โลกกับแผ่นดินไหว

โลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก แผ่นใหญ่ 7 แผ่น และแผ่นเล็กอีกจำนวนมาก ลึกลงไปเป็นหินหนืดหลอมเหลวร้อนระอุ พร้อมแรงดันมหาศาลที่รอวันผุดพลุ่งขึ้นมาบนพื้นผิว โดยอาศัยช่องว่างระหว่างรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เหตุนี้แผ่นเปลือกโลกจึงเคลื่อนที่ตลอดเวลา วันดีคืนดีก็เคลื่อนเข้าปะทะ ชนกันเอง เกิดรอยร้าว ซึ่งเรียกว่า รอยเลื่อน แรงปะทะอาจปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานมหาศาล ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเรายังไม่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวได้
การถ่ายทอดพลังงานแผ่นดินไหว เปรียบเสมือนการเคาะระฆังผ่านอากาศ ในการไหวของแผ่นดิน มีแผ่นดินเป็นพาหะ จึงมีแรงสั่นสะเทือนไปได้ไกล
รอยเลื่อนในไทย มีตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ภาคตะวันตกมี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ในบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งเขื่อนนี้สามารถทนทานแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ ในรัศมี 5 กิโลเมตรได้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างปลอดจากแผ่นดินไหว
สำหรับประเทศไทย ทิศทางการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย มีทิศทางเดียวกัน ส่งผลปลอดภัยต่อไทยและเพื่อนบ้าน หากเปรียบภูมิประเทศย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไข่ดาว ไทยและเพื่อนบ้านเป็นเหมือนไข่แดง แผ่นดินไหวมักเกิดบนไข่ขาวรอบๆ คือแถบทางจีน ส่วนแผ่นดินไหวย่อยๆ อาจเกิดขึ้นบ้าง หรือเข้ามาใกล้ไข่แดงสักหน่อย คือแถวพม่าและชายแดนภาคเหนือตอนบน แต่น้อยครั้งที่จะเกิดบนไข่แดง
แต่มีความจริงที่ว่า เรายังไม่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวได้ +++@
*สรุปความและเรียบเรียงจากบทความในวารสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย


Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร