การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เบื้องต้น

จากการที่ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ให้บริการหาข้อมูลให้ผู้ใช้บริการมาน้าน..นาน..เวลาอธิบายเรื่องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ให้กับ เพื่อนๆ หรือนักศึกษาฟัง สิ่งหนึ่งที่จะบอกเสมอคือ เมื่อเปิดหน้าหลัก (Home) ของฐานข้อมูลใดๆ ก็ตามที่เรายังไม่คุ้นเคย ให้อ่านทุกตัว ตั้งแต่มุมหน้าจอด้านซ้ายมือ เรื่อยมาจนจบมุมล่างด้านขวา หรือหากหน้าหลักยาวเกินหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็เลื่อนลงมาอ่านให้หมด แล้วค่อยเริ่มต้น browse รายละเอียดของฐานข้อมูลนั้น  เริ่มต้นจากดู tab ต่างๆ ที่มักจะอยู่ส่วนบนของฐานข้อมูลว่า มี application อะไรให้ใช้บ้าง เช่น ตัวอย่างจาก ScienceDirect
dbeb003มี  Home,  Browse, Search, My setting,  My alerts , Shopping Cart, Register, Login, Hub, Scopus… ต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องเข้าใจให้ได้ว่า มีไว้เพื่อทำอะไร..มันมีความสัมพันธ์กับการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก  ทีนี้การสืบค้นโดยทั่วไป ก็จะต้องทำดังนี้…
1. อ่านขอบเขตเนื้อหาของฐานข้อมูล ว่า ครอบคลุมสาขาวิชาใดบ้าง หรือเป็นสหสาขาวิชา เรื่องนี้สำคัญที่ 1  ส่วนใหญ่เนื้อหาตรงนี้จะอยู่ที่  Help ของแต่ละฐานข้อมูล ประโยชน์ในข้อนี้ คือจะทำให้เราสามารถเลือกฐานข้อมูลได้ตรงกับเนื้อหาที่ผู้ใช้บริการต้องการ อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ เป็นภาษาอังกฤษ น๊่าจ๊า  ไม่ไหวก็ดูขอบเขตที่คุณน้องเอ๋สรุปไว้ให้ที่หน้าเว็บห้องสมุดก็ได้
2. ดูว่าฐานข้อมูลนั้นมีการแบ่งฐานข้อมูลย่อยไว้หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลเดียวกับข้อ 1 คือ จะได้เลือกสืบค้นได้ตรงเรื่อง  เช่น ในฐานข้่อมูล EBSCO host ตอนนี้แบ่งออกเป็นตั้ง  17 ฐานข้อมูลย่อย (ทั้งที่ซื้อ และ trial)  ในฐานข้อมูล ProQuest มี 2 ฐานข้อมูลย่อย เป็นต้น เลือก tick ให้เหมาะสม เลือกทั้งหมดก็ได้ แต่ก็ต้องบวกเวลาที่ต้องให้ระบบค้นให้ทั้งฐานด้วยนะ
3. การสืบค้น เราจะต้องรู้ตัวก่อนว่า เราจะหาอะไร ส่วนใหญ่แต่ละฐานข้อมูลที่เป็นสากล มักมีลักษณะ และการใช้คำศัพท์ที่สื่อความไปในทางเดียวกัน แม้ว่าจะใช้คำศัพท์ต่างกัน
หน้าแรกของฐานข้อมูล จะมี Search box หรือช่องว่างๆ เหมือนช่องใน Google ตรงนี้ฐานข้อมูลจะใช้คำว่า Basic search หรือ Quick search เริ่มต้นใส่ คำค้นตรงนี้เป็นพื้นฐานที่สุด หลักการเบื้องต้นในการค้นหาข้อมูล คือ
1. )จุดประสงค์ในการหาข้อมูลมีแน่นอนหรือยัง จะ Browse หรือจะ Search   เราอาจมีเรื่องกว้างๆ อยู่ในหัว แต่ยังไม่สามารถคัดกรองประเด็นได้ ก็เริ่มต้นที่ basic search แล้ว browse ไปเรื่อยๆ เก็บสะสม keywords ทีพบในเอกสารต่าง ๆ เก็บแนวความคิด ความรู้จากการ skim เอกสาร มาพัฒนาการสืบค้นสู่ Advaced search
2.) จะเน้นหาเรื่อง หรือเริ่มต้นจากชื่อวารสาร หากไม่สนใจว่าเรื่องที่ต้องการจะอยู่ในวารสารอะไร ก็เริ่มต้นสืบค้นจาก search แต่ถ้ามีวารสารที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ก็เริ่มต้นค้นที่ ชื่อวารสาร หรือ สาขาวิชา  คำที่ฐานข้อมูลใช้ในความหมายนี้ ก็มี Browse, Publications, ในส่วน Browse มักแบ่งเป็น by Title, By Discipline, By Subject
3.) จะเลือกปี หรือประเภทของเอกสารหรือไม่  ในขั้นตอนนี้จะใช้เมื่อผ่านการสืบค้นด้วยการ search ก่อน  แต่ละฐานข้อมูลจะมีวิธีการแตกต่างกันไป
4.) การ Refine ผลการสืบค้น มักใช้เมื่อพบว่า ผลการสืบค้นที่ได้ในครั้งแรกๆ เยอะเกินไป ให้ลองใส่ keyword ที่ต้องการเพิ่มเติม ตัดรายการที่ไม่ใช่ออกไป ผลการสืบค้นก็จะตรงมากขึ้น
5.) หากมีโอกาส ให้อ่านข้อมูลบริการต่าง ๆ ที่บริษัทเจ้าของฐานข้อมูลมักจะแจ้งไว้เพื่อให้ผู้ใช้ฐานข้อมูลสามารถใช้ความสามารถของฐานข้อมูลได้เต็มที่ด้วย เช่น ใน ScienceDirect จะมี column ‘New Update’ มี  ‘Quick Link’  มี  ‘Latest News On ScieceDirect’  ให้ติดตามข่าวสารที่เป็นประโยชน์
ข้อสังเกต: ใช้ภาษาอังกฤษเป็นคำๆปะปนเยอะหน่อย  ก็เพราะเพื่ออยากให้เพื่อนๆ ค่อยๆ คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่เราอาจใช้บ่อยเมื่อใช้ฐานข้อมูลออนไลน์..คงไม่ว่ากันนะ
ป.ล. : เพื่อนๆ คนใดมีเทคนิคเพิ่มเติม ก็สามารถ share กลยุทธ์กันได้ค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร