Self Esteem

Self-esteem คือ การรู้คุณค่าในตนเอง โดยที่จะต้องทำความรู้จักตัวตนของตนเอง หรือเข้าใจในตนเองก่อนเป็นอันดับแรก มักมีคนมาขอคำปรึกษาข้าพเจ้าเสมอว่า ไม่รู้จะเรียนต่ออะไรดี ยังไม่รู้ว่าเรียนจบแล้วจะทำงานอะไรดี หรือมีปัญหาในชีวิตแต่หาหนทางแก้ไขไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งในความคิดส่วนตัวก็แนะนำเขาไปว่า ก่อนอื่นเราต้องค้นหาตนเองให้พบก่อน ว่าเรามีลักษณะนิสัยอย่างไร ชอบอะไร อยากทำอะไร มีความสามารถด้านไหน ทำอะไรแล้วรู้สึกมีความสุข ซึ่งเราก็แนะนำเขาไปโดยมองจากประสบการณ์ของตนเอง และพื้นฐานแนวความคิดของตนเองเป็นหลัก เมื่อค้นพบตัวตนของตัวเอง ก็จำทำให้เราทราบเป้าหมายของชีวิตได้เร็วขึ้น และเดินตามเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่งทำแล้วมีความรู้สึกว่าชอบ เหมาะสมกับตัวเอง และมีความสุข ซึ่งก็แนะนำทุกคนที่เดินเข้ามาปรึกษา
จากที่กล่าวมานั้น จึงคิดว่า เรื่องนี้น่าสนใจ อย่างน้อยก็แบ่งปัน หรือช่วยคนที่ยังค้นหาตัวเองไม่พบไม่รู้จักตัวตนของตนเอง ส่งผลทำให้ไม่เห็นคุณค่าในตัวเองซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่สังคมทุกวันนี้มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี ทำให้คนเราต้องเรียนรู้ชีวิต เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แต่การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักตัวตนของตัวเองก่อน นั่นคือ การรู้จัก self-esteem การรู้คุณค่าในตัวเอง เช่นการรู้จักว่าตนเอง เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง มีความซื่อสัตย์ มีความภูมิใจในผลสำเร็จตัวเองเป็นคนที่มีความคิดริเริ่ม และมีความมุ่งมั่น รู้จักที่จะแก้ปัญหา และรับผิดชอบปัญหา ที่จะเกิดตามมา เป็นคนที่คนอื่นรัก และรักคนอื่น เป็นบุคคลที่สามารถควบคุมตัวเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน เป็นต้น
จากการที่คนเรามีความเข้าใจในตัวตนของตนเอง คนนั้นมักจะเป็นคนที่รู้คุณค่าในตัวเอง ว่าตนเองมีคุณค่า และสำคัญ อย่างไรกับใคร และสามารถที่จะเรียนรู้ในการสร้างคุณค่าให้กับตนเองและผู้อื่นได้ เสมอ ซึ่งทางพุทธศาสนาจะสอนเสมอว่า คนเราต้องเข้าใจตนเอง รู้จักตนเองก่อน แล้วเราจึงจะสามารถเข้าใจคนอื่นได้ ดังคำกล่าวของท่านปัญญานันทภิกขุ ว่า รู้อะไรร้อยแปด แต่ยังไม่รู้จักตนเอง นี่เรียกว่ายังไม่รู้ Knowing everything is useless unless knowing on ‘s self แม้แต่ในหนังสือสามก๊ก ตอนขงเบ้งออกรบ ยังถือคติที่ว่า ต้องรู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง การเข้าใจสังคม เข้าใจปัญหา และรู้จักที่จะบริหารจัดการตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมายชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่มี Self -esteem สูง
โดยภาพรวมแล้วคนที่มี self-esteem สูง คือคนที่มีความคิด สร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบสูง และซื่อสัตย์ มีความมุ่งมั่น เป็นผู้ที่มีจิตใต้สำนึก และพฤติกรรมที่มีความต้องการผลสำเร็จ หรืออำนาจ และความรู้จักคุณค่า ความมีเกียรติ รู้จักบาป บุญคุณโทษ รู้สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา เชื่อมั่นในความคิด และความสามารถ ของตัวเอง สามารถเลือกวิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่า ผู้จะรู้จักตนเองได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มี สติ ปัญญา มีคุณธรรม หรือทางพุทธศาสนาเรียกว่า ไตรสิกขา ซึ่งการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น Key word ที่สำคัญ คือ ตัวตน ธรรมะ ความรู้ หลักการบริการจัดการชีวิต ระบบ สังคม ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันเสมอ
ดังนั้น ถ้าเรารู้จักที่จะใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้ เราก็สามารถใช้ชีวิตที่คุ้มค่า และมีความสุข ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่มี self-esteem ต่ำ มักจะเป็นคนที่ต้องการ พิสูจน์ตัวเอง หรือวิจารณ์คนอื่น ชอบใช้คนอื่น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง บางคนอาจจะหยิ่ง หรือดูถูกผู้อื่น มักจะไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่มั่นใจว่าตัวเอง จะมีคุณค่า หรือความสามารถ หรือการยอมรับ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะทำอะไร เนื่องจากกลัว ความล้มเหลว คนกลุ่มนี้มักจะวิจารณ์คนอื่น มากกว่าที่จะกระทำ ด้วยตัวเอง และยังพบอีกว่า คนกลุ่มนี้มักจะ ชอบความรุนแรง ดังนั้นคนทีมี Self-esteem สูง จะประกอบด้วย
1. มีความตระหนักถึงคุณค่าตนเอง (Self-respect) เพราะมีความเชื่อว่า ตนเองมีคุณค่า มีความหมาย มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมผู้อื่น มีสิทธิ มีโอกาสที่จะสำเร็จ ได้รับสิ่งที่มุ่งหวัง มีสุขได้ เช่นเดียวกับผู้อื่น ชีวิตมีค่า สมควรได้รับการดูแลปกป้องให้ดี การได้รับการยอมรับจากคนอื่น
2. มีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง(Self-efficacy) ความเชื่อว่า ตนเองสามารถ คิด เข้าใจ เรียนรู้ ตัดสินใจในการแก้ปัญหา การเผชิญหน้ากับความท้าทาย หรืออุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้ ไว้วางใจตนเอง ว่ามีความสามารถ มีพลัง มีประสิทธิภาพ และพึ่งพาตนเองได้
3. มองโลกในแง่ดีเสมอ มองวิกฤตให้เป็นโอกาส
4. ประเมินตัวเราให้มีคุณค่าอยู่เสมอ
5. เชื่อมั่นในความสามารถตัวเอง
6. มองว่าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเราสามารถเปลี่ยนแปลงตามที่เราต้องการ
เห็นได้ว่าคนที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง เคารพตนเอง รู้สึกเชิงบวกต่อตนเอง ซึ่งมีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า ความรู้สึกนี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่าปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากคนที่รู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองจะรู้จักการแก้ไขปัญหาในชีวิตมีความทะเยอทะยานสูง มีการตั้งระดับความคาดหวังสูงและมีทัศนคติที่ดีต่อความสามารถของทำให้ไม่ล้มเลิกความตั้งใจง่าย ๆ เมื่อมีอุปสรรคต่าง ๆ แต่จะพยายามทำต่อไปจนประสบความสำเร็จ ซึ่งเมื่อหันมามองในด้านของชีวิตการทำงานในองค์กร ถ้าคนในองค์กรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่รู้คุณค่าในตัวเองแล้ว คนเหล่านั้นก็คงจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการปฏิบัติงานที่ดีเลิศ หัวหน้างานไม่ต้องหนักใจ บริหารงานได้ง่ายขึ้น ประหยัดงบประมาณในการจัดอบรมพัฒนา เพราะคนเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านสติปัญญา ความรู้ คู่คุณธรรม ดังนั้นผู้ที่อ่านเรื่องนี้ถ้ายังค้นหาตัวตนของตัวเองไม่พบ หรือ ไม่เคยเห็นคุณค่าในตัวเอง อยากให้หันกลับไปทบทวนตัวเอง แล้วเดินไปตามเป้าหมายที่ตนเองต้องการ ซึ่งผู้เขียนคิดว่า เป็นเรื่องน่าสนใจและเป็นประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตตามเป้าหมายของตนเองโดยก้าวเดินไปด้วย สติ ปัญญา ความรู้ คุณธรรม สามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
คุณค่าบางอย่างเกิดขึ้นเสมอ เมื่อคนเราทุ่มเท อุทิศเวลาและความตั้งใจให้กับบางสิ่งบางอย่าง

“ถ้าเราเรียนรู้เราเข้าใจแล้วชีวิตนี้เป็นสุข Once we have learned and understood ourselves; life is peaceful”
การตั้งเป้าหมายไม่ใช่เรื่องหลัก แต่มันคือการตัดสินใจว่าทำอย่างไรจะไปถึงเป้าหมายได้ และทำให้ได้อย่างที่วางแผนไว้ต่างหาก

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร