เรื่องของ Cutter Number

  :mrgreen:     “เลขคัตเตอร์” คำนี้บรรณารักษ์และผู้ที่ทำงานในห้องสมุดย่อมต้องเคยได้ยินกันมา
ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุด อาจทำหน้างงและสงสัย ว่าคืออะไร ดังนั้นวันนี้ก็เลย เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน (สำหรับคนในวงการห้องสมุดที่รู้เรื่องเป็นอย่างดี) ถือว่า เรามาฟื้นความรู้เก่ากันก็แล้วกัน
(ปล. มิกล้าอวดภูมิ หรือถือเอาเป็นข้อเขียนของตนเอง เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ก็รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจากผู้รู้ในวงการห้องสมุดของเรานั้นเอง)
เลขคัตเตอร์” มี 2 ชนิด คือ 1) เลขคัตเตอร์ที่ใช้ขยายเลขหมู่หรือเนื้อหาของหนังสือ 2) เลขคัตเตอร์ผู้แต่ง
สำหรับระบบการจัดหมู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ของเรานั้น ใช้การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งระบบนี้จะมีการกำหนดเลขคัตเตอร์ในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันไว้ใช้เพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1) เพื่อเป็นเลขประจำหนังสือ 2) เพื่อใช้ในการขยายเลขหมู่ ให้หนังสือแต่ละเล่มมีสัญญลักษณ์ที่เฉพาะยิ่งขึ้น
เลขคัตเตอร์ที่ปรากฎในเลขเรียกในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันนั้นจะปรากฎอยู่หลังจุดทศนิยมเสมอ (ดูตัวอย่างที่ถูกต้องในเลขเรียกของหอสมุดสาขาวังท่าพระ ส่วนของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์นั้นตัดจุดทศนิยมออกมาตั้งแต่ดั้งแต่เดิมแล้ว)
เช่น
DR43.G53
หรือ DR16.ป44
หรือ DR38.S65J45
โดยเลขคัตเตอร์ที่ใช้ในการขยายเลขหมู่ มี 5 ประเภทคือ
1. เลขคัตเตอร์แบ่งย่อยตามเนื้อหาเฉพาะ (Topical Cutter Number)
2. เลขคัตเตอร์แบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (Geographic Subdivision)
3. เลขคัตเตอร์ซ้อนกันสองจำนวน (Double Cutter Number)
4. เลขคัตเตอร์ “A” และ “Z”  (“A” and “Z” Cutter Number)
5. เลขคัตเตอร์เรียงลำดับ (Sucessive Cutter Number)
1. เลขคัตเตอร์แบ่งย่อยตามเนื้อหาเฉพาะ (Topical Cutter Number) จะแบ่งย่อยเนื้อหาด้วยการใช้ตัวอักษร A-Z ตามด้วยเลขอารบิคเพื่อเป็นสัญญลักษณ์แทนเฉพาะเนื้อหา ซึ่งการแบ่งย่อยประเภทนี้จะพบโดยทั่วไปในหมวดหมู่ต่างๆ ในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดยจัดเรียงเลขคัตเตอร์เนื้อหาเฉพาะตามลำดับอักษรพร้อมด้วยตัวเลขที่เหมาะสม ภายใต้คำสั่งให่แบ่งย่อย เช่น
– By topics, A-Z
– Other subjects, A-Z
– Other substances, A-Z

– Special topics, A-Z  เป็นต้น

ตัวอย่าง

TX 770 Special breads, A-Z

.C72 Crackers

  Crepes, see TX770.P34

.M83 Muffins

.P34 Pancakes. Waffles. Crepes

.T65 Tortillas

  Waffles, see TX770.P34

2. เลขคัตเตอร์แบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (Geographic Subdivision) ได้แก่ ทวีป ภูมิภาค ประเทศ รัฐ ภาค เมือง และจังหวัด โดยกำหนดตัวเลขตามหลังตัวอักษร A-Z ซึ่งอักษรตัวแรกของชื่อทางภูมิศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้แล้ว หรืออาจกำหนดตามหลักเกณฑ์การกำหนดเลขคัตเตอร์ของระบบรัฐสภาอเมริกัน

โดยการแบ่งย่อยประเภทนี้จะมีคำสั่งเช่น

By city, A-Z

By country, A-Z

By region or country, A-Z

By place, A-Z

Local, A-Z  เป็นต้น

ตัวอย่าง (อ่านเพิ่มเติมที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=19849)

ส่วนอีก 3 ประเภทมาเขียนให้อ่านในครั้งหน้า เดี๋ยวยาวเกินไปจะเบื่อกันปล่าวๆ 😉

 รายการอ้างอิง :
http://www.itsmarc.com/crs/mergedProjects/scmclass/scmclass/f_350_scm.htm
http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=LB365%28S%29
 
 
 

One thought on “เรื่องของ Cutter Number

  • เฉพาะอย่างยิ่งบรรณารักษ์ควรทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างจริงจังht3u

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร