กาแฟที่มีผลต่อสุขภาพ
ใครที่ชอบดื่มกาแฟ…โปรดอ่านบทความนี้ “สรรหาเอามาฝาก”
หลังจากตื่นนอนตอนเช้าได้กาแฟหอมๆ สักแก้วจะรู้สึกกระชุ่มกระชวยตลอดทั้งเช้า บางท่านรับกาแฟและขนมบางอย่างเป็นอาหารเช้า หลังจากทำงานก็ยังมี Coffee break บางท่านยังดื่มหลังอาหารเที่ยงและตอนสายๆ ยิ่งต้องเข้าประชุมกาแฟหอมๆ สักแก้ว จะทำให้สดชื่นหายง่วง
ปัจจุบันการดื่มกาแฟ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายตามปั๊มน้ำมัน ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสอง ส่วนสามของชีวิตประจำวัน แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวัน วันละหลายแก้วจะมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ Caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophyline caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบ ชา โคลา caffeine ถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มแกแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง กาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด
ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
กาแฟ จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น และยังทำให้คามสามารถในการทำงานดีขึ้น ลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไข้หวัดและช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ กระตุ้่นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ ดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำัลังกายไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
การดื่มกาแฟ จะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าวเป็นศึกษาในผู้ชายซึ่งมีคำแนะนำว่าอาจจะดื่มกาแฟสักแก้วประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หากดื่มมากกาแฟจะออกฤทธิ์เสมือนยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปริมาณกาแฟที่ขับออกมาทางปัสสาวะหากมากกว่า 12 micrograms/ml จะถูกห้าม (เท่ากับการดื่มกาแฟ 4 แก้ว)
ดื่มนานๆ จะติดกาแฟหรือไม่ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารหากดื่มนานๆ แล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศรีษะเพียงเล็กน้อย
การดื่มกาแฟ 2-4 แก้ว อาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7 แก้วอาจจะเกิดผลเสีย โดยมีอาการ ดังนี้ นอนไม่หลับ, หงุดหงิดง่าย, สับสน, อารมณ์แปรปรวน, คลื่นไส้อาเจียน, ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว, กล้ามเนื้อกระตุก, ปวดศรีษะ, วิตกกังวล
ผู้ที่รับประทานยา Ciprofloxacin (Cipro) หรือ norfloxacin อาจจะทำให้ระดับกาแฟในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง ผู้ที่่ทานยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline จะออกฤทธิ์เหมือนกาแฟอาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น ผู้ที่รับประทานสมุนไพร Ephedra (mahuang) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือชัก หากรับประทานร่วมกับกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว
ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว จะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้ว การทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆ มีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะและลดอุบัติเหตุขณะขับขี่ กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะและยังลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละไม่เกิน 4 แก้ว
กาแฟกับโรคกระดูกพรุน มีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเพิ่ม สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป
กาแฟกับโรคมะเร็ง มีรายงานจาก World Cancer Research Found ว่า การดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง แต่มีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย และมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
กาแฟกับโรคหัวใจ เท่าที่มีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ
กาแฟกับความดันโลหิตสูง การดื่มกาแฟ 2-3 แก้ว จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ 3-14/4-13 แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำความดันโลหิตอาจจะไม่สูง สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณ๊ที่มีความดันสููง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก ท่านอาจจะทดสอบว่ากาแฟมีผลต่อความดันหรือไม่โดยวัดความดันโลหิต 30 นาที หลังจากดื่มกาแฟ หากสูงขึ้นควรจะลดหรือเลิก
กาแฟกับโรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นฮอร์โมน epinephrine เพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
ข้อมูลจาก : ข่าวภูมิภาค ปีที่ี 12 ฉบับที่ 145 ประจำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม พ.ศ. 2555 หน้า 5
2 thoughts on “กาแฟที่มีผลต่อสุขภาพ”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ป้าดวงดื่มกาแฟมาตั้งแต่อายุ30ปี แล้วตอนนี้ปาเข้า 55 ปี (25ปีพอดี)ต้องดื่มทุกวันวันไหนไม่ดื่มมันรู้สึกงุดงิดง่วงนอน ไม่รู้ผลจากการดื่มมานานจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเราหนอดื่มจนชิงโชคไ้ด้กาแฟมาแบ่งปันผู้อื่น
เคยดื่มกาแฟเย็นเพราะความอยาก น้องเขียดซื้อให้ แต่พอกลับบ้าน เป็นลมอยู่ป้ายรถเมล์ (เกือบตายเพราะปวดหัว) ทุกวันนี้ก็อยากดื่มกาแฟเย็น แต่ก็ต้องอดทนไม่ดื่ม มีพักเบรก ไม่เคยหยิบเลย กลัวจริงๆ แต่ชอบกลิ่น นะ ทุกวันนี้ ยังปลูกต้นกาแฟไว้ ๑ ต้น ดูสิว่าจะมีเมล็ดให้เราเอาไปคั่วได้จริงเปล่า