ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center)

01ตู้ โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center)

ในปัจจุบันนี้ถือได้ว่า ไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราโดยที่เราไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย และในทางตรงกันข้ามไฟฟ้าก็แฝงไว้ด้วยอันตรายที่เรามองไม่เห็นอยู่ในตัวของมันเอง ถ้าเรารู้จักใช้ ก็จะได้รับประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล แต่ถ้าเราใช้ผิดวิธีหรือประมาทก็อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้…….
เข้าเรื่องกันดีกว่านะครับ…ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ที่จะกล่าวถึง คือตู้ที่อยู่ที่ชั้น1(ศูนย์การเรียนรู้ค้วยตนเอง) ในห้องเจ้าหน้าที่ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ส่วนใหญ่จะเป็นกล่องเหล็กมีฝาเปิด-ปิดได้ ตัวตู้มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน ภายในตู้เป็นแผง Circuit breaker ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในอาคาร

02

ในวันนี้จะขอเอาความลับของตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ตู้นี้มาเปิดเผยนะครับ บางท่าน(ที่เกี่ยวข้อง) อาจจะสงสัยว่าทำไมต้องคอย “เปิดทุกๆเช้า” และต้อง “ปิดหลังเลิกงาน” ทุกๆครั้ง เปิดมันไว้ทั้งวันทั้งคืนไม่ได้เหรอ ! 555.. ดูจากรูปด้านบนนะครับ เราจะเห็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าอยู่ 3 อย่างคือ 1. มิเตอร์ไฟฟ้า(อยู่ด้านขวามือ) มิเตอร์ไฟฟ้าตัวนี้ใช้กับร้านกาแฟอย่างเดียว 2. เมนเซอร์กิต (Main Circuit Breaker) เป็นเบรกเกอร์ตัวใหญ่ที่อยู่ด้านบนของตู้โหลดเซ็นเตอร์ เป็นตัวควบคุมหลักในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) 3. แผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ตัวนี้หล่ะที่จะกล่าวถึงครับ ท่าทางจะยาวดูรูปแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ด้านล่างก่อนนะครับ ผมตัดรูปและทำภาพให้ดูง่ายยิ่งขึ้นครับ

04

ดูจากรูปจะเห็นแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) จะมีทั้งหมด 36 ตัว (เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนจุดให้บริการ เพื่อให้เหมาะสมกับงาน จึงทำให้เบรกเกอร์บางตัวไม่ได้ใช้งาน) ที่แผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) จะมีตังหนังสือเขียนย่อๆไว้ เพื่อบอกให้เราทราบว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวไหน เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่จุดนั้นๆ การบอกเท่านี้คงยังไม่เคลียร์สำหรับท่านที่ต้องการจะควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ได้ประโยชน์และความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด ผมจะเขียนอธิบายเพิ่มเติมโดยใช้เบอร์ที่ติดอยู่กับเบรกเกอร์เป็นหลักนะครับ
เบรกเกอร์เบอร์ 1 , 7 , 17 , 18 , 29 , 31 , 33 , 34 , 35 , 36 ให้ “ปิด” ไว้ตลอดไม่ต้องเปิด
เบรกเกอร์เบอร์ 2 , 3 , 4 , 5 , 6 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังตู้ RACK ของแต่ละชั้น คือ
– เบอร์ 2 จะคุมตู้ RACK ชั้น1 และ TV,UBC ร้านกาแฟ
– เบอร์ 3 จะคุมตู้ RACK ชั้น2 (ศต)
– เบอร์ 4 จะคุมตู้ RACK ชั้น3 (วารสาร)
– เบอร์ 5 จะคุมตู้ RACK ชั้น4 (โสตฯ)
– เบอร์ 6 จะคุมตู้ RACK ชั้น5 (สำนักฯ) จะเห็นได้ว่าถ้าวันเสาร์-อาทิตย์ ชั้น5 ไม่มีเจ้าหน้าที่มาทำงานก็ไม่ต้องเปิดก็ได้ครับ
หมายเหตุ ถ้า RACK ตู้ไหนไม่ได้เปิดชั้นๆนั้น ก็จะไม่สามารถไช้ INTERNET ได้ รวมทั้งระบบ OPAC และระบบยืม-คืนด้วยครับ.
เบรกเกอร์เบอร์ 8 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้หลอดไฟบริเวณบันไดทางขึ้น-ลง ร้านกาแฟ รวมทั้งปลั๊กไฟบริเวณนั้นด้วย
เบรกเกอร์เบอร์ 9 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าในห้องเจ้าหน้าที่ บริเวณเคาน์เตอร์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เบรกเกอร์เบอร์ 10 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า(ปลั๊กไฟ)บริเวณเสาสีขาว 3ต้น ที่อยู่ด้านใน
เบรกเกอร์เบอร์ 11 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า(ปลั๊กไฟ)บริเวณหลังร้านกาแฟ
เบรกเกอร์เบอร์ 12 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟบริเวณมุมหนังสือวารสาร , เสาปูน 4ต้นรอบร้านกาแฟ และหน้าห้องมัลติฯ
เบรกเกอร์เบอร์ 13 , 14 , 15 , 16 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าในห้องชมภาพยนตร์(ห้องหลังร้านกาแฟ) โดยที่พื้นห้องจะมีรางปลั๊กไฟอยู่ 4 แถว เบอร์ 13 คุมปลั๊กไฟแถวแรกหน้าห้อง เรียงกันไปจนถึง เบอร์ 16 คุมปลั๊กไฟแถวสุดท้ายหลังห้อง
เบรกเกอร์เบอร์ 19 , 20 , 21 , 22 , 23 , 24 , 25 , 26 , 27 , 28 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าในห้องมัลติมีเดีย บริเวณพื้นห้องมีทั้งหมด 10 แถว
– เบอร์ 19 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 1) เครื่อง INTERNET เบอร์ 1 – 6
– เบอร์ 20 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 2) เครื่อง INTERNET เบอร์ 7 – 12
– เบอร์ 21 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 3) เครื่อง INTERNET เบอร์ 13 – 18
– เบอร์ 22 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 4) เครื่อง INTERNET เบอร์ 19 – 24
– เบอร์ 23 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 5) เครื่อง INTERNET เบอร์ 25 – 30
– เบอร์ 24 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 6) เครื่อง VDO on demand เบอร์ 1 – 6
– เบอร์ 25 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 7)
– เบอร์ 26 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 8)..
– เบอร์ 27 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 9)
– เบอร์ 28 ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า (แถวที่ 10)
เบรกเกอร์เบอร์ 30 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับพัดลมดูดอากาศทั้ง 2 ตัวในห้องเจ้าหน้าที่
เบรกเกอร์เบอร์ 32 เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตู้เย็นและเครื่องทำกาแฟของร้านกาแฟ เบรกเกอร์ตัวนี้ห้ามปิด เพราะจะทำให้ของในตู้เย็นเสีย
จบแล้วครับ ขอให้หัวหน้าเวร….มีความสุขกับการใช้ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) นะครับ….555..

3 thoughts on “ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center)

  • เรื่องใกล้ตัวที่หัวหน้าเวรจริงๆ ด้วย ถ้าเป็นวันจันทร์-ศุกร์ ก็ปิดเบรกเกอร์อย่างเดียว ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ก็ทั้งเปิดและปิดเบรกเกอร์นี้ ซึ่งในตู้นี้จะมีสติกเกอร์ติดไว้ตามประเภทที่กล่าวถึงใช้งานง่ายดี ภาพประกอบของวิรุฬห์ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้นเยอะ ว่างๆ ฝากเรื่องเครื่องเปิด-ปิดไฟห้องควบคุมเวลาไฟดับด้วยนะ ไฟดับแต่ละที หัวหน้าเวรเหงื่อตก

  • ขอบคุณค่ะ เพิ่งรู้นะเนี่ยะว่าเขาเรียกว่า ตู้โหลดเซ็นเตอร์ ทีแรกรู้แต่ว่าใช้ควบคุมไฟของการใช้เครืองคอมพิวเตอร์ในห้อง ในชั้นต่างๆ เขาให้เปิดก็เปิด วันนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

  • น้องน่ารักมาเลยที่เขียนเรื่องนี้ ชอบจัง เยี่ยมมาก เพิ่งรู้ว่าชื่อนี้ อ่านแล้วมีควา่มสุขมากจริงๆ แต่จะทุกข์ตรงที่จะเป็นหัวหน้าเวรนี่ละนิ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร