จากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้ารับฟังบรรยาย หัวข้อเรื่อง การคิดเชิงระบบอย่างผู้นำด้วยพลังสมอง 2 ซีก ซึ่งบรรยายโดย ดร.นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการบริหารองค์กร ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้สำหรับระดับผู้นำหรือระดับบุคคลทั่วไป
โดยเฉพาะผู้นำองค์กรต่าง ๆ จะต้องปรับตัวในการบริหารจัดการ การดำเนินงานขององค์กร ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะทำให้องค์กรของตนเองประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และ เพื่อมุ่งให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีศักยภาพในการแข่งขัน มีความยั่งยืน หรือเป็นองค์กรที่มี High Performance Organization
การจัดการสมัยใหม่ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยทำให้ผู้นำ ใช้ในการบริหารจัดการ การดำเนินงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี ซึ่งเทคนิคหรือกลยุทธ์ต่างๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันก็คือ Systematic thinking “การคิดเชิงระบบ” ที่มีวิธีการคิดแบบสมอง 2 ซีก อาจถือได้ว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้นำยุคใหม่ เห็นเหตุปัจจัย องค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันยู่อย่างชัดเจน เพราะ “องค์กร” นั้นเป็นเรื่องของกิจกรรมของคน Team (การทำงานเป็นทีม) Empowerment (การมอบอำนาจ) บุคลากรมี Share (การแบ่งปัน) ข้อมูลการอยู่ร่วมกัน และให้ความร่วมมือ (Collaboration) กับทุกกิจกรรมของงานต่างๆ ของทุกหน่วยงานในองค์กร
การจัดการองค์กร ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ นั้นผู้นำต้องเป็นผู้นำทางความคิดในเชิงระบบด้วยพลังสมองทั้งสองซีก คือ ผู้นำแบบสมองซีกซ้าย มีกระบวนการคิดแบบ การตัดสินความคิด คัดให้เหลือทางเลือกเดียว ใช้ตรรกะ เหตุผล วิเคราะห์ แยกแยะ และเก็บรายละเอียด
ส่วนผู้นำแบบสมองซีกขวา มีกระบวนการคิดแบบ การกระตุ้นความคิด สร้างทางเลือกให้หลากหลาย คำนึงถึงอารมณ์ สัญชาติญาณ จินตนาการ เชื่อมโยง เห็นภาพรวม ที่สำคัญผู้นำต้องเป็นผู้นำที่คิดเป็น นั่นหมายถึง การคิดอย่างมี Target (เป้าหมาย) Heart (คำนึงถึงอารมณ์ความต้องการ) Know Reason (รู้ถึงที่มาหรือเหตุผล) Information picture (เชื่อมโยงข้อมูลทำให้เห็นเป็นภาพ) เก่งคิด เก่งแก้ปัญหา เก่งทีม และเก่งคิดสร้างสรรค์ โดยมีทักษะที่สำคัญ คือ ต้องมีทักษะสังเกตปฏิสัมพันธ์ และ ทักษะการคิดมุ่งทางออก ซึ่งมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 4E ได้แก่ 1) Explore Causes (ตั้งปัญหา & หาทางออก) เป็นการค้นหาปัจจัยว่ามีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง แต่ละปัจจัยสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ-อะไรเป็นผล 2) Exit brainstorm (ระดมสมองมุ่งทางออก) คือการคิดหาทางออกว่าถ้าจะเปลี่ยนบางอย่างได้ อยากเปลี่ยนอะไร คนอื่น ๆ เขารับมืออย่างไร ช่วงปลอดปัญหาเป็นอย่างไร มีทางเลือกอื่น ๆ อะไรบ้าง 3) Elect leverage (เลือกจุดและสร้าง Feedback-loop ) คือการคิดว่าหากแก้ไข ปรับเปลี่ยนที่จุดใดแล้วจะส่งผลกระทบสูงหรือไม่ถ้าส่งผลกระทบสูง เราควรจะรีบเร่งทำ 4) Evaluate (ตรวจสอบ ปรับปรุง) คือ เมื่อหาจุดการแก้ไขปัญหาได้แล้ว จะวัดผลเปรียบเทียบกับที่สิ่งที่คาดหวังปรับปรุง และตั้งมาตรฐานเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
ดังนั้นผู้นำในยุคใหม่ที่เป็นผู้นำที่มีความคิดแบบสมองสองซีก ที่มีการเชื่อมโยงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรในเชิงเหตุเชิงผล และมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำมาซึ่งความเข้าใจและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งผลดีและผลกระทบในภาพรวมที่เกิดจากแต่ละปัจจัยนั้นในปัจจุบันและอนาคต สามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และ นำพาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน มีความยั่งยืน หรือเป็นองค์กรที่มี High Performance Organization (HPO)
ข้อคิดเพื่อการทำงานสำเร็จอย่างมีความสุข โดย ดร.นพ. ยุทธนา ภาระนันท์
“จงรักษาใจของท่าน ด้วยความระวังระไวรอบด้าน เพราะชีวิตเริ่มต้นออกมากจากใจ”
“สองคนดีกว่าคนเดียว เพราะว่าเขาทั้งสองได้รับผลของงานดี”
ก็ลองวิเคราะห็การจัดองค์กร และผู้นำองค์กรของเราเป็นอย่างไร เน้นหอสมุดนะ
หน่วยงานอื่นไม่ต้องพูถึง อยากให้แปลงทฤษฎีที่ฟังมาแล้วประยุกต์กับหน่วยงานของเราด้วยจะดียิ่ง