เมื่อเกณฑ์ค่าเป้าหมาย..บังเอิญเป็นของฉัน แต่ไม่ใช่ของเธอ…

หากจะพูดกันถึงเรื่องเกณฑ์การประเมินผลงานตามแผนงานโครงการ และการประเมินผลงานของงานประจำที่เป็นงานหลัก (KPIs) ที่นำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรหอสมุดฯ แล้ว ก็ผ่านการใช้ KPI กันมาหลายรอบการประเมิน ซึ่งอาจจะมีบางคนถูกใจหรือไม่ถูกใจกันบ้างเป็นเรื่องปกติ
แต่ที่อยากจะมาพูดให้ฟังกันในวันนี้ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัว) เกี่ยวกับเรื่องเกณฑ์ค่าเป้าหมาย ระดับ 1-5 ที่นำมาเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจ หลายคนอาจจะคิดว่า ทำไม KPI บางตัวถึงเป็นประโยชน์กับเกณฑ์ค่าเป้าหมายของคนบางกลุ่ม แต่ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรกับตนเอง ทั้้งที่ต้องรับรู้และปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวเหมือน ๆ กัน
ตัวอย่างเช่น ภารกิจการให้บริการ ซึ่งกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น ผู้ปฏิบัติงานให้บริการในเวลาราชการ และผู้ปฏิบัติงานให้บริการนอกเวลาราชการ ซึ่งในปัจจุบัน หอสมุดฯ ใช้ KPI เป็นตัวชี้วัดเฉพาะกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้บริการในเวลาราชการ โดยที่เกณฑ์ค่าเป้าหมายของคนกลุ่มนี้ อาจจำเป็นต้องมีกลุ่มผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการอาจมองว่า เราต้องปฏิบัติงานตามข้อตกลง และข้อปฏิบัติเหมือนกัน แล้วเราได้อะไร KPI ของเราก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องของเขาซักกะติ๊ิด….
แน่นอนว่า การดำเนินงานต่างๆ ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในเวลาราชการอาจมีส่วนที่ตรงกับเกณฑ์ค่าเป้าหมายใด เป้าหมายหนึ่ง หรืออาจไม่ตรงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของภารกิจนั้นๆ รวมไปถึงเกณฑ์ค่าเป้าหมายที่เป็นไปในลักษณะไต่ระดับ หากทำได้ในเกณฑ์สูง แต่ทำไม่ได้ในเกณฑ์ล่าง ก็ไม่สามารถได้รับการประเมินเป็นเกณฑ์สูงได้
ส่วนกลุ่มผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้อะไร…คำตอบจริงๆ มันก็มีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว หากเราไม่มองด้วยอคติ เราก็จะมองเห็นประโยชน์ เช่น ได้รับความรู้ความเข้าใจสำหรับนำไปใช้ในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือแม้กระทั่งนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานตามปกติได้ นอกจากนี้ที่แน่ๆ ก็คือ เมื่อปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ก็ได้รับค่าตอบแทน แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่น้อย รวมถึงนำไปเป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อีกด้วย (ไม่ต้องคิดถึง KPI)
ทั้งหมดทั้งมวล อย่ามองอะไรแต่ด้านเดียว อย่างที่พี่ชายฝ่ายโสตฯ เคยพูดไว้ว่า “KPI มันดีอยู่แล้ว เราก็ทำงานกันไปตามปกติ แต่ไม่ใช่จะทำอะไรก็นึกถึงแต่ว่าเป็น KPI หรือเปล่า แล้วจะทำงานกันต่อไปได้ยังไง” ซึ่งตรงนี้ตัวเองเห็นด้วยเป็นอย่างมาก เพราะจริง ๆ แล้ว KPI ก็ทำขึ้นเพื่อการประเมินอย่างมีแบบแผนมากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น เราก็ยังคงทำงานกันไปตามปกติ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานไว้สำหรับการตรวจสอบด้วย
จริง ๆ ไม่ได้มีแต่กลุ่มบริการอย่างเดียว แต่ที่ยกเป็นตัวอย่างเพราะเป็นกลุ่มใหญ่ และมีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรงานอื่น ๆ หลายงานนั่นเอง
หวังว่า ต่อไปพวกเราคงจะมีความสุขขึ้นกับเกณฑ์ประเมิน KPI แต่ทั้งหลายทั้งปวง ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง คงไม่ได้มีค่าคงที่อยู่อย่างนี้ทุกรอบการประเมิน เกณฑ์การประเมินก็อาจปรับเปลี่ยนไปได้อีก ขึ้นอยู่กับหัวหน้าและท่านทั้งหลาย…จริงป่ะหัวหน้างานวิชาการ… 🙄

3 thoughts on “เมื่อเกณฑ์ค่าเป้าหมาย..บังเอิญเป็นของฉัน แต่ไม่ใช่ของเธอ…

  • ไม่รู้จริงป่ะนะ ความคิดเห็นและสิ่งที่พูดอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เรามีการประชุมครั้งแรกๆ คือ จงทำชีวิตของเราให้เป็นปกติ(สุข)เพราะ KPI ทุกอย่างเขียนจากชีิวิตจริงของการทำงาน ส่วนที่เพิ่มคือหลักฐานที่มีความจำเป็นต้องใช้เอกสาร เช่นเดียวกับหลักฐานอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการดำเนินการ เช่น (อีกครั้ง) การทำบัตรประชาชน การขอรับสวัสดิการ การทำประกันชัวิต การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ แม้ทุกคนจะเห็นนั่นแหละว่าเข้า รพ.จริง เรียนจริง รถชนจริง ฯลฯ
    ส่วนความสงสัยเรื่องของฉันของเธอนั้น การไต่ระดับ เป็นการมองในภาพใหญ่เพื่อให้องค์กรไปได้ด้วยดี …หากสงสัยคงจะต้องตอบเป็นข้อๆ เพื่อจะได้ความกระจ่างว่าคืออะไร เพราะทุกเรื่องมีที่มาและที่ไป และอย่าลืมว่าหลายเรื่องทุกคนมีส่วนร่วมกันเมื่อหลายปีก่อนๆ โน้น ที่เริ่มทำกันใหม่ แต่อาจจะหลงลืมอดีตไป
    ส่วนเกณฑ์ ตัว KPI มีการเปลี่ยนได้ ในที่ประชุมของหน.ทั้งหลายที่เป็นคนทำข้อสรุปเพื่อให้ KPI นิ่ง รวมทั้งนั่งประเมิน ก็มักคุยกันเสมอว่าจะทำกันอย่างไรดี เพื่อให้ทุกคนมีการใช้ชีิวิตอย่างเป็นปกติสุข คิดไปถึงเกณฑ์กลางที่ผิดเพี้ยนที่เกิดจากเจตนาดี ที่อาจเป็นผลต่อคนรุ่นใหม่ คิดไปถึงเกณฑ์กลางที่คนรุ่นเก่าทำไว้อย่างหนักแน่น แต่ทำไมปัจจุบันจึงแปลกๆไม่บรรลุผลสักครั้ง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงทำได้ เช่น ครั้งนี้ก็เปลี่ยนลดเกณฑ์บางตัวลงมา ครั้งแต่ไปถามว่าจะเปลี่ยนอะไรกันดี เป็นสิ่งที่ทุกคนจะช่วยกันคิดเพราะเป็นเรื่องของทุกคน
    หลายคนมีความรู้สึกว่า ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าใครทำอะไรกัน แค่ไหน อย่างไร ขอตอบว่า “ความรู้สึก” ของแต่ละคนต่างกันเอาไปตัดสินใครไม่ได้ เพราะต่างคนต่างรู้สึก ต่างมีมุมเป็นของตัวเอง
    ส่วนที่มีคำวิจารณ์ว่า หน.ทั้งหลายยังไงๆ ก็ได้คะแนนเยอะ คิดว่า หน.ทั้งหลายคงใจกว้างพอที่จะให้มีการวิพากษ์ เช่นเดียวกับพวกเราทุกคน
    การ “สมมุติว่าเป็นเขา” เปิดใจ จริงใจ ตั้งมั่น ฝึกฝน เรียนรู้ พร้อมปฏิบัติ อาจจะช่วยให้เข้าใจซึีงกันและกันมากขึ้น …เราคิดแบบนี้นะ
    ปล. วันก่อนไปมีคนบอกว่า KPI ห้องสมุด พี่ดีจัง ที่ทำงานหนูยังไม่อะไรแบบนี้เลย

  • เมื่อปีก่อนหอสมุดฯส่งไปอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับกลาง มีเพื่อนรุ่นพี่หลายท่านได้ข่าวเรื่องการทำ KPI ของหอสมุดเรา ก็เลยอยากเห็นหน้าตาว่าเป็นอย่างไร พอดีว่าตนมี File ติดไปด้วยก็เลยให้ดู เพื่อนและพี่บางคนฮือฮามากว่าของน้องประเมินด้วย KPI แล้วเหรอ ของพี่ยังไม่มีบ้าง บางกำลังเริ่มทำ พี่และเพื่อนเห็น KPI ของเราแล้วถามว่า บุคลากรจะทำได้เหรอ เราตอบไปแบบเดียวที่พี่ปองตอบคือ ก็เป็นงานประจำของเขา เราเพียงแต่หยิบงานประจำบางชิ้นของเขามาประเมิน ซึ่งเกณฑ์ก็คิดมาจากสถิติการปฏิบัติงานของเขาที่ทำได้ ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง

  • KPI ได้มาจากงานที่ทุกคนทำก็จริงอยู่ แต่ไม่ใช่เนื้องานทั้งหมด บางคนมีภาระงานมากมายที่ต้องรับผิดชอบ แต่ในขณะที่บางคนแทบจะไม่มีอะไรอยู่ในมือ KPIไม่ได้ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลง
    ก็ใช่ ทุกคนยังคงทำงานตามปกติยังต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่ไม่ต่างจากเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือความรู้สึก เมื่อก่อนพวกเราทำงานด้วยความสุข เป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ภาระหน้าที่แบ่งกันไปตามความถนัด ทุกคนไม่สามารถทำงานได้เหมือนกัน แต่ทุกคนก็เต็มที่ตามความสามารถของตัวเอง
    วันนี้ความสุขและรอยยิ้มหายไป เพราะหลายคนทำงานเพียงเพื่อตอบโจทย์ KPI แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังทำงานด้วยความรักด้วยความเสียสละ ทุ่มเทเต็มที่ให้กับงานที่ตัวเองรัก ทั้งๆที่มันไม่มีผลตอบแทนมากมายอะไรเมื่อเทียบกับคนอื่น พวกเรากำลังทำงานเพื่อให้ได้คะแนนตาม KPI เท่านั้นหรือ มีอะไรตอบแทนให้กับคนที่เสียสละทุ่มเทบ้าง ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะหมดกำลังใจ กลายเป็นหุ่นยนต์ทำงานเพียงเพื่อให้ได้คะแนน KPI เท่านั้นเอง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร