ASEAN Wisdom
ตั้งใจจะเขียนเรืองนี้นานแล้ว ตั้งแต่เห็นป้ายมาตั้งใหม่ๆ…
ป้ายอะไรหวา … อ่านได้ความว่าเป็นการสัมมนาเรื่อง ASIAN Wisdom น่าสนใจดี จึงถ่ายรูป แชะ 1 ครั้ง เพราะมากกว่านี้ คนข้างหลังจะคอย จึงได้รูปแบบเบลอๆ
หากต้องการอ่านละเอียดแบบเ๋ป๊ะๆ แนะนำพิกัดที่บอร์ดข้างบันได
เนื่องจากได้จรดปลายปากกาเขียนโครงการเตรียมห้องสมุดเพื่อรับมือกับอาเซียน หลังจากได้รำพึงรำพันเมื่อปีที่แล้วว่าตกลงว่าไงดี ลองซุ่มซ้องกำลังพลเป็นปีๆ จนอยากจะศาลา
แต่น้องอ้อในฐานะสายข่าวสืบราชการลับจากหน่วยงานไม่ระบุสังกัด 555 บอกว่าเจ้จงดำเนินการต่อไป แหม… แบบนี้ค่อยมีกำลังใจขึ้นมาหน่อย เพราะอย่างน้อยก็มีคนที่มองทิศทางออกว่าควรเป็นอย่างไร
เมื่อปลายปีร่ายเวทย์เขียนโครงการฉบับเต็ม รวมทั้งสนทนาปราศรัยกับเพิ่อนต่างชาติ แบบงึกๆงักๆ เพราะเรานั้นแสนจะเข้าใจภาษาอังกฤษครบทั้ง 26 ตัวอักษร ยิ่งเมื่อสองวันก่อนมาหมดสภาพกับการปั่นบทความ เพื่อนำเสนอ (face) เฮ้อ… …ช่างน่าสงสารตัวเองยิ่งนัก
เดชะบุญที่ปลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง หลังจากที่คิดเล่นๆ ไปแค่เกือบสิบ … เอาวะ เมื่อมี “โอกาส” เราต้อง “พยายาม”
เมื่อเห็นป้ายนี้ ทำให้นึกถึงปก แผนยุทธศาสตร์ของ The Library of Congress ที่บอกอัตลักษณ์ของตัวเองไว้ว่า To further human understanding and wisdom
การอ่าน (ความจริงคือเปิดผ่านๆ) ทำให้ทราบว่าเขาทำอะไร และเราน่าจะทำอะไรบ้าง เราคงไปที่โน่นไม่ได้เพราะคงไม่มีเที่ยวบินสำหรับเรา แต่การอ่านแบบฟรีๆ เท่ากับการสร้างเที่ยวบินแบบ low cost ให้กับตัวเอง
เราแปลกใจทุกวันว่าทำไมคนถึงเข้าห้องสมุดน้อยลงๆๆๆ สงสัยเป็นนักหนาว่าเวลา (พากเพียร) เรียนหนังสือ ทำกันอย่างไร ….
มีคนตอบว่า ป้า เค้าอ่านกันทางเน็ต แล้วอ่านทางเน็ต หมายถึงอะไร
หมายถึง การอ่านข้อเขียน โดยเฉพาะจากในบล๊อกที่เป็นความคิดของคนอื่น ไม่แม้จะคิด หรือหาคำตอบให้กระจ่าง ใช้วิธีจำ /พูด/เขียนแบบตัวบท … หรือ หมายถึง การอ่านแล้วใช้คำสั่งกายสิทธิ์ copy แล้ว paste หรือ หมายถึง เวลาพบเอกสาร .doc แล้วดีใจ เท่าๆ กับปวดใจเมื่อป๊ะกับ pdf เพราะไม่สามารถใช้คำสั่งกายสิทธิ์ได้
สมการของ ความเป็นโบราณ กับความเจริญในยุคปัจจุบัน น่าจะเท่ากับ wisdom เหมือนๆกัน รึปล่าวไม่อยากจะคิด
เพราะเป็นเรื่องไกลตัว ไกลตาสำหรับเรารู้แต่ว่าตอนนี้ ASEAN กำลังขึ้นสมอง นึกถึงหนังสือใน collection นี้ ที่เรามีมาแต่ก่อนแล้วยุบลงไป 55 จนต้องหาวิธีกอบกู้ขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ให้เห็น นึกถึงว่าบทบาทของห้องสมุดควรจะป็นอย่างไรใน เมื่อทุกมหาวิทยาลัย ต่างประกาศความพร้อม
เมื่อคืนใช้เวลามากกว่าชั่วโมงไล่ๆ ดูตามหมาวิทยาลัยต่างๆ ถึงไม่ครบ แต่ก็ทำให้เราอึ้งและ ทึ่ง
โครงการ Go to ASEAN ของเราเดินหน้าไปแล้ว มีเค้าโครงพอสมควร แม้ตัวโครงการยังแอ๊งแม๊งอยู่บนโต๊ะ มิได้ขยับไปไหน นอกเหนือจากพวกเราทุกคนแล้ว ยังได้กัลยาณมิตรทั้งไทยทั้งเทศหลายๆ คนมาช่วยกันผนึกกำลังผลักดินให้ไปข้างหน้า
คุณประภาส ชลศรานนท์ บอกไว้ (11 มกราคม 2555) ในเฟสบุ๊คส์ ตรงกับใจเราพอดีว่า …
มีคำอยู่สองคำที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นคือคำว่า “โอกาส” และ “ความสามารถ” สองคำนี้มีความสัมพันธ์กันและแตกต่างกัน
“โอกาส” เป็นของที่ไม่ใช่ของๆเรา แต่เป็นของที่คนอื่นหยิบยื่นให้เรา “ความสามารถ”เป็นของๆ เรา ไม่ว่าจะมีมาตั้งแต่เกิดหรือสร้างขึ้นมาเอง
“โอกาส” เป็นของที่เกิดขึ้นมาแล้วก็หายวับไปได้ เพราะมันเป็นของๆ คนอื่น
“ความสามารถ” ต่างหากที่จะไม่หายไปไหน เพราะเราสร้างมันขึ้นมาเองได้ด้วยคาถาที่มีชื่อว่า “ความพยายาม”
การเกิดมาเป็น “คนด้อยโอกาส” กลับไม่น่ากลัวเท่ากับเกิดมาเป็นคน “ด้อยความสามารถ”
ความสัมพันธ์ที่น่าสนใจที่สุดของคำสองคำนี้ก็คือ ทุกครั้งที่ขีดความสามารถเพิ่มขึ้น โอกาสก็มักจะเพิ่มตามมาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
…………………
ชอบพวกนักคิด นักเขียนจัง ก็ใช้ภาษาไทยเหมือนเรา แต่ทำมั๊ยช่างเขียนอะไรออกมาได้สละสลวยจริงๆ
ส่วนงาน ASEAN Wisdom ไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัส เพราะต้องเดินทางไปราชการงานเมืองทั้งสัปดาห์ เสียดายที่พลาดโอกาสดีๆ แบบนี้ เพราะงานแสดงและกิจกรรมน่าสนใจมากจริงๆ
คงต้องไล่ตามหาเอกสารมาอ่านเหมือนเดิม
One thought on “ASEAN Wisdom”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
“โอกาส ” เป็นของเรา เพราะพี่หน่อย (คุณยุพดี จารุทรัพย์ )หยิบยื่นให้จึงรีบรับไว้ไม่รอช้า ใช้”โอกาส”นี้ทันที เดินชมนิทรรศการ ของ ASEAN Wisdom ,ดูผู้คนที่มาร่วมงานจากหลายๆหน่วยงาน ฟังการบรรยายความเป็นมาของหนังตะลุงภาคใต้ กินอาหารเผื่อพี่ๆน้องๆทุกคนด้วย …