บรรณในห้องสมุด

ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า “ห้องสมุด” หมายถึง ห้องที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษาหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อใช้สำหรับค้นคว้าหาความรู้
คำถามที่มักสงสัยตามมาคือ ทำไมถึงเรียกว่า “ห้องสมุด” ทำไมไม่เรียกว่า “ห้องหนังสือ” มีที่มาดังนี้
คนโบราณชาติต่างๆ  รวมทั้งคนไทย ต่างนิยมบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้น สมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาวๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด

ภายหลังเรารับเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตก สิ่งที่เก็บอยู่ในห้องสมุดจึงเป็นหนังสือแทบทั้งสิ้น  แต่คำใช้เรียก “ห้องสมุด” หรือ “หอสมุด” ก็มิได้เปลี่ยนตามเป็น “ห้องหนังสือ” หรือ “หอหนังสือ” ซึ่งนับว่าดีแล้ว  ไม่เช่นนั้นเราคงต้องเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ ตามวัสดุที่เก็บ

ส่วนที่มาคำว่า “ห้องสมุด” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นใช้ให้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library
เมื่อรู้จักความหมาย “ห้องสมุด” แล้ว  ทำไมต้องมีคำว่า “บรรณ” ในห้องสมุดด้วย
เมื่อรู้จักความหมาย “ห้องสมุด” แล้ว  ทำไมต้องมีคำว่า “บรรณ” ในห้องสมุดด้วย
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า “บรรณ” หมายถึง ปีก; หนังสือ; ใบไม้ ตรงกับภาษาบาลีว่า ปณฺณํ หรือ ปัณณะ แปลว่า ใบไม้ แต่ตอนหลัง “ปัณณะ” หมายรวมถึงหนังสือ เพราะในยุคชมพูทวีป ผู้คนนิยมเขียนสิ่งต่างๆ ลงบนใบไม้ แล้วเอาใบไม้หลายในมาเรียงซ้อนกัน ที่เรารู้จักกันในชื่อ “หนังสือ”
เมื่อนำคำว่า “ใบไม้” หรือ “เปลือกไม้” ซึ่งคนอียิปต์เรียกว่า “ปาปิรัส” (papyrus) ที่มีการขีดเขียนข้อความลงบนเปลือกไม้ ทำให้ชื่อปาปิรัสเพี้ยนไปเป็นคำว่า “เปเปอร์” (paper) ซึ่งหมายถึงกระดาษ แผ่นกระดาษที่บรรจุเนื้อหาและนำมาเย็บต่อกัน เราก็เรียกว่า “หนังสือ” ดังนั้น “บรรณ” กับ “ห้องสมุด” จึงเป็นของคู่กันตลอดไป
ต่อมามีการนำคำว่า “บรรณ” มาสมาสกับคำอื่น กลายเป็นคำใหม่  อาทิ
บรรณารักษ์ (บรรณ + อารักษ์) หมายถึง ผู้ดูแลรักษาหนังสือ
บรรณารักษศาสตร์  (Information Science) หมายถึง วิชาว่าด้วยการดูแลรักษาหนังสือ
บรรณานุกรม (บรรณ + อนุกรม) หมายถึง ลำดับของชื่อหนังสือที่ใช้อ้างอิงในการเขียนหนังสือเล่มนั้น ซึ่งเท่าที่เจอ หน้าบรรณานุกรมนี้ จะปรากฏอยู่ถัดไปจากเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นๆ
บรรณาธิการ (บรรณ + อธิการ) หมายถึง ตำแหน่งของบุคคล/นิติบุคคลที่รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการหนังสือฉบันนั้นๆ
บรรณลักษณ์ (บรรณ + อาลักษณ์) (collation) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของหนังสือเกี่ยวกับจำนวนหน้าหรือจำนวนเล่ม ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ และอื่นๆ
แต่ บรรณาลัย  เป็นชื่อเฉพาะ เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ตั้งอยู่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ขอแถมอีกนิด เขาว่ากันว่า เมื่อใดที่ฝันเห็นสมุดหนังสือ ทำนายว่า หน้าที่การงานที่ทำอยู่จะประ สบความรุ่งเรือง ถ้าเดินทางไกลจะได้เจอกับคนดี ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลและญาติมิตรจะมีความสุขด้วยกันทุกคน ถ้าหญิงมีครรภ์ฝัน บุตรที่เกิดมาจะมีวาสนามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วๆ ไป โตขึ้นจะได้รับชื่อเสียงโด่งดัง
จากคำทำนาย อนุโลกได้ว่า  บุคคลใดที่ทำงานในห้องสมุด จะเป็นบุคคลผู้พบแต่ความสำเร็จ และมีการพัฒนาตนเองอยอยู่ตลอดเวลา


ที่มา :
ทำไมไม่เรียก ‘ห้องสมุด’ ว่า ‘ห้องหนังสือ.’ (25 เม.ย. 2550). จาก สำนักพิมพ์สารคดี. ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก guru.sanook.com.
th.wikipedia.org.
www.goosiam.com/ทำนายฝัน.
www.online-english-thai-dictionary.com.

One thought on “บรรณในห้องสมุด

  • พี่หน่อย สาธุ…. มีบรรณพิภพ เป็นนาม หมายถึงวงการหนังสือ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร