ดังนั้นเมื่อเราจ่ายเงินไปแล้วจึงจำเป็นต้องได้รับใบเสร็จรับเงินมาใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงิน หรือหากไม่สามารถจัดหาใบเสร็จรับเงินมาได้ ก็สามารถใช้เอกสารอื่นเพื่อทดแทนใบเสร็จรับเงินเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินได้ ซึ่งที่ใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ใบสำคัญรับเงิน และใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ บก. 111) หรือที่เรามักเรียกว่า ใบตองหนึ่ง มีวิธีการใช้ดังนี้

ใบสำคัญรับเงิน

e0b983e0b89ae0b8aae0b8b3e0b884e0b8b1e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b980e0b887e0b8b4e0b8992

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 42 ระบุว่า “กรณีส่วนราชการจ่ายเงินรายใด ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ผู้รับเงินลงชื่อรับเงินในใบสำคัญรับเงินพื่อใช้เป็นหลักฐานการจ่าย” ดังนัันใบสำคัญรับเงินจึงใช้กรณีที่จ่ายเงินไปแล้วแต่ผู้รับเงินไม่มีใบเสร็จรับเงินให้ เช่น ไปจัดซื้อของตามแผงลอย จัดจ้างบุคคลธรรมดาซ่อมแซมวัสดุ ครุภัณฑ์ หรืออาคารสถานที่ ซึ่งมีวงเงินไม่มาก เป็นต้น ในทางปฏิบัติหากใช้ใบสำคัญรับเงินประกอบการเบิกจ่ายเงินและมีวงเงินตั้งแต่ 1,000.- บาทขึ้นไป ควรจะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงินประกอบการเบิกจ่ายเงินด้วย สิ่งที่ควรระวังคือบริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดาซึ่งจดทะเบียนพาณิชย์ จำเป็นต้องมีเอกสารรับเงินหรือใบเสร็จรับเงินที่เป็นแบบพิมพ์ของตนเอง แต่หากอ้างว่าไม่มีใบเสร็จรับเงินออกให้ อนุมานได้เลยว่าเขากำลังหลบเลี่ยงภาษีอยู่จึงไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้

ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ บก. 111)

e0b983e0b89ae0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8ade0b887e0b981e0b897e0b899e0b983e0b89ae0b980e0b8aae0b8a3e0b987e0b8882

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 43 ระบุว่า “กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการจ่ายเงินไป หรือได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งมีรายการไม่ครบตามข้อ 41 หรือซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนั้นทำใบรับรองการจ่ายเพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินต่อส่วนราชการ…” (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 41 ระบุว่า “ใบเสร็จรับเงิน อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (2) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (3) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (4) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร (5) ลายมือชื่อผู้รับเงิน) ดังนััน ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินจึงใช้กรณีที่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายได้หรือใบเสร็จรับเงินที่ได้รับไม่สมบูรณ์ถูกต้องตามที่ระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะรับจ้างสาธารณะ ค่ารถโดยสารประจำทาง ค่าผ่านทางพิเศษ เป็นต้น

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร